วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

ประกันชีวิตหักลดหย่อนภาษี 200,000 บาท ตอนที่ 1/2




การหักลดหย่อนภาษีนั้นเป็นหนึ่งในการวางแผนภาษี ในแต่ละปีรัฐบาลจะมีนโยบายออกมากระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้การลดหย่อนภาษีเป็นแรงจูงใจ เช่น รถคันแรก บ้านหลังแรก การท่องเที่ยว (ถ้าอยากให้คนไทยมีลูกมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคตก็อาจจะมีนโยบายลูกคนแรกออมมาก็ได้) ทั้งนี้เราต้องคอยติดตามข่าวว่าแต่ละปีมีหักลดหย่อนภาษีอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้ไม่เสียสิทธิ

การซื้อประกันชีวิตเพื่อหักลดหย่อนภาษีนั้นเป็นหนึ่งในนโยบายที่รัฐต้องการกระตุ้นการออมของประชาชนเพื่อให้มีเงินเพียงพอที่จะใช้ตลอดชีวิต โดยที่เป็นภาระของลูกหลานน้อยที่สุด การส่งเสริมการออมที่ได้รับการลดหย่อน เช่น  LTF หรือ RMF หลายๆคนพอรู้เรื่องเงื่อนไขการซื้อ ขายคืนหรือวิธีการหักลดหย่อนกันพอสมควรแล้วจึงไม่ขอกล่าวถึง

ในบทความนี้กล่าวถึงเฉพาะการหักลดหย่อนโดยการซื้อประกันชีวิตซึ่งมี 2 ส่วน คือ
  • ส่วนที่ 1 โดยทั่วไปจะเรียกว่าหนึ่งแสนแรก โดยสามารถหักได้ไม่เกิน 100,000 บาท เป็นประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองเกิน 10 ขึ้นไป (ตัวอย่างอยู่ในบทความ "สร้างเงินล้านได้จากเงินสะสม 6,209 บาท http://pajareep.blogspot.com/2013/09/6209.html ")
  • ส่วนที่ 2 โดยทั่วไปจะเรียกว่าสองแสนหลัง โดยสามารถหักลดหย่อนสูงสุด 200,000 บาทแต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ ต้องเป็นประกันชีวิตที่ระบุว่า "บำนาญ" เท่านั้นถึงจะหักลดหย่อนภาษีได้ โดยส่วนนี้เมื่อรวมกับ RMF , กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ,กบข.,กองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท 
การวางแผนซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อลดหย่อนภาษีนั้นควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ โดยใช้เป้าหมายของผู้ที่ต้องการลดหย่อนเป็นเกณฑ์ว่าต้องการรับเงินบำนาญแบบใด เช่น  อัตราเบี้ยประกันภัย การกำหนดอายุรับเงินบำนาญเองได้ เป็นต้น

บทความเรื่องลดหย่อนภาษีจากการซื้อประกันชีวิตค่อนข้างยาวผู้เขียนจึงแบ่งเป็น 2 บทความ คือ
  1. ประกันชีวิตแบบบำนาญ 60/85 (AIA Annuity 60/85) ตัวอย่างด้านล่าง
  2. ประกันชีวิตแบบบำนาญ สมาร์ท (AIA Annuity Smart@55 , 60 ,65) ในบทความต่อไปตามลิ้งค์ภาพข้างล่าง
ตัวอย่างการวางแผนลดหย่อนภาษีจากการซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ 60/85

คุณอภินิหารเงินออมอายุ 40 ปี ต้องการวางแผนภาษีโดยการซื้อประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษี ซึ่งคุณอภินิหารเงินออมใช้สิทธิการลดหย่อน 100,000 บาทครบแล้ว(ซื้อประกันชีวิตที่มีความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป) จึงอยากจะใช้สิทธิลดหย่อนเพิ่มเติมในส่วนของการซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญที่หักได้สูงสุด 200,000 บาท

รูปที่ 1 ภาพรวมของประกันชีวิตแบบบำนาญ 60/85
คุณอภินิหารเงินออมอายุ 40 ปีต้องการทุนประักัน(ความคุ้มครอง) 1,500,000 บาท โดยที่ต้องจ่ายชำระเบี้ยประกันปีละ 116,250 บาท ซึ่งจะแบ่งคำอธิบายเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงจ่ายเบี้ยประกัน ช่วงรับเงินบำนาญ และสิทธิประโยชน์ทั้งหมดจากการลดหย่อนภาษี

รูปที่ 1

รูปที่ 2 ช่วงจ่ายเบี้ยประกัน(ลดหย่อนภาษี)
ช่วงเวลาชำระเบี้ยประกันปีละ 116,250 บาท ซึ่งจ่ายตั้งแต่อายุ 40 ปี ได้รับความคุ้มครองชีวิต 1,500,000 บาทไปจนตลอดถึงอายุ 50 ปี และความคุ้มครองชีวิตจะสูงขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่อายุ 51 ปี(ตัวเลขสีน้ำเงิน) จนกระทั่งอายุ 59 ปี ความคุ้มครองจะเป็น 3,000,000 บาท โดยเป็นการชำระเบี้ยทั้งสิ้น 20 งวด

รูปที่ 2

รูปที่ 3 ช่วงรับเงินบำนาญ 
หลังจากอายุ 60 ปีซึ่งเป็นช่วงวัยเกษียณจะได้รับเงินสดคืน 10% ของทุนประกันเป็นเงินบำนาญทุกปี ตั้งแต่อายุ 60-85 ปี เป็นจำนวนเงินปีละ 1,500,000 x 10% = 150,000 บาท รวม 26 งวดเป็นเงินทั้งสิ้น 3,900,000 บาท

ถ้าระหว่างที่รอรับเงินบำนาญเกิดเสียชีวิต(ในช่วงอายุตั้งแต่อายุ 60-74 ปี) ก็จะรับประกันเงินบำนาญ 15 ปี เช่น ขณะอายุ 65 ปีเสียชีวิต ผู้เอาประกันจะได้รับเงินสด 2 ส่วน คือ เงินรายงวด + การันตีเงินบำนาญ = 150,000 + 1,224,000 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 1,374,000 บาทเพื่อเป็นมรดกให้กับคนในครอบครัว

รูปที่ 3

รูปที่ 4 สิทธิประโยชน์ทั้งหมดจากการลดหย่อนภาษี
ตารางผลประโยชน์ตั้งแต่อายุ 60-85 ปี สมมติคิดที่อัตราภาษี 20% ซึ่งวิธีคำนวณ ดังนี้

ข้อที่ 1 ได้รับเงินสดคืน 10% ตั้งแต่อายุ 60-85 ปี(บำนาญ) 
==> 150,000 x 26 = 3,900,000 บาท

ข้อที่ 2 รวมรับผลประโยชน์ทางภาษีตั้งแต่อายุ 40-59 ปี รวม 20 งวด (ถ้าจ่ายภาษีในอัตราที่มากขึ้นก็สามารถใช้หลักการเดียวกันคิดได้เช่นกัน) คือ 

จำนวนเบี้ยรายปี x อัตราภาษี = จำนวนเงินที่ประหยัดภาษี

==> ประหยัดภาษีได้ปีละ 116,250 x 20% = 23,250 บาท
==> ประหยัดภาษีได้ทั้งหมด 23,250 x 20 งวด = 465,000 บาท

ข้อที่ 3 รวมรับผลประโยชน์ตลอดสัญญา
==> 3,900,000 + 465,000 = 4,365,000 บาท

ข้อที่ 4 หักเบี้ยประกันสะสม
==> 116,250 x 20 = 2,325,000 บาท

ข้อที่ 5 ส่วนต่างผลตอบแทนที่ได้รับมากกว่าเบี้ยประกัน
==> 4,365,000 - 2,325,000 = 2,040,000 บาท

รูปที่ 4



หนังสือแนะนำก่อนตัดสินใจซื้อประกันชีวิต




บทความน่าสนใจ


ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี 200,000 บาท ตอนที่ 2/2
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/12/200000-22.html

วิธีค้นหาตัวตนจากการเขียนคำไว้อาลัย
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/11/blog-post_22.html

งดเหล้า เลิกบุหรี่ สุขภาพดีและมีเงินออม 
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/11/blog-post.html

สร้างแรงบันดาลใจเป็นตัวเลข
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post_28.html

ภาพรวมของการวางแผนการเงินส่วนบุคคลมี 5 แผน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/5.html

บทเรียนจากแบบฝึกหัดเขียน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post_6.html

ความสามารถของเรามีมูลค่าเท่าไหร่??

