วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

สร้างเงินล้านได้จากเงินสะสม 6,209 บาท



จากคำแนะนำที่เราพบเห็นโดยทั่วไปในกรณีที่เราอยากมีเงินออมเราจะได้ยินว่า
  • ถ้าอยากมีเงินออมก็ต้องเก็บเงินซิ
  • เราต้องลดรายจ่าย 
  • เราต้องเพิ่มรายได้ 
  • ให้เงินทำงานโดยนำเงินไปลงทุน
  • เราต้องประหยัด
เป็นคำที่ใครๆก็พูดได้ แต่รู้สึกไหมว่าทำยากจัง หลักการที่สวยหรูในบางครั้งไม่สามารถทำได้จริงในสภาวะปัจจุบันที่รายจ่ายวิ่งแซงรายได้ มันเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจหรือความพยายามของเราไม่เพียงพอกันแน่??

ในที่สุดแล้วเราก็ต้องมีเงินออมบางส่วนที่มีสภาพคล่อง (หรือสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว) เพื่อใช้จ่ายในภาวะต่างๆ เช่น ในภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบใช้เงินจากโรคภัยไข้เจ็บหรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด พอถึงช่วงเวลานั้นเราจะรู้ทันทีว่าเงินออมของเรานั้นมีประโยชน์มาก แล้วถ้าเราไม่มีเงินออมไว้สำหรับช่วงเวลาฉุกเฉินจะหาเงินมาจากที่ไหนเพื่อใช้จ่ายได้ทันเวลา

นั่นไง!! กำลังคิดว่าให้ใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดมาใช้ในภาวะฉุกเฉินใช่ไหมจ๊ะ

แม้ว่าบัตรเครดิตจะบอกว่าอำนาจการจ่ายอยู่ในมือเรา มันทำให้เราเข้าใจว่าเราจะจ่ายเท่าไหร่ก็ได้ แต่ความจริงก็คือ อำนาจตรงนั้นก็มาจากเงินในอนาคตของเรานั่นเอง ถ้าปัจจุบันนี้ใช้เงินในอนาคตจนหมดแล้วต่อไปในอนาคตเราจะนำเงินที่ไหนมาใช้ ถ้าเป็นแบบนั้นคงไม่ไหว แล้วเราจะทำงานไปเพื่ออะไรกัน ดังนั้นเราควรให้เวลาตนเองโดยหันกลับมาทบทวนเงินออมของเราตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ใช่เริ่มออมตอนได้รับโบนัส บางครั้งช่วงได้รับโบนัสก็อาจจะออมไม่ได้เพราะคิดว่าทำงานเหนื่อยมาทั้งปีแล้วขอใช้เงินให้สะใจสักหน่อย สุดท้ายโบนัสก็ไม่เหลืออีกเช่นกัน -_-"

เมื่อเรารู้ว่าควรมีเงินออมแล้วมีวิธีการอย่างไรบ้างหละ เราลองมาศึกษาวิธีการเริ่มออมง่าย ไม่ยากเลยว่าควรทำอย่างไรบ้าง

เราได้ไอเดียจากการผ่อนชำระค่าสินค้าหรือบริการของบัตรเครดิตเป็นรายงวด สมมติว่าเราผ่อนมือถือรุ่นใหม่ล่าสุดราคา 30,000 บาทเป็นระยะเวลา 6 เดือน เดือนละ 5,000 บาท ระดับการยอมรับการสูญเสียเงินของแต่ละคนนั้นต่างกัน บางคนชอบการจ่ายทีเดียวจบโดยชำระเงินทั้งหมด 30,000 บาทแล้วได้มือถือมาใช้ แต่บางคนมองว่ามันเหนื่อยและสร้างภาระให้เรามากเกินไป ผ่อนจ่ายเดือนละ 5,000 บาทจะดีกว่า ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยน้อยลงแต่ก็ได้มือถือมาใช้เหมือนกัน

นั่นซิ ทำไมเราไม่ใช้ไอเดียนี้มาเป็นจุดเริ่มต้นการออมเงินของเราหละ ไม่ต้องออมเงินทีเดียวก้อนใหญ่ๆ โดยการรอโบนัสปลายปีแล้วจึงออม แต่ค่อยๆเก็บสะสมไปเรื่อยๆ จึงกลายมาเป็นไอเดียที่ว่า การออมเงินแบบผ่อนจ่าย โดยที่เราสร้างโปรแกรมการออมภาคบังคับให้กับตนเอง ซึ่งวิธีการนี้เราก็นำมาใช้กับตนเองแล้วผลดีมากจึงนำมาแชร์ค่ะ

ในใจของหลายๆคนฝันอยากจะมีเงิน 1 ล้านบาท การสะสมเงินเพื่อให้ตามฝันนั้นมีหลายวิธี อาจจะเป็นเงินที่เราใช้แรงงานหามาหรือให้เงินทำงาน ซึ่งบางคนอาจจะทำอาชีพเสริมหลังจากการทำงานประจำโดยการขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ต ทำธุรกิจส่วนตัว ขายของที่ตลาดนัด ฯลฯ เราขอแสดงความยินดีสำหรับผู้ที่ประสบความสำเร็จโดยเก็บเงินได้ตามที่ต้องการ แต่ก็มีบางส่วนที่ยังไม่สามารถทำได้เพราะใจยังไม่แข็งแรงพอ ความอดทนต่อสิ่งรอบตัวที่ทำให้เราต้องควักเงินซื้อตลอดเวลาไม่ได้  อย่าพึ่งท้อใจไปนะจ๊ะ ทุกอย่างเริ่มต้นใหม่ได้ เพียงเริ่มทำตั้งแต่วันนี้ ความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกลแล้วหละ

บทความนี้จะกล่าวถึงทางเลือกหนึ่งในการสร้างเงินสดสะสมในอนาคตที่บางครั้งเรามองข้ามไป หรือไม่เคยนึกถึงเพียงเพราะมีทัศนคติในแง่ลบ(อันนี้พูดถึงตนเองซึ่งเคยคิดแบบนั้น กว่าจะปรับทัศนคติได้ก็ใช้เวลาเกือบปี) เรามาดูวิธีการออมเงินแบบผ่อนจ่ายกันว่าการสะสมเงินเดือนละ 6,209 บาทแล้วจะมีเงินล้านได้อย่างไร


  • สิ่งแรกที่เราควรทำ คือ ผูกบัญชีเงินเดือนของเรากับบัญชีเพื่อการออมเงิน เช่น การฝากออมทรัพย์ การซื้อกองทุนรวมตราสารหนี้ หรือบัญชีอะไรก็ได้ที่เราฝากแล้วสามารถถอนได้ในอีก 1 ปีข้างหน้าโดยที่มูลค่าไม่ลดลง ซึ่งวิธีนี้เงินจะถูกตัดออกไปอัตโนมัติโดยที่เราไม่เห็นและไม่รู้สึกสูญเสียมากเท่ากับการถอนเงินเพื่อไปฝากเอง ความรู้สึกสูญเสียเงินต่างกันมาก
  • เมื่อเงินเดือนของเราเข้าบัญชีในช่วงสิ้นเดือน ระบบก็จะัตัดเงินจำนวน 6,209 บาทเข้าบัญชีเพื่อการออมอัตโนมัติ พอครบ 1 ปีจะเป็นเงินโดยประมาณ 74,500 บาท (ไม่รวมดอกเบี้ย) 
  • เราถอนเงินจำนวน 74,500 บาทเพื่อชำระกองทุนเงินล้านของเรา
  • ความคุ้มครองชีวิตและได้รับเงินชดเชยในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุ 
  • หากเกิดการสูญเสียเสาหลักในการหารายได้ เงินส่วนสามารถเป็นมรดกเงินสดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินให้แก่ครอบครัว
  • พิเศษยิ่งกว่านั้นที่เงินสะสมที่เราจ่ายไปนั้นทำให้เราประหยัดภาษีได้อีกด้วย

เราลองมาดูวิธีการออมเงินแบบผ่อนจ่ายจากตัวอย่างง่ายๆนี้กันคะ

ตัวอย่าง คุณอภินิหารเงินออม อายุ 30 ปีต้องการออมเงินให้ได้ 1 ล้านบาทและได้รับความคุ้มครองชีวิตในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝันทำให้จากไปก่อนครบสัญญาก็ยังมีเงิน 1 ล้านบาทเป็นมรดกให้แก่บุคคลในครอบครัวใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไป จึงเลือกแบบประกันชีวิตเป็นแบบสะสมทรัพย์ 25 ปี ชำระเบี้ยประกัน 15 ปี(มีเงินปันผล)



  • จากวิธีการออมเงินแบบผ่อนจ่ายเดือนละ 6,209 บาท ทำให้มีเงินออมเพื่อชำระเบี้ย 1 ปีจำนวน 74,500  บาท เพื่อเป้าหมายออมเงิน 1 ล้านบาท โดยทำการออมเงินทั้งสิ้น 15 ปี 
  • ทางเลือการออมเงินแบบนี้ ทุกสิ้นปีจะได้ัรับเงินสดคืน 1% ของทุนประกันคือ 1,000,000 x 1% = 10,000 บาท รวมทั้งหมด 23 ครั้งเป็นเงินทั้งสิ้น 230,000 บาท 
  • ในปีสุดท้ายของสัญญาคือปีที่ 25(คุณอภินิหารเงินออมอายุ 55 ปี) ได้รับเงินคืน 121% ของทุนประกัน คือ 1,000,000 x 121% = 1,210,000 บาท รวมเงินทั้งหมดตลอดระยะเวลาการฝาก 15 ปีและได้รับความคุ้มครองชีวิตในกