วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทเรียนในความมืดกับการวางแผนการเงิน

"บทเรียนในความมืด" เป็นนิทรรศการที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนี โดย ดร.อันเดรอัส ไฮเนอเกอ(Andreas Heinecke) โดยเป็นนิทรรศการที่ทดลองว่าถ้าหากเราสูญเสียอวัยวะในการมองเห็นแล้วจะใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้ได้อย่างไร ซึ่งจะแบ่งเป็น 7 ห้องเรียนโดยใช้ประสาทสัมผัสแตกต่างกันออกไป ขณะนี้จัดแสดงอยู่ที่จามจุรีสแควร์ ชั้น 4 เปิดบริการตั้งแต่ 11.00 น. - 17.45 น.ซึ่งมีทุกๆ 15 นาที รอบละไม่เกิน 8 ท่าน โดยที่รอบละ 1.30 ชั่วโมงโดยประมาณ หรือสอบถามได้ที่ 02-1605356


วีดีโอแนะนำบทเรียนในความมืด



ความรู้สึกขณะที่อยู่ในห้องนั้น มันตื่นเต้นที่จะได้รู้ว่าข้างหน้ามันคืออะไร มองอะไรไม่เห็นจริงๆ มันมืดมาก โชคดีที่เราไม่กลัวความมืดมันเลยไม่เป็นอุปสรรค

สิ่งที่ทำได้ คือ ใช้มือขวาจับกำแพง ส่วนมือซ้ายจับไม้เท้าส่ายไปมาข้างหน้า เดินตามเสียงไกด์ที่เป็นคนตาบอด ตลอดการเดินทางก็จะเช็คจำนวนสมาชิกจากเสียงเรียกชื่อแต่ละคนว่ามากันครบรึยัง

เราเดินจับเสาไม้ไผ่ รั้วเหล็ก อันนี้พอตอบถูกเวลาไกด์ถามว่าอันนี้คืออะไร

แต่ถ้าเป็นใบไม้เริ่มยากละ ตอบไม่ถูกเลยสักต้นเดียว

ไกด์ถามว่านี่คืออะไรไปตลอดทาง เราจับรูปปั้นนานหลายนาทีก็ยังนึกไม่ออก ว่าเป็นรูปปั้นอะไร สรุปว่าเป็นรูปเด็กนั่งขัดสมาธิ

การเดินขึ้นและลงจากทางลาดชันจากการบอกของไกด์ว่า "ระวังนะครับเป็นทางลาดลง" "ต้องขึ้นบันไดหนึ่งขั้น" "เดินลงบันไดหนึ่งขั้น" เราเดินง่ายเพราะมีคนบอกอยู่ข้างหน้า แล้วถ้าเป็นคนตาบอดจริงๆเดินข้างนอกจะมีคนบอกเค้าแบบนี้ไหม??

ขอบคุณนิทรรศการดีๆแบบนี้ที่ทำให้คนตาดีเข้าใจคนพิการทางสายตามากขึ้น ขอบคุณน้องหนึ่งที่เป็นไกด์นำทางที่น่ารักมาก เรามาทราบภายหลังว่าน้องเค้าไม่ได้ตาบอดตั้งแต่กำเนิด มาตาบอดตอนอายุ 13 ปี เราคิดว่าน้องเค้าเก่งมากที่ผ่านช่วงนั้นมาได้ เพราะเด็กผู้ชายกำลังเล่นสนุกๆในวัยรุ่น อยู่ดีๆต้องมาเป็นแบบนี้มันคงที่สุดของชีวิตจริงๆ น้องเค้าบอกว่าก็ร้องไห้ แต่สุดท้ายก็ต้องทำใจ จนตอนนี้น้องเค้าเรียนจบปริญญาตรีเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่เค้าต้องการได้จากสังคมไม่ใช่การสงสารเค้า แต่ให้โอกาสเค้าในการเข้าทำงานเพื่อที่ว่าเค้าจะได้หาเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้เหมือนคนอื่นๆทั่วไป

สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น การไปสัมผัสด้วยตนเองจะทำให้เราเปิดโลกใบใหม่ ได้มุมมองใหม่ๆกลับมาอย่างแน่นอนค่ะ ต้องไปให้ได้นะคะ ^_^ //

บทเรียนในความมืดมาเกี่ยวอะไรกับการวางแผนการเงิน???