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

สร้างเงินล้านได้จากเงินสะสม 6,209 บาท



จากคำแนะนำที่เราพบเห็นโดยทั่วไปในกรณีที่เราอยากมีเงินออมเราจะได้ยินว่า
  • ถ้าอยากมีเงินออมก็ต้องเก็บเงินซิ
  • เราต้องลดรายจ่าย 
  • เราต้องเพิ่มรายได้ 
  • ให้เงินทำงานโดยนำเงินไปลงทุน
  • เราต้องประหยัด
เป็นคำที่ใครๆก็พูดได้ แต่รู้สึกไหมว่าทำยากจัง หลักการที่สวยหรูในบางครั้งไม่สามารถทำได้จริงในสภาวะปัจจุบันที่รายจ่ายวิ่งแซงรายได้ มันเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจหรือความพยายามของเราไม่เพียงพอกันแน่??

ในที่สุดแล้วเราก็ต้องมีเงินออมบางส่วนที่มีสภาพคล่อง (หรือสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว) เพื่อใช้จ่ายในภาวะต่างๆ เช่น ในภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบใช้เงินจากโรคภัยไข้เจ็บหรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด พอถึงช่วงเวลานั้นเราจะรู้ทันทีว่าเงินออมของเรานั้นมีประโยชน์มาก แล้วถ้าเราไม่มีเงินออมไว้สำหรับช่วงเวลาฉุกเฉินจะหาเงินมาจากที่ไหนเพื่อใช้จ่ายได้ทันเวลา

นั่นไง!! กำลังคิดว่าให้ใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดมาใช้ในภาวะฉุกเฉินใช่ไหมจ๊ะ

แม้ว่าบัตรเครดิตจะบอกว่าอำนาจการจ่ายอยู่ในมือเรา มันทำให้เราเข้าใจว่าเราจะจ่ายเท่าไหร่ก็ได้ แต่ความจริงก็คือ อำนาจตรงนั้นก็มาจากเงินในอนาคตของเรานั่นเอง ถ้าปัจจุบันนี้ใช้เงินในอนาคตจนหมดแล้วต่อไปในอนาคตเราจะนำเงินที่ไหนมาใช้ ถ้าเป็นแบบนั้นคงไม่ไหว แล้วเราจะทำงานไปเพื่ออะไรกัน ดังนั้นเราควรให้เวลาตนเองโดยหันกลับมาทบทวนเงินออมของเราตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ใช่เริ่มออมตอนได้รับโบนัส บางครั้งช่วงได้รับโบนัสก็อาจจะออมไม่ได้เพราะคิดว่าทำงานเหนื่อยมาทั้งปีแล้วขอใช้เงินให้สะใจสักหน่อย สุดท้ายโบนัสก็ไม่เหลืออีกเช่นกัน -_-"

เมื่อเรารู้ว่าควรมีเงินออมแล้วมีวิธีการอย่างไรบ้างหละ เราลองมาศึกษาวิธีการเริ่มออมง่าย ไม่ยากเลยว่าควรทำอย่างไรบ้าง

เราได้ไอเดียจากการผ่อนชำระค่าสินค้าหรือบริการของบัตรเครดิตเป็นรายงวด สมมติว่าเราผ่อนมือถือรุ่นใหม่ล่าสุดราคา 30,000 บาทเป็นระยะเวลา 6 เดือน เดือนละ 5,000 บาท ระดับการยอมรับการสูญเสียเงินของแต่ละคนนั้นต่างกัน บางคนชอบการจ่ายทีเดียวจบโดยชำระเงินทั้งหมด 30,000 บาทแล้วได้มือถือมาใช้ แต่บางคนมองว่ามันเหนื่อยและสร้างภาระให้เรามากเกินไป ผ่อนจ่ายเดือนละ 5,000 บาทจะดีกว่า ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยน้อยลงแต่ก็ได้มือถือมาใช้เหมือนกัน

นั่นซิ ทำไมเราไม่ใช้ไอเดียนี้มาเป็นจุดเริ่มต้นการออมเงินของเราหละ ไม่ต้องออมเงินทีเดียวก้อนใหญ่ๆ โดยการรอโบนัสปลายปีแล้วจึงออม แต่ค่อยๆเก็บสะสมไปเรื่อยๆ จึงกลายมาเป็นไอเดียที่ว่า การออมเงินแบบผ่อนจ่าย โดยที่เราสร้างโปรแกรมการออมภาคบังคับให้กับตนเอง ซึ่งวิธีการนี้เราก็นำมาใช้กับตนเองแล้วผลดีมากจึงนำมาแชร์ค่ะ

ในใจของหลายๆคนฝันอยากจะมีเงิน 1 ล้านบาท การสะสมเงินเพื่อให้ตามฝันนั้นมีหลายวิธี อาจจะเป็นเงินที่เราใช้แรงงานหามาหรือให้เงินทำงาน ซึ่งบางคนอาจจะทำอาชีพเสริมหลังจากการทำงานประจำโดยการขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ต ทำธุรกิจส่วนตัว ขายของที่ตลาดนัด ฯลฯ เราขอแสดงความยินดีสำหรับผู้ที่ประสบความสำเร็จโดยเก็บเงินได้ตามที่ต้องการ แต่ก็มีบางส่วนที่ยังไม่สามารถทำได้เพราะใจยังไม่แข็งแรงพอ ความอดทนต่อสิ่งรอบตัวที่ทำให้เราต้องควักเงินซื้อตลอดเวลาไม่ได้  อย่าพึ่งท้อใจไปนะจ๊ะ ทุกอย่างเริ่มต้นใหม่ได้ เพียงเริ่มทำตั้งแต่วันนี้ ความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกลแล้วหละ

บทความนี้จะกล่าวถึงทางเลือกหนึ่งในการสร้างเงินสดสะสมในอนาคตที่บางครั้งเรามองข้ามไป หรือไม่เคยนึกถึงเพียงเพราะมีทัศนคติในแง่ลบ(อันนี้พูดถึงตนเองซึ่งเคยคิดแบบนั้น กว่าจะปรับทัศนคติได้ก็ใช้เวลาเกือบปี) เรามาดูวิธีการออมเงินแบบผ่อนจ่ายกันว่าการสะสมเงินเดือนละ 6,209 บาทแล้วจะมีเงินล้านได้อย่างไร


  • สิ่งแรกที่เราควรทำ คือ ผูกบัญชีเงินเดือนของเรากับบัญชีเพื่อการออมเงิน เช่น การฝากออมทรัพย์ การซื้อกองทุนรวมตราสารหนี้ หรือบัญชีอะไรก็ได้ที่เราฝากแล้วสามารถถอนได้ในอีก 1 ปีข้างหน้าโดยที่มูลค่าไม่ลดลง ซึ่งวิธีนี้เงินจะถูกตัดออกไปอัตโนมัติโดยที่เราไม่เห็นและไม่รู้สึกสูญเสียมากเท่ากับการถอนเงินเพื่อไปฝากเอง ความรู้สึกสูญเสียเงินต่างกันมาก
  • เมื่อเงินเดือนของเราเข้าบัญชีในช่วงสิ้นเดือน ระบบก็จะัตัดเงินจำนวน 6,209 บาทเข้าบัญชีเพื่อการออมอัตโนมัติ พอครบ 1 ปีจะเป็นเงินโดยประมาณ 74,500 บาท (ไม่รวมดอกเบี้ย) 
  • เราถอนเงินจำนวน 74,500 บาทเพื่อชำระกองทุนเงินล้านของเรา
  • ความคุ้มครองชีวิตและได้รับเงินชดเชยในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุ 
  • หากเกิดการสูญเสียเสาหลักในการหารายได้ เงินส่วนสามารถเป็นมรดกเงินสดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินให้แก่ครอบครัว
  • พิเศษยิ่งกว่านั้นที่เงินสะสมที่เราจ่ายไปนั้นทำให้เราประหยัดภาษีได้อีกด้วย

เราลองมาดูวิธีการออมเงินแบบผ่อนจ่ายจากตัวอย่างง่ายๆนี้กันคะ

ตัวอย่าง คุณอภินิหารเงินออม อายุ 30 ปีต้องการออมเงินให้ได้ 1 ล้านบาทและได้รับความคุ้มครองชีวิตในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝันทำให้จากไปก่อนครบสัญญาก็ยังมีเงิน 1 ล้านบาทเป็นมรดกให้แก่บุคคลในครอบครัวใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไป จึงเลือกแบบประกันชีวิตเป็นแบบสะสมทรัพย์ 25 ปี ชำระเบี้ยประกัน 15 ปี(มีเงินปันผล)



  • จากวิธีการออมเงินแบบผ่อนจ่ายเดือนละ 6,209 บาท ทำให้มีเงินออมเพื่อชำระเบี้ย 1 ปีจำนวน 74,500  บาท เพื่อเป้าหมายออมเงิน 1 ล้านบาท โดยทำการออมเงินทั้งสิ้น 15 ปี 
  • ทางเลือการออมเงินแบบนี้ ทุกสิ้นปีจะได้ัรับเงินสดคืน 1% ของทุนประกันคือ 1,000,000 x 1% = 10,000 บาท รวมทั้งหมด 23 ครั้งเป็นเงินทั้งสิ้น 230,000 บาท 
  • ในปีสุดท้ายของสัญญาคือปีที่ 25(คุณอภินิหารเงินออมอายุ 55 ปี) ได้รับเงินคืน 121% ของทุนประกัน คือ 1,000,000 x 121% = 1,210,000 บาท รวมเงินทั้งหมดตลอดระยะเวลาการฝาก 15 ปีและได้รับความคุ้มครองชีวิตในกรณีทุพพลภาพหรืออุบัติเหตุทั้งหมด 25 ปีจะได้รับเงินรวม 1,440,000 บาท 
  • โดยจ่ายเงินสะสมปีละ 74,500  บาท ระยะเวลา 15 ปี เป็นเงิน 1,117,500 บาท สรุปว่าคุณอภินิหารเงินออมได้รับผลตอบแทนมากกว่าการจ่ายเงินสะสม 322,500 บาท (เงินปันผลนั้นจะขึ้นอยู่กับผลตอบแทนของบริษัท)
ระหว่างทางก่อนครบกำหนดชำระ 15 ปีต้องการหยุดชำระเบี้ย เราควรศึกษาให้ดีว่าจะใช้วิธีใดให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด โดยที่จะเปรียบเทียบการหยุดส่งในปีที่ 10 และปี 11 ซึ่งเพียงปีเดียวก็สร้างความแตกต่างได้มากในเงินก้อนสุดท้าย ดังนี้

วิธีที่ 1 คือ การขอเวนคืนกรมธรรม์ ณ สิ้นปีที่ 11 เป็นการหยุดชำระเบี้ยแล้วขอรับเงินคืนทันทีในสิ้นปีที่ 11 โดยวิธีนี้จะทำให้เราเสียประโยชน์เพราะจะได้รับเงินกลับมาน้อยกว่าเงินที่เราสะสม โดยที่เราจ่ายเงินสะสม 819,500 บาท แต่ได้รับเงินสดกลับมาเพียง 715,000 บาท เสียประโยชน์ไป -104,500 บาท ดังนั้นไม่ขอแนะนำให้ใช้วิธีนี้



วิธีที่ 2 คือ การเปลี่ยนกรมธรรม์เป็นใ้ช้เงินสำเร็จหรือเปลี่ยนกรมธรรม์เป็นแบบขยายระยะเวลา ณ สิ้นปีที่ 11 โดยตั้งแต่ปีที่ 12 เราหยุดการชำระเบี้ยประกัน ทั้งนี้เรายังได้รับเงินคืนในปีที่ 25 จำนวน 1 ล้านบาทเช่นเดิมและยังได้รับเงินสดคืนทันที ณ สิ้นปีที่ 11 เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท โดยที่เราจะได้รับประโยชน์จากวิธีนี้เพราะจะได้รับเงินทั้งสิ้น 1,105,000 บาท โดยชำระเบี้ยเพียง 819,500 บาท โดยได้รับผลประโยชน์เกินเบี้ยที่เราจ่าย 285,500 บาท




วิธีที่ 3 คือ การขอเวนคืนกรมธรรม์ ณ สิ้นปีที่ 10 เป็นการหยุดการส่งเงินสะสมแล้วขอรับเงินคืนทันทีในสิ้นปีที่ 10 โดยวิธีนี้จะทำให้เราได้เสียประโยชน์เพราะจะได้รับเงินกลับมาน้อยกว่าเงินที่เราสะสม โดยที่เราจ่ายเงินสะสม 745,00 บาท แต่ได้รับเงินสดกลับมาเพียง 633,000 บาท เสียประโยชน์ไป -112,000 บาท ดังนั้นไม่ขอแนะนำให้ใช้วิธีนี้



