วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

คนล้มละลาย เศรษฐกิจก็ล้มละลาย

เมื่อวันก่อนเดินผ่านธนาคารแห่งหนึ่งแถวที่ทำงานก็เห็นรองเท้าแตะคู่หนึ่งวางอยู่ตรงบันไดข้างหน้าธนาคาร เราก็นึกสงสัยว่าใครมาถอดไว้ตรงนี้ พอมองเข้าไปด้านในก็เห็นมีคนยืนเท้าเปล่าอยู่ที่ประตูข้างในธนาคาร โดยที่กำลังยืนคุยกับเพื่อนที่อยู่ด้านนอก ลักษณะการแต่งตัวของทั้งคู่เหมือนคนงานก่อสร้างมากๆ เราแค่เดินผ่านก็เลยไม่รู้ว่าเหตุการณ์จะเป็นยังไงต่อไป แต่มันก็ทำให้เราเกิดเป็นรอยยิ้มได้ รู้สึกชื่นชอบ ประทับใจในความซื่อ น่ารักของเค้า และคนนั้นก็เป็นแรงบันดาลใจให้รู้สึกอยากจะเขียนบล็อกขึ้นมา อยากจะเขียนขอบคุณคนงานก่อสร้างทุกคนที่ทำให้คนเมืองมีตึกสูงๆ มีรถไฟฟ้า ซึ่งเค้าก็เป็นหนึ่งในแรงงานตัวเล็กที่ทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ ไม่ใช่ว่าเราจะเป็นคนทำงานตำแหน่งเล็กๆแล้วไม่มีความสำคัญต่อสภาพเศรษฐกิจ มันไม่ใช่นะคะ ทุกคนเกิดมามีความสำคัญเท่าเทียมกัน สามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าหรือถอยหลังให้เศรษฐกิจได้เหมือนๆกัน ลองคิดง่ายๆว่าถ้าทุกคนทั้งประเทศมีงานทำไม่ว่าจะเป็นภาคเกษตรกรรมหรืออุดสาหกรรมก็ตาม ก็จะมีการบริโภคเกิดขึ้น มีการจับจ่ายใช้สอยก็ทำให้มีเงินหมุนไปมาในระบบเศรษกิจก็เติบโต แต่ในถ้ามองกันในอีกด้านหนึ่งของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ถ้าการจับจ่ายใช้สอยนั้นมีฐานมาจากการกู้หนี้ยืมสิน การใช้จ่ายเกินตัวหรือที่เรียกว่านำเงินในอนาคตมาใช้จ่ายมากเกินไป ก็จะทำให้สภาพเศรษฐกิจที่รัฐประกาศว่าโตมากขึ้นก็เป็นการเติบโตแบบไม่ยั่งยืน เพราะมีเงินก็ใช้จ่ายอย่างเดียว เก็บออมเงินเพื่ออนาคตน้อยลงเพราะเห็นแต่ความสุขใกล้ตัวเพียงชั่วขณะ ดังนั้น "การบริหารเงินส่วนบุคคล" ซึ่งนับว่าเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่เล็กที่สุด ก็ต้องได้รับการดูแลดีทีสุดด้วยเช่นกัน รัฐหรือใครหน้าไหนไม่สามารถดูแลเงินในกระเป๋าเราได้ดีเท่ากับตัวเราเอง ดังนั้นการสร้างเกราะป้องกันตนเองด้วยคำว่า "ประมาณตนเอง" นั้นดีที่สุดค่ะ

ดิฉันมีเพื่อนสนิทคนนึงที่คิดว่าน่าจะเป็นกรณีศึกษาได้ก็เลยจะมานินทาเพื่อนให้ฟังหนะค่ะ การใช้เงินก็เหมือนกับคนทั่วไป เงินเดือนเยอะก็จับจ่ายใช้สอยเยอะเป็นธรรมดา มีผ่อนคอนโดบ้าง มีหนี้บัตรเครดิตก็มีแต่ก็อยู่ในจำนวนที่สามารถจ่ายได้  อยากซื้ออะไรก็ซื้อโดยไม่ค่อยคิดอะไรมากมาย และก็มีเงินฝากประจำ ดูแล้วเหมือนจะไม่มีอะไร แต่พอเธอเปลี่ยนงานเท่านั้นแหละ เงินเดือนที่ใหม่ก็ไม่เป็นดังหวังทำให้ต้องระมัดระวังรายจ่ายมากขึ้นกว่าเดิมแบบไม่ทันตั้งตัว ก็ไม่ถึงกับไม่มีทางออกเพราะทางบ้านก็สามารถช่วยเหลือได้ แต่ก็ต้องมีการดัดนิสัยกันบ้างเพื่อให้มีระเบียบทางการเงินมากขึ้น บัตรเครดิตเป็นสิ่งแรกที่ถูกยกเลิก เพราะเป็นช่องทางเงินออกและทำให้เสียนิสัยทางการเงินโดยเป็นหนี้ง่ายที่สุด โชคดีที่ทางครอบครัวรับชำระหนี้บัตรเครดิตให้เลยเบาตัวไปได้บ้าง ก็รู้สึกแปลกที่ก่อนหน้้านี้ที่เคยสัญญาไว้อย่างดีว่าจะมีระเบียบวินัยทางการเงิน เป็นหนี้เฉพาะที่จ่ายได้ แต่การจ่ายเงินโดยไม่เห็นบิลรายจ่ายเนี้ยทำให้เราใช้จ่ายจนลืมตัวจริงๆ พอเจอกับเพื่อนเมื่อวานนี้ทำให้รู้ว่ามันเปลี่ยนไปเยอะมาก รู้สึกได้ว่ามันตระหนี่มากขึ้น แยกแยะความจำเป็นของสิ่งที่จะซื้อได้ดีกว่าแต่ก่อนมาก เราก็ถามว่า "แกไม่เปลี่ยนแผ่นฟิมล์ติดมือถือใหม่หรอ" มันบอกว่า "ไม่หงะเพราะเปลือง อันนี้ก็ใช้ได้อยู่" ณ ตอนนั้นขำมากเพราะคุยอะไรก็บอกแต่ว่า "เปลืองเงิน , ไม่จำเป็น , มันยังใช้ได้" ก็รู้สึกดีที่ได้ยินแบบนี้

ถ้ามองประเทศเป็นร่างกายมนุษย์ ประชากรหรือเรียกง่ายๆว่าัตัวเรานั่นแหละก็เปรียบเสมือนเซลล์ที่ช่วยทำให้ร่ายกายมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าเริ่มมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับเซลล์ ร่างกายก็เริ่มรับรู้ได้ถึงความผิดปกติไปด้วย โดยที่แรกๆเราอาจจะไม่สนใจเพราะคิดว่าก่อให้เกิดปัญหา ก็เลยไม่ไปหาหมอเพื่อตรวจดูอาการ แต่พอปล่อยไว้นานๆ เซลล์ผิดปกติขึ้นไปเรื่อยๆจนกลายเป็นมะเร็ง นั่นแหละเราก็พึ่งหันมาดูแลรักษาร่างกายของเรา

โดยที่......

ร่างกายมนุษย์ ==> สภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ สาธารณสุข ศาสนาฯลฯ
เซลล์              ==> วัยเด็ก วัยรุ่น วัยกลางคน วัยชรา
สิ่งผิดปกติ      ==> ปัญหาสังคม การก่ออาชญากรรม ภาระก่อหนี้เกินตัว ความฟุ้งเฟ้อ การพนันฯลฯ

ดังนั้น สภาพสังคมที่มีแต่คนจับจ่ายใช้สอยเกินตัว กู้หนี้ยืมสิน ถูกมอมเมาด้วยอบายมุข เช่นการพนัน โดยอ้างนโยบายว่าจะนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหวยออนไลน์นั้นมาพัฒนาสังคม มารณรงค์ให้คนไม่เล่นการพนัน เป็นทุนการศึกษา ชิชะ!! ตลกสิ้นดี มันก็ไม่ต่างกับการที่เราตัดไม้บนภูเขาจนกลายเป็นเขาหัวโล้น เป็นดินทรายแห้งแล้ง แล้วก็ใช้งบประมาณที่ได้ส่วนแบ่งจากการขายไม้ไปซื้อต้นไม้มาปลูกใหม่ให้มันโตอีกครั้ง เสียงบประมาณในการฟื้นฟูภูเขาหัวโล้น ขอถาม 3 คำ "เพื่ออะไร" สภาพที่มันเสียหายไปแล้วก็ยากที่จะกลับคืนมา เสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ หรือการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์กันอย่างไม่ลืมหูลืมตาเหมือนปี 2540 ประเทศจะไม่ล้มได้อย่างไร


=============================================================
ขอขอบคุณบทสัมภาษณ์จาก http://thaipublica.org
วิกฤติ 2540 ทำให้เศรษฐีหลายคน “ตกสวรรค์” หรือกลายเป็นแค่ “คนเคยรวย” หนึ่งในนั้นคือ “ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ” เซียนตลาดหุ้นและเจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ ที่เจอพิษวิกฤติต้มยำกุ้งจนถูกฟ้องล้มละลาย ทำให้ชีวิตพลิกผันจากที่เคยนั่งทำงานในห้องแอร์เย็นๆ กลับต้องมาเดินขายแซนด์วิชข้างถนนในวัย 48 ปี
แต่ 15 ปีผ่านไป ชีวิตต้องสู้ของเขาทำให้สามารถลุกขึ้นมายืนได้อีกครั้ง ในฐานะประธานบริษัท ทีจีไอเอฟ จำกัด และล่าสุดเตรียมจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI ในปีหน้า
ดังนั้น เนื่องในโอกาส 15 ปี วิกฤติ 2540 สำนักข่าวไทยพับลิก้า ได้สัมภาษณ์พิเศษ “ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ” หรือที่ใครๆ รู้จักในนาม “ศิริวัฒน์แซนด์วิช” เพื่อให้เขาถ่ายทอดประสบการณ์ในฐานะนักลงทุนรายใหญ่ในตลาดหุ้นช่วงฟองสบู่พองโต กับช่วงหลังฟองสบู่แตก และประสบการณ์ชีวิตต้องสู้ข้างริมฟุตบาท
“ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ” เปิดประสบการณ์วิกฤติ 2540 ตั้งแต่การมองรากเหง้าของปัญหา และภาวะฟองสบู่ที่เขามีส่วนร่วมเป็นผู้เล่นทั้งในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ จนบาดเจ็บมีภาระหนี้สินทั้งหุ้นและอสังหาริมทรัพย์รวม 4-5 ร้อยล้านบาท ยังไม่รวมดอกเบี้ยอีกปีละ 17-19% ในช่วงจังหวะนั้น คนเคยรวยอย่างเขาคิดอย่างไร ติดตามได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษ “ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ”
ติดตามบทสัมภาษณ์ที่ http://thaipublica.org/2012/10/series-15-year-crisis-siriwat/


บทสัมภาษณ์ ดร.ทนง พิทยะ ตอนที่เป็นรัฐมนตรีการคลังในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง น่าสนใจมากๆ มันทำให้เรารู้ว่าประเทศล้มละลายได้อย่างไร



ที่มา : http://thaipublica.org/ 


ข้อมูลและรายละเอียดการให้สัมภาษณ์ตามลิ้งค์นี้ค่ะ
http://thaipublica.org/2012/07/series-15-years-of-crisis-1/