บทเรียนในความมืด มีไม้เท้าเป็นเครื่องช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา ทุกก้าวที่เดินต้องมีไม้เท้ายื่นส่ายไปมาข้างหน้า(แทนดวงตา)ดูว่าข้างหน้ามีอะไรกีดขวางหรือไม่ วัตถุที่อยู่ข้างหน้าเป็นอะไร ทางขึ้นสะพาน ทางลงสะพาน รั้วไม้ รั้วเหล็ก รั้วลวดหนาม พื้นถนน ทางลาดขึ้น ทางลาดลง สิ้นสุดมุมถนน ทางแยกไฟแดง หลุม ฯลฯ ไม้เท้าจะช่วยให้คนพิการทางสายตาเดินทางไปในที่ต่างๆปลอดภัยมากขึ้น

การวางแผนการเงิน เป็นเครื่องมือช่วยเหลือระบบการเงินของเรา ว่าหนทางข้างหน้าเราต้องประสบกับอะไรบ้าง เช่น เรามีเพื่อนคนนึง เค้าเบื่องานประจำก็คิดจะลาออก และคาดว่าจะนำเงินก้อนสุดท้ายมาลงทุนอนุพันธ์อย่างเดียว ได้ยินแค่นี้เราก็รู้อนาคตตั้งแต่ยังไม่เริ่มเล่นเลยด้วยซ้ำ ขนาดจะซื้อหุ้นที่ 1,000 จุดยังไม่กล้าซื้อ จะมาเล่นอนุพันธ์ตอน 1,500 จุด แล้วยังไม่มีเวลาเข้าฟังสัมมนา อ่านกราฟไม่คล่อง คิดแล้วเหนื่อยแทน อันนี้ก็เป็นความคิดด้านการลงทุนที่ค่อนข้างสุดโต่งเกินไป เราต้องมองภาพรวมของการวางแผนการเงินแต่ละด้านแล้วค่อยๆต่อจิ๊กซอร์ให้เป็นภาพของเราเอง เพื่อที่ว่าการวางแผนการเงิน(ไม้เท้าด้ามนี้)จะช่วยให้เราปลอดภัยตลอดการเดินทางจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต

ภาพรวมของการวางแผนการเงิน ดังนี้

1. อัตราส่วนทางการเงินส่วนบุคคล
  • การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์สภาพคล่องส่วนบุคคล
          ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_11.html
  • การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์หนี้สิน
          ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_28.html
  • การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์การออมและการลงทุน
          ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post.html

2. ความเสี่ยง คือ การปิดความเสี่ยงด้วยการทำประกันในด้านต่างๆ เช่น
  • ความเสี่ยงด้านชีวิตก็ปิดความเสี่ยงด้วยการทำประกันชีวิต 
  • ความเสี่ยงด้านทรัพย์สินก็ปิดความเสี่ยงด้านการประกันวินาศภัย 
  • ความเสี่ยงด้านการศึกษา อาจจะเก็บสะสมเงินไว้ในรูปแบบของการทำประกันชีวิตโดยการทำทุนประกันไว้เท่ากับจำนวนเงินที่ต้องการเตรียมเพื่อการศึกษาให้บุตร ในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝันกับตัวเรา เงินส่วนนั้นก็จะเข้ามาทำหน้าที่ส่งบุตรของเราเรียนจบตามที่ตั้งใจไว้
3. การลงทุน คือ การออมเงินในรูปแบบของสินทรัพย์ต่างๆ เว็ปไซต์เพื่อการศึกษาที่ควรเข้าติดตาม คือ
http://www.tsi-thailand.org/index.php

4. การวางแผนภาษี คือ การใช้สิทธิประโยชน์จากการลดหย่อนเพื่อให้เราประหยัดภา๊ษีมากที่สุด ในเว็ปไซต์ของ TSI มีบทความน่าอ่านเยอะมาก มีบทความหนึ่งที่กล่าวเรื่อง เครดิตภาษีเงินปันผล....ผลประโยชน์ที่ถูกลืม http://www.tsi-thailand.org/images/stories/TSI2012_Investor/Articles/TSI-Article_Inv_EQ_109.pdf

5. การวางแผนเกษียณ คือ การรักษาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ในช่วงหลังเกษียณให้เหมือนกับช่วงก่อนการเกษียณ ทั้งนี้ต้องมีรายได้ในวัยเกษียณให้เพียงพอในการดำรงชีวิตเพื่อไม่เป็นภาระของลูกหลาน

6. การวางแผนมรดก คือ การมอบทรัพย์สินเหล่านั้นไปให้แก่บุคคลที่เราต้องการ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่เราเสียชีวิตแล้ว ปัญหานี้เกิดขึ้นกับญาติของตนเอง(น้าชาย)ซึ่งถูกรถชนเสียชีวิตอย่างกระทันหัน เงินกองทุนที่ระบุชื่อผู้รับมอบเป็นชื่อของมารดา แทนที่มารดาจะได้รับเงินกองทุนส่วนนั้นเต็มจำนวนกลับถูกภรรยาฟ้องร้องขอส่วนแบ่งด้วย บ้านและรถยนต์ที่เป็นชื่อของน้าชายซึ่งซื้อมาก่อนการแต่งงานก็ถูกภรรยายึดไปซะงั้น สุดท้ายเรื่องก็จบลงที่ศาล คุ้มรึเปล่าไม่รู้ รู้แต่ว่าเสียความรู้สึกกับอดีตภรรยางกสมบัติคนนั้นจริงๆ

การเปรียบเทียบช่วงเวลาเริ่มเก็บเงินกับช่วงเวลาใช้เงิน


วิธีการดูโดยแบ่งไว้ด้วยสีฟ้าจะเป็นช่วงเริ่มการออม และสีเขียวจะเป็นช่วงเวลาหลังเกษียณ ปกติตัวเลขคาดการณ์ค่าเฉลี่ยอายุคนไทย พ.ศ.2563 - พ.ศ.2568 คือ เพศหญิงจะมีอายุเฉลี่ย 80.25 ปี เพศชายจะมีอายุเฉลี่ย 74.72 ปี แต่ในที่นี่คาดว่าการแพทย์เจริญก้าวหน้า คนอายุยืนขึ้นเลยให้เผื่ออายุออกไปเป็น 90 ปี เก็บเงินไว้เกินดีกว่าขาดนะค่ะ
  • ถ้าเราออมเงินตั้งแต่อายุ 25 ปีจนถึงก่อนเกษียณที่ 60 ปี เราจะมีเวลาออมเงิน 35 ปี เพื่อไว้ใช้หลังเกษียณ 30 ปี สีฟ้าจะยาวกว่าสีเขียว จะเห็นได้ว่าเรามีเวลาเก็บเงินมากกว่าช่วงเวลาใช้เงิน
  • ถ้าเราออมเงินตั้งแต่อายุ 40 ปี จนถึงก่อนเกษียณที่ 60 ปี เราจะมีเวลาออมเงิน 20 ปี เพื่อไว้ใช้หลังเกษียณ 30 ปี สีฟ้าสั้นกว่าสีเขียว จะเห็นได้ว่าเรามีเวลาเก็บเงินน้อยกว่าช่วงเวลาใช้เงิน ดังนั้นถ้ามาเริ่มช่วงนี้อาจจะต้องออมเงินต่อเดือนในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อจะได้เพียงพอหลังเกษียณ 

บทความน่าสนใจ

สร้างแรงบันดาลใจเป็นตัวเลข
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post_28.html

ลูกจะมีวินัยทางการเงินหรือไม่นั้นต้องเริ่มจากพ่อกับแม่
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/08/blog-post_4.html

รู้อะไรไม่สู้ "รู้งี้" กับการวางแผนเกษียณ
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/06/blog-post.html

แบ่งเงินออมมาเก็บดอลล่าร์กันดีกว่า
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/03/blog-post_25.html

ทิศทางการตลาดเพื่อดูแนวโน้มหุ้นแห่งอนาคต

แหล่งเก็บเงินที่ปลอดภัยนั้นไม่มีจริง!!
==> http://pajareep.blogspot.com/2013_04_01_archive.html




วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ร่ำรวยจากสิ่งที่มี

บางคนไขว่คว้าหาวิธีการที่จะทำให้ตนเองนั้นรวยขึ้น ถ้าอะไรทำให้รวยเร็ว รวยแบบฟลุ๊กๆก็จะยิ่งดีถือว่าเก่งและน่าภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง เราเชื่อว่าความคิดและการกระทำแบบนั้นมีอยู่จริง แต่มันอยู่ในมุมนึงของโลกที่เราคิดว่าทำกันแบบนี้กะว่าจะรวยเผื่อแผ่ถึงภพหน้า เราห้ามใครไม่ได้ แต่เราเริ่มต้นที่ตัวเองได้ ความรวยเริ่มง่ายๆแค่ลงมือทำโดยการเริ่มต้นจากสิ่งที่เรามีอยู่แล้ว "รวยช้าๆแต่สุขใจ ดีกว่ารวยไปทำไมแต่ใจร้อนรน"

ขออนุญาตเล่าตัวอย่างของพี่ที่เคารพท่านหนึ่งที่มาถามเราว่า "เค้าควรลงทุนอะไรดี" เราก็บอกไม่ได้เพราะเราไม่่รู้ว่าเค้ามีอะไรอยู่แล้วบ้าง หลังจากสอบถามได้ความว่า......

  • มีที่ดินเปล่า 2 แปลง ตั้งอยู่กลางหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่ง
  • มีคอนโดที่ผ่อนหมดแล้วอยู่แนวรถไฟฟ้า  1 ห้อง (ห้องว่าง)
  • มีบ้าน 1 หลัง (บ้านที่อยู่หลังปัจจุบันอยู่อาศัย 2 คน)
  • มีรถยนต์ 1 คัน
  • มีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ , LTF , RMF

ความตั้งใจของพี่ท่านนี้ คือ....
  • สร้างบ้านหลังใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมบนที่ดินเปล่า 1 แปลง
  • ขายคอนโด(ซื้อมาเก็งกำไร)
  • ขายที่ดินเปล่าอีก 1 แปลงที่เหลือ(ซื้อมาเก็งกำไร)

คำถามของเรา คือ.......
  • รายได้ปัจจุบันมาจากทางไหนบ้าง ?? (ถามแบบนี้เพราะถ้าแหล่งรายได้นี้ขาดหายไปตอนเกษียณ ไม่ได้ทำงาน จะนำเงินจากทางไหนมาใช้จ่าย ควรหาแหล่งเงินสำรองไว้ใช้ยามเกษียณ)
  • บ้านที่จะสร้างใหม่แล้วใหญ่กว่าเดิม โดยที่อยู่ 2 คนเหมือนเดิมนั้น จำเป็นหรือไม่?? (ถามแบบนี้เพราะตอนเกษียณอาจจะดูแลไม่ไหว)

คำตอบของพี่ท่านนี้ คือ....
  • รายได้มาจากเงินเดือนเป็นส่วนใหญ่ จะมีเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์บ้าง
  • บ้านที่อยู่ปัจจุบันก็ยังสามารถอยู่ได้ เพียงแต่ต้องการสร้างใหม่เท่านั้น 