วิธีที่ 4 คือ  การเปลี่ยนกรมธรรม์เป็นใ้ช้เงินสำเร็จ ณ สิ้นปีที่ 10 โดยการจ่ายชำระเบี้ยมาแล้ว 10 ปีแล้วหยุดชำระเบี้ยตั้งแต่ปีที่ 11 เป็นต้นไป เราได้รับความคุ้มครองไม่ถึง 1 ล้านบาท โดยที่จะได้รับความคุ้มครอง 923,000 บาทไปตลอดจนถึงปีที่ 25 ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากวิธีนี้เพราะจะได้รับเงินทั้งสิ้น 1,013,000 บาท โดยชำระเบี้ย 745,000 บาท โดยได้รับผลประโยชน์เกินเบี้ยที่เราจ่าย 268,000 บาท



วิธีที่ 5 คือ  การเปลี่ยนกรมธรรม์ขยายระยะเวลา ณ สิ้นปีที่ 10 โดยการจ่ายชำระเบี้ยมาแล้ว 10 ปีแล้วหยุดชำระเบี้ยตั้งแต่ปีที่ 11 เป็นต้นไป เราได้รับความคุ้มครอง 1 ล้านบาท ไปอีก 15 ปี และได้รับเงินก้อนในปีที่ 25 อีกจำนวน 909,000 บาท ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากวิธีนี้เพราะจะได้รับเงินทั้งสิ้น 999,000 บาท โดยชำระเบี้ย 745,000 บาท โดยได้รับผลประโยชน์เกินเบี้ยที่เราจ่าย 254,000 บาท




ไม่มีคำว่าพรุ่งนี้สำหรับการออม
มันมีแต่ เริ่มตอนนี้ และเดี๋ยวนี้เท่านั้น



บทความน่าสนใจ


เปลือกนอกที่หลอกตา
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/12/blog-post.html

ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี 200,000 บาท ตอนที่ 2/2
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/12/200000-22.html

วิธียืมเงินเพื่อนที่ได้เงินชัวร์ๆ
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/11/blog-post_26.html

วิธีค้นหาตัวตนจากการเขียนคำไว้อาลัย
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/11/blog-post_22.html

งดเหล้า เลิกบุหรี่ สุขภาพดีและมีเงินออม 
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/11/blog-post.html

สร้างแรงบันดาลใจเป็นตัวเลข
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post_28.html

ภาพรวมของการวางแผนการเงินส่วนบุคคลมี 5 แผน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/5.html

บทเรียนจากแบบฝึกหัดเขียน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post_6.html

ความสามารถของเรามีมูลค่าเท่าไหร่??
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post.html




วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

แนะนำหนังสือ "SOROS" (โซรอส)

เราเคยมีความคิดที่โง่เขลาเกี่ยวกับการโจมตีค่าเงินของ George Soros โดยคิดแต่มุมมองแคบๆว่า " Soros เป็นใคร เขาไม่รู้รึไงว่าการทำแบบนั้นทำให้คนอื่นเดือดร้อน เศรษฐกิจล้ม คนไม่มีงานทำ" (โดยลืมนึกไปว่ามันก็ต้องขึ้นอยู่กับคนบริหารประเทศด้วยว่าจะรับมืออย่างไร) และก็มารู้อีกว่าก่อนที่จะมาโจมตีค่าเงินบาทก็เคยโจมตีค่าเงินปอนด์มาแล้ว มันก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าคนนี้เป็นคนใจร้ายออกไปทางขี้โกงอีกต่างหากที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศอื่นล้ม

พอกันทีสำหรับความไม่รู้ การคาดเดาจากอากาศไม่ทำให้อะไรดีขึ้นมา ดังนั้นเราก็เลยคิดว่าน่าจะลองหาหนังสือที่เกี่ยวกับกระบวนการคิดของ Soros มาอ่านบ้างแล้วหละว่าเขาคิดยังไงถึงทำไปแบบนั้น แล้วเป็นความโชคดีที่บังเอิญเราเจอหนังสือเล่มนี้ในห้องสมุดมารวย


หนังสือเล่มนี้ทำให้เราเข้าใจอะไรต่างๆมากขึ้น จนกระทั่งสามารถลบความคิดเดิมออกได้ เราเริ่มเข้าใจความต่อเนื่องของเหตุกาณ์ว่าเมื่อเกิดสิ่งนี้ขึ้นแล้วอีกสิ่งหนึ่งก็จะเกิดตามมา แม้ว่าเราพึ่งเปิดอ่านไม่กี่หน้าแต่ก็อยากจะบอกให้คนอื่นลองอ่านดูจะได้เข้าใจสภาพการเก็งกำไรจากเหตุการณ์ต่างๆ และทำให้เราเริ่มเข้าใจวิธีการโจมตีค่าเงินบาทจากการโจมตีค่าเงินปอนด์

