วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

แบ่งเงินออมมาเก็บดอลล่าร์กันดีกว่า


"เงินดอลล่าร์ยังคงมีค่า
 เพราะเรายังเชื่อมั่นว่ายังมีมูลค่า
แต่ถ้าวันนึงความเชื่อมั่นนั้นหายไป 
มันก็ไม่ต่างกับกระดาษชำระ"


เงินบาทแข็งค่า!!

ช่วงนี้พวกเราอาจจะได้ยินข่าวเรื่องค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เพราะนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ทั้ง QE3 , BOJ ปั๊มเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ  ถึงตอนนี้ก็อยากจะรู้เหมือนกันว่าเงินพวกนั้นลงไปสู่ภาคการผลิตที่แท้จริงหรือไปอยู่ในภาคการเงิน(เพื่อเก็งกำไร) เพราะถ้าไปที่ภาคการผลิตที่แท้จริงก็จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตแบบยั่งยืน มากกว่าเข้ามาเก็งกำไรในภาคการเงิน เพราะเงินที่เข้ามาส่วนนี้ก็จะเข้ามาแบบระยะสั้นๆ มาเก็งกำไรเพียงชั่วคราวให้ตลาดหวือหวาแล้วก็จากไป

ทำให้ประเทศเน้นการส่งออกอย่างไทยต้องปวดหัวเพราะรายได้จากค่าขายที่เป็นดอลล่าร์เมื่อเปลี่ยนเป็นเงินบาทแล้วจะได้จำนวนน้อยลง

ตัวอย่าง ถ้าเราเป็นผู้ส่งออกได้เงินจากค่าขายสินค้า 10,000 ดอลล่าร์

ณ อัตราแลกเปลี่ยน 30 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์
เมื่อนำเงินเข้าประเทศไทยแลกได้เป็นเงิน 30 x 10,000 = 300,000 บาท

ณ อัตราแลกเปลี่ยน 29 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์

เมื่อนำเงินเข้าประเทศไทยแลกได้เป็นเงิน 29 x 10,000 = 290,000 บาท

ดังนั้น ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าจาก 30 เป็น 29 แล้วหละก็จะขาดทุน

วิธีคิด 2 แบบ
A. หลังจากเปลี่ยนค่าเงินดอลล่าร์เป็นเงินบาทแล้วนำมาลบกัน 300,000 - 290,000 = 10,000 บาท
B. นำตัวเลขค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นมาลบกันแล้วมาคูณกับค่าขาย
     ==> 30 - 29 = 1  (ค่าเงินแข็งค่าขึ้น 1 บาท)
     ==> 1 x 10,000 = 10,000 บาท

สรุปว่า ขาดทุนจากค่าขายครั้งนี้ 10,000 บาท ( @ _ @ )!!

ทุกเหตุการณ์ก็ต้องมีผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์เสมอ จากเหตุการณ์เบื้องต้นเป็นส่วนของผู้ที่เสียประโยชน์ และผู้ที่ได้ประโยชน์หละ มีอะไรบ้างมาดูกัน

ผู้ส่งออก เสียประโยชน์จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าเพราะเมื่อรับชำระค่าสินค้าเป็นสกุลเงินดอลล่าร์แล้วกลับมาเป็นเงินบาทได้น้อยลง ทำให้กำไรจากการขายได้น้อยลงจากอัตราแลกเปลี่ยน

ผู้นำเข้า ได้ประโยชน์เพราะสามารถซื้อสินค้าในต่างประเทศได้ในราคาที่ถูกลง โดยเฉพาะเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้า ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบและเครื่องจักรลดต่ำลง

ผู้ที่เป็นหนี้ต่างประเทศ บริษัทหรือบุคคลที่มีหนี้สินเป็นสกุลเงินต่างประเทศจะได้ประโยชน์เพราะจำนวนหนี้ลดลง ดังนั้นควรใช้จังหวะนี้รีบชำระหนี้ต่างประเทศ

ผู้ที่ต้องการขยายกิจการ บางบริษัทที่มีเงินสดถืออยู่มากและมีแผนที่จะรุกไปขยายงานที่ต่างประเทศ ก็ใช้ช่วงเวลาที่ค่าเงินแข็งค่าเก็บเงินตราต่างประเทศเพื่อไปซื้อบริษัทในประเทศที่ต้องการไปขยายงานก็ได้

ผู้ออมเงิน เราไม่ควรใส่ไข่ไว้ในตระกร้าใบเดียวกัน เพราะถ้าตระกร้าหล่นไข่ก็แตกทั้งหมด เราควรจะใส่ไข่ไว้ในตระกร้าหลายๆใบ จึงอยากจะให้เงินตราต่างประเทศเป็นตระกร้าอีกใบหนึ่งที่เหมาะสมกับช่วงเวลาแบบนี้ (ถ้าคิดตามหลักการเงินตราต่างประเทศก็เป็นส่วนหนึ่งของการกระจายการลงทุน)

ตัวอย่าง ถ้าเราต้องการแบ่งเงินออมมาลงทุน 100,000 บาท

ณ อัตราแลกเปลี่ยน 29 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์
จะสามารถแลกบาทเป็นดอลล่าร์ได้ 100,000 / 29 = 3,448 ดอลล่าร์

ณ อัตราแลกเปลี่ยน 30 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์
จะสามารถแลกดอลล่าร์กลับเป็นบาทได้ 3,448 x 30 = 103,440 บาท

ดังนั้น ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าจาก 29 เป็น 30 แล้วหละก็จะได้กำไร
==> 103,440 - 100,000 = 3,440 บาท
==> 3,440/100,000 = 3.44%


ทำไมควรแบ่งเงินออมกระจายการลงทุนมาซื้อดอลล่าร์ในช่วงนี้ แนวโน้มค่าเงินอย่างไร และจะแข็งค่าต่อไปหรือไม่ ยิ่งเงินไหลเข้ามาแล้วตลาดหุ้นไทยเป็นอย่างไร คำตอบอยู่ในกราฟข้างล่างนี้ค่ะ (ถ้าตัดเรื่องการแทรกแซงค่าเงินหรือมาตรการควบคุมเงินไหลเข้า)

ภาพที่ 1 กราฟค่าเงินบาทเทียบกับดอลล่าร์(IQXUSTB)
แนวโน้มมีการแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ เส้นแนวโน้ม EMA ทุกเส้นเรียงตัวเป็นขาลง ถ้า MACD อยู่ต่ำกว่าศูนย์ก็มองได้ว่ายังอยู่ในแดนแข็งค่าอย่างต่อเนื่้่อง อาจจะเริ่มซื้อทุกครั้งที่หลุดจากเส้นสีฟ้าลงไปก็ได้ค่ะ โดยจะเป็นลักษณะทะยอยซื้อ(เพราะไม่รู้ว่าจะแข็งค่าถึงตอนไหนก็ต้องเป็นลักษณะทะยอยเก็บค่ะ)

แล้วคำถามที่ตามมาคือ ถ้าเราเก็งกำไรแล้วจะขายดอลล่าร์เมื่อไหร่??

โดยส่วนตัวแล้วมองว่าน่าจะได้ไม่ต่ำกว่า 30 บาท หรือรอช่วงเวลาที่ FED ทำมาตรการ Exit Strategy (เป็นการวางแผนลดการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเงิน และลดการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อป้องไม่ให้เกิดเงินเฟ้อในอนาคต เพราะถ้าดึงสภาพคล่องออกจากระบบก็จะทำให้ อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้เม็ดเงินที่มาเก็งกำไรในตลาดหุ้นจะน้อยลง ดังนั้นเงินก็จะออกจากตลาดหุ้นไหลกลับไปประเทศที่อัดฉีดเงิน ดังนั้นค่าเงินของประเทศที่เงินทุนไหลออกนั้นก็จะปรับตัวอ่อนลง)

ภาพที่ 1 กราฟค่าเงินบาทเทียบกับดอลล่าร์(IQXUSTB)

ภาพที่ 2 หุ้นไทยเปรียบเทียบกับค่าเงินบาท 
จากวิกฤต 2008 ทำให้เรารู้ว่าเงินทั่วโลกมีความสัมพันธ์กัน เมื่อภาคการเงินที่อเมริกามีปัญหาก็จะต้องมีการดึงเงินที่ไปลงทุนทั่วโลกกลับอเมริกา ประเทศไทยก็มีส่วนที่เงินทุนไหลเข้ามาและไหลออกไปเหมือนกัน สังเกตได้จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในปี 2008 จนถึงวันนี้( 25 มี.ค. 2556) ก็มีการแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้น แสดงว่ามีเงินต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดทุนไทยมากขึ้น

ภาพที่ 2 หุ้นไทยเปรียบเทียบกับค่าเงินบาท

ภาพที่ 3 PE เทียบกับ SET
ผลของค่าเงินบาทแข็งค่าทำให้หุ้นมีการปรับตัวมากขึ้น PE ของ SET INDEX มีการปรับตัวมากขึ้นเช่นกัน ณ ตอนนี้ PE  อยู่ที่ 17.26 เท่า ในขณะที่ปีหุ้นลงอย่างรุนแรง PE โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 26 บ่งบอกได้ว่าถ้าใครถือหุ้นอยู่ช่วงนี้ก็ทนแข็งใจ Let Profit Run ไปก่อน แล้วค่อยไปทะยอยขายแถวๆที่ PE สูงกว่า 20 ขึ้นไปค่ะ (บางคนกังวลว่าหุ้นเราแพง หุ้นจะตกอย่างรวดเร็วเหลือพันจุดหรือว่าข่าวสารพัด ก็อาจจะส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุนของเรา ดังนั้นเราควรค้นหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุนดีกว่าค่ะ)