ข้อเสนอของเรา คือ.....
  • ควรหาแหล่งรายได้เพิ่ม โดยการปล่อยคอนโดให้เช่า จะเป็นแหล่งรายได้ในระยะยาว อีกทั้งค่าเช่ายังปรับตัวขึ้นตามเงินเฟ้ออีกด้วย ซึ่งดีกว่าขายครั้งเดียวแล้วได้เงินทันที เพราะดูจากทำเลที่ติดแนวรถไฟฟ้าแล้วราคาไม่น่าจะลดลง ถ้าในอนาคตอยากจะขายก็อาจจะขายได้ราคาดีกว่าปัจจุบันก็ได้ 
    • หลังจากที่เราคุยกันจบไม่ถึง 2 ชั่วโมง ก็ปรากฏว่ามีประกาศขาย/เช่า คอนโดในหน้า facebook ของพี่ท่านนี้
  • ที่ดินเปล่าในหมู่บ้านจัดสรรที่จะขายนั้นควรเพิ่มมูลค่าที่ดินเปล่าโดยการสร้างเป็นบ้านหรือทาวเฮาล์ให้เช่าหรือขาย ก็ดีกว่าขายที่ดินเปล่าเฉยๆ ถ้ายังคงอยู่บ้านหลังเดิมก็จะสร้างประโยชน์ให้กับที่ดินเปล่าได้อย่างมากขึ้นอีกด้วย
    • แนวคิดนี้พี่เค้ายังคงกลับไปคิดดูอีกว่าจะสร้างบ้านหลังใหม่ในที่ดิน 1 แปลงหรือไม่ แต่ก็เริ่มคิดที่จะเพิ่มมูลค่าให้แก่ที่ดินโดยการสร้างบ้านหรือทาวเฮาล์ให้กับที่ดิน 1 แปลงที่เหลือ

แนวคิดของเราคิดว่า "ควรเริ่มต้นจากสิ่งที่เรามี แล้วใช้ประโยชน์กับสิ่งนั้นให้เต็มที่" ความเก่งและความสามารถของเรานั้นควรมาจากรู้จักตนเองก่อนที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว 

"ถ้าเราคิดว่าเราขาดอะไร 
ถ้าเราคิดว่าเราต้องมีอะไร
 เราอาจจะได้รับแต่สิ่งที่เกินความจำเป็นมาอยู่กับตัวเรา"
แต่.....
"ถ้าเราคิดว่าเรามีอะไร
ถ้าเราคิดว่าเราควรมีอะไร
เราก็จะได้รับแต่สิ่งที่จำเป็นมาอยู่กับตัวเรา"

มีตัวอย่างของการเริ่มต้นจากสิ่งที่เรามีจากรายการ "ตอบโจทย์ฯ : วิกรม กรมดิษฐ์"  โดยมีคำบรรยายไว้ว่า"เวียดนามเต็มไปด้วยความมุ่งมั่น จีนเต็มไปด้วยความก้าวหน้า ลาวร่ำรวยด้วยทรัพยากร" ระยะเวลาหลายเดือนกับการเดินทางหลายร้อยกิโล มาสรุปให้เราฟัง 40 กว่านาที มันคุ้มค่ามากจริงๆ ค่ะ




               เพียงเรายิ้มต้อนรับนักท่องเที่ยว ก็เป็นการเริ่มต้นจากสิ่งที่เรามีแล้วค่ะ ^_^



บทความน่าสนใจ

ประกันชีวิตหักลดหย่อนภาษี 200,000 บาท ตอนที่ 1/2
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/09/200000-12.html

บัตรเครดิตที่เราต้องรู้
 ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/07/blog-post.html


รู้อะไรไม่สู้ "รู้งี้" กับการวางแผนเกษียณ
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/06/blog-post.html

เราทำงานเพื่ออะไร 
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/05/blog-post_27.html

ต้นทุนชีวิต - มีมูลค่าเท่าไหร่
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/05/blog-post.html

เงินฝากเขย่าโลก
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/04/blog-post_20.html

ทิศทางการตลาดเพื่อดูแนวโน้มหุ้นแห่งอนาคต

บทเรียนในความมืดกับการวางแผนการเงิน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post_24.html

แหล่งเก็บเงินที่ปลอดภัยนั้นไม่มีจริง!!
==> http://pajareep.blogspot.com/2013_04_01_archive.html

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์การออมและการลงทุน

ก่อนจะเข้าสาระของบทความก็ขอยกตัวอย่างชีวิตจริงของครอบครัวหนึ่งที่ทำให้เรารู้ว่า.....

ทำไมเราจึงไม่ควรมีรายได้ทางเดียว??

ครอบครัวนี้ก็เหมือนครอบครัวข้าราชการทั่วไป พ่อเป็นข้าราชการทหารรับบำนาญ แม่มีอาชีพค้าขาย ส่วนลูกก็ทำงานเป็นบุรุษพยาบาล  รายรับของครอบครัวนี้ก็มาจาก......

  • เงินบำนาญของพ่อที่เป็นข้าราชการ 
  • เงินที่ได้รับจากการค้าขายของแม่ที่มีบ้างแต่ไม่ค่อยสม่ำเสมอ
  • เงินเดือนของลูกที่เป็นบุรุษพยาบาล
เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าข้าราชการบำนาญมีสวัสดิการหลายๆอย่างรวมถึงรายจ่ายทางด้านสุขภาพด้วย และจะได้รับเงินบำนาญจนวาระสุดท้ายของชีวิต เมื่อชีวิตมาถึงจุดพลิกผัน เรื่องดราม่าก็เกิดขึ้นมาทดสอบสุขภาพจิตใจของครอบครัวนี้ เมื่อหัวหน้าครอบครัวที่สุขภาพแข็งแรง อ้วนท้วนสมบูรณ์นั้นมาตรวจพบว่าเป็นมะเร็งตับระยะที่ 3-4

ปัจจุบันครอบครัวนี้ไม่ได้รับเงินบำนาญมาหลายปีแล้ว

เรื่องราวนี้บอกอะไรเราได้บ้าง.....
  • ถ้าแม่เป็นแม่บ้าน ไม่มีอาชีพค้าขายครอบครัวนี้จะเป็นอย่างไร
  • ถ้าสมมติลูกอยู่ในช่วงวัยเรียนจะเป็นอย่างไร 
  • ถ้าเราทำแต่งานจนไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพตนเอง จนตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรง จะนำเงินที่ไหนมารักษา
  • ถ้าเกิดน้ำท่วมบ้านอีกหละจะเอาเงินที่ไหนซ่อมบ้าน
  • และก็มีถ้า.... ถ้า..... ถ้า.....อีกเต็มไปหมด เพราะชีวิตมันคือความไม่แน่นอน มีสิ่งไม่คาดฝันทั้งดีและไม่ดีเกิดขึ้นมากมาย ดังนั้นเราควรเตรียมตัวให้พร้อมรับทุกสถานการณ์ ควรป้องกันมากกว่ารอให้เกิดขึ้นแล้วค่อยแก้ไขนะจ๊ะ
ถ้าคุณมีรายได้ทางเดียวสภาพการเงินหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร?? 

การลงทุน คือ คำตอบค่ะ

เข้าเรื่องเลยดีกว่า ความเดิมตอนที่แล้ว......

อัตราส่วนทางการเงินส่วนบุคคล แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. การวิเคราะห์สภาพคล่อง ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_11.html
2. การวิเคราะห์หนี้สิน          ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_28.html
3. การวิเคราะห์การออมและการลงทุน (บทความชุดนี้)

ตัวอย่างงบดุลและงบกระแสเงินสด



การวิเคราะห์การออมและการลงทุน ทำให้เรารู้ว่า.....

==> ตรวจดูความมั่งคั่งในอนาคตว่าตอนเกษียณเราจะมีเงินพอใช้ไหม 
       โดยดูจากพฤติกรรมการออมเงินและการลงทุน

==> การจัดสรรเงินลงทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งในระยะสั้น กลางและยาว

การคำนวณอัตราส่วนกับการวิเคราะห์การออมและการลงทุน


1. อัตราส่วนการออม (Saving Ratio) เป็นอัตราส่วนที่ดูความสามารถในการออมเงินของเราจากรายได้ เพื่อไว้ใช้กับเป้าหมายทางการเงินในอนาคต เช่น ออมเงินเพื่อศึกษาต่อ ออมเงินเพื่อซื้อบ้าน ออมเงินเพื่อซื้อรถยนต์ ออมเงินเพื่อทำศัลยกรรม ออมเงินเพื่อเกษียณ ออมเงินเพื่อการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งอัตราส่วนนี้ต้องมีมากว่า 10% ซึ่่งในช่วงแรกของการทำงานก็อาจจะมีไม่ถึง 10% แต่เมื่อทำงานและได้เงินเดือนมากขึ้นก็จะมีความสามารถออมเงินได้มากขึ้น เพราะมีรายได้ที่มากขึ้น

การคำนวณ ==> นำตัวเลขมาจากงบกระแสเงินสด


ผลลัพธ์ ==> (36,000 / 786,000) * 100 = 4.58%

ความหมาย ==> การออมนั้นอยู่ต่ำกว่ามาตรฐานที่ 10% ควรมีการออมเงินเพิ่มขึ้น จากอัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio @ http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_11.html) ที่มีอยู่ 3.75 เท่า ซึ่งอยู่สูงกว่ามาตรฐานที่ 1 เท่า แสดงว่าสภาพคล่องล้นเหลือ สามารถนำเงินมาออมหรือมาลงทุนเพิ่มขึ้น สภาพคล่องที่มากเกินความจำเป็นนั้นจะทำให้เสียโอกาสในการลงทุน และจะส่งผลกระทบต่อเป้าหมายทางการเงิน

2. การลงทุน( Net investment asset to net worth Ratio) เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงความมั่งคั่งของแหล่งที่มาของรายได้ที่จะไว้ใช้ในวัยเกษียณอายุ ซึ่งอัตราส่วนนี้ต้องมีมากว่า 50% ลองคิดขำๆว่าถ้าเราเลิกทำงานแล้วอยู่ในวัยเกษียณ ไม่มีเงินเดือน ถ้าอาศัยสวัสดิการรัฐเพียงอย่างเดียวชีวิตเราคงจืดสนิทกันเลยทีเดียว ดังนั้นเราต้องศึกษาเรื่องการลงทุน ให้เงินแช่งแข็งที่ถูกอัตราเงินเฟ้อวิ่งแซงดอกเบี้ยเงินฝากในออมทรัพย์มาทำงานช่วยเราบ้าง การลงทุนก็เป็นแหล่งรายได้ทางหนึ่ง ซึ่งต้องกระจายความเสี่ยงในระดับที่นักลงทุนยอมรับได้ 

การคำนวณ ==> นำตัวเลขมาจากงบดุล


ผลลัพธ์ ==> (380,000 /1,690,000) * 100 = 22.49%

ความหมาย ==> การลงทุนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่ 50% ควรมีการจัดสรรเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น ควรดึงสภาพคล่องส่วนเกินนั้นมาใส่ในการลงทุนบ้างนะจ๊ะ


สรุปภาพรวมของอัตราส่วนการเงินบุคคล



การวิเคราะห์ภาพรวมสามารถสรุปได้ว่าบุคคลนี้มีช่องโหว่ทางด้านการออมและการลงทุน โดยมีสภาพคล่องส่วนเกินจากอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องต่อหนี้สิน (คำนวณได้ 3.75 เท่าซึ่งมากกว่า 1 เท่า) เป็นอัตราส่วนที่มากเกินไป ควรจัดสรรมาเพื่อการออม (คำนวณได้ 4.58% ซึ่งต่ำว่า 10% ) และการลงทุน (คำนวณได้ 22.49% ซึ่งควรมีมากกว่า 50%) มากขึ้น ให้เงินช่วยทำงานแล้วเราจะสบายตอนเกษียณนะจ๊ะ

บทความน่าสนใจ

บัตรเครดิตที่เราต้องรู้
 ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/07/blog-post.html

รู้อะไรไม่สู้ "รู้งี้" กับการวางแผนเกษียณ
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/06/blog-post.html

เงินฝากเขย่าโลก
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/04/blog-post_20.html

แบ่งเงินออมมาเก็บดอลล่าร์กันดีกว่า
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/03/blog-post_25.html

ทิศทางการตลาดเพื่อดูแนวโน้มหุ้นแห่งอนาคต

ร่ำรวยจากสิ่งที่มี