ในปีที่ 1990 เป็นช่วงที่ประเทศอังกฤษ เข้าร่วมกลไกอัตราแลกเปลี่ยนยุโรป (ERM) โดยเป็นโครงการที่ปูทางไปสู่การเป็นเงินยูโรสกุลเดียว ซึ่งโซรอสมองว่าระบบเศรษฐกิจของอังกฤษยังไม่แข็งแกร่ง แม้เข้าร่วมไปสักวันก็ต้องออกจากระบบ จนกระทั่งในปี 1992 วิกฤตการเงินก็เกิดขึ้นที่ยุโรปตะวันตกและอังกฤษก็ต้องการให้ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เยอรมันไม่ยอมเพราะเกรงว่าจะเกิดเงินเฟ้อจะกลับมาในประเทศของตน อังกฤษต้องการปรับปรุงเศรษฐกิจของตนจึงจำเป็นที่จะต้องลดค่าเงินเพื่อให้ภาคการส่งออกดูดีขึ้น วิกฤตเริ่มชัดเจนขึ้นในกลางเดือนกันยายน สัญญาณแรกที่ทำให้โซรอสเริ่มขายเงินปอนด์มาจากการที่เงินเรียลของอิตาลีด้อยค่าลง แล้วสุดท้ายอังกฤษก็ลดค่าเงินจริงๆ(เนื้อหาบางส่วนเราถ่ายรูปจากในหนังสืออ่านไว้ที่ด้านล่างค่ะ)

ดูจากภาพรวมแล้วเป็นการเก็งกำไรจากความไม่สมดุลของเศรษฐกิจที่ไม่เป็นในทิศทางเดียวกัน คงคล้ายๆกับของประเทศไทยที่ตอนนั้นเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์กันมากชนิดที่ว่าราคาเปลี่ยนเป็นรายนาที เงินบาทของเราในปี 40 นั้นเป็นแบบคงที่ (ทั้งที่ความจริงควรจะอ่อนค่ามากกว่านี้) ซึ่งไม่ตรงกับสภาพเศรษฐกิจที่ภายนอกดูเฟืองฟู ทุกอย่างดูดีไปหมด แต่แท้ที่จริงแล้วกำลังเกิดฟองสบู่จากการเก็งกำไรชนิดที่ว่าไม่มองพื้นฐานที่แท้จริง สุดท้ายก็เป็นเป้าหมายของการเก็งกำไร

บทเรียนราคาแพงซึ่งเราต้องศึกษาไว้ เพราะมันเกี่ยวข้องโดยตรงกับเงินในกระเป๋าของเรา บางคนคิดว่าเก็งกำไรค่าเงินแล้วจะมาเกี่ยวอะไรกับเรา ทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันหมด คล้ายๆกับคำว่า "เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว" วิกฤตปี 40 บอกเราได้ชัดเจนมาก แม้ว่าธุรกิจที่บ้านผู้เขียนไม่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนก็จริง แต่ก็ทำให้เราขายของไม่ได้เพราะคนไม่มีกำลังซื้อ เราเรียนรู้อดีตเพื่อความไม่ประมาทและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต หรือบางครั้งเรารู้ว่าวิกฤตกำลังเกิดเราจะได้ไหวตัวทัน เช่น ปี 40 เราเป็นประชาชนตัวเล็กๆไม่สามารถเข้าไปปกป้องค่าเงินบาทที่ถูกโจมตีได้ สิ่งที่เราทำได้เพื่อให้คุณภาพชีวิตของเราใกล้เคียงของเดิมภายหลังจากเกิดวิกฤต เช่น ถือทองคำ แลกดอลล่าร์เก็บไว้ ถือเงินสดเอาไว้ซื้อของจำเป็น และพยายามทำใจเพื่อรับสภาพเลวร้ายที่กำลังจะเกิดขึ้นด้วยสติ


"เหตุการณ์อะไรที่สงบ เรียบร้อยดูดีเกินไป
ในไม่ช้าก็จะเกิดเรื่องเลวร้ายตามมา"


===============================================================

เนื้อหาบางส่วนในหนังสือข้างต้นจากเหตุการณ์โจมตีค่าเงินปอนด์