ภาพที่ 3 PE ของหุ้นเทียบกับหุ้น

ภาพที่ 4 PE หุ้นไทยขณะเกิดวิกฤต
ทุกเหตุการณ์ย่อมมีที่มา มีสัญญาณบอกเหตุถึงการเก็งกำไรที่มากเกินไป ก็เลยนำกราฟรายปีของหุ้นไทยว่าตอนเกิดวิกฤตนั้น PE ของไทยอยู่ที่เท่าไหร่กันบ้าง นำไปอ้างอิงเป็นจุดพีคของตลาดหุ้น ถ้าจะขายดอลล่าร์เพื่อทำกำไรอาจจะไปขายที่หุ้นไทย PE เฉลี่ยที่ 26 เท่าก็น่าจะได้นะค่ะ

ภาพที่ 4 PE หุ้นไทยขณะเกิดวิกฤต

การออมเงินมีหลากหลายรูปแบบไม่ได้มีแต่การฝากเงินสดไว้ในธนาคารเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เราต้องศึกษาข้อมูลด้านอื่นๆเพิ่มเติมด้วย มิฉะนั้นแล้วเงินที่เราตั้งใจทำงานเก็บเงินหามรุ่งหามค่ำมันจะไม่เหลืออะไรเพราะถูกเงินเฟ้อกัดกินไปจนหมด แบ่งเวลาเพื่อมาศึกษาการลงทุนเพื่อที่ว่าตอนเกษียณเราจะได้ให้เงินทำงานเป็นค่าใช้จ่ายตอนแทนเราได้ค่ะ

อัพเดทกราฟค่าเงินบาทในระยะรายเดือน (ณ วันนี้ 9 เมษายน 2556)


จากลักษณะกราฟแล้วค่าเงินบาทวิ่งในกรอบ 27.8610-30.7342 ค่ะ ดูเหมือนว่าจะแข็งค่่าอย่างต่อเนื่อง (การดูกราฟขึ้นอยู่กับแนวความคิดของแต่ละคนนะค่ะ ถ้าใครมีอะไรเพิ่มเติมสามารถเข้ามาแชร์กันได้ค่ะ)

กราฟค่าเงินบาท ณ วันที่ 3 มิ.ย. 56


จากกราฟแล้วค่าเงินบาทอ่อนค่าอย่างเป็นแนวโน้ม ถ้าเรากระจายการลงทุนมาเก็บดอลล่าร์ก่อนหน้านี้ก็อาจจะถือไว้ก่อนก็ได้ เพราะถ้ายังไม่หลุดแนวรับที่ 30 ก็น่าจะยังคงอ่อนค่าได้เรื่อยๆ ใครเป็นผู้นำเข้าสินค้าก็อาจจะต้อง Hedging ค่าเงินป้องกันค่าเงินอ่อนค่าไว้บ้างก็ดี

อัพเดทกราฟค่าเงินบาท ณ วันที่ 24 ธ.ค. 56


ค่าเงินบาทอ่่อนค่าอยู่ที่ 32.7480 สำหรับคนที่จะขายดอลล่าร์ก็อาจจะดูเป็นแนวโน้มว่าถ้าไม่ต่ำกว่า 32.40 ก็ถือไปก่อนก็ได้เพราะเป็นแนวโน้มที่อ่อนค่าได้อีก ในตลาดหุ้นฝรั่งยังคงขายต่อเนื่อง หุ้นก็ลงเป็นเรื่องปกติ 

เงินบาทยิ่งอ่อนค่าหุ้นยิ่งลง


ลองนำกราฟของหุ้นไทยเปรียบเทียบกับค่าิเงินบาทก็ทำให้รู้ว่า เมื่อใดที่ค่าเงินบาทกลับขึ้นมายืนได้ที่เส้นสีแดง (เส้น 200 วัน)ได้เมื่อไหร่หุ้นก็ีมีการปรับตัวลง อันนี้ก็เป็นเหตุผลเฉพาะบุคคลนะค่ะ ถ้ามีความคิดเห็นเพิ่มเติมก็สามารถมาแชร์กันได้ค่ะ

บทความน่าสนใจ


สร้างแรงบันดาลใจเป็นตัวเลข
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post_28.html

ภาพรวมของการวางแผนการเงินส่วนบุคคลมี 5 แผน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/5.html

ความสามารถของเรามีมูลค่าเท่าไหร่??
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post.html

ประกันชีวิตหักลดหย่อนภาษี 200,000 บาท ตอนที่ 1/2
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/09/200000-12.html

ลูกจะมีวินัยทางการเงินหรือไม่นั้นต้องเริ่มจากพ่อกับแม่
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/08/blog-post_4.html

บัตรเครดิตที่เราต้องรู้
 ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/07/blog-post.html


รู้อะไรไม่สู้ "รู้งี้" กับการวางแผนเกษียณ
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/06/blog-post.html

เราทำงานเพื่ออะไร 
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/05/blog-post_27.html

ต้นทุนชีวิต - มีมูลค่าเท่าไหร่
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/05/blog-post.html

เงินฝากเขย่าโลก
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/04/blog-post_20.html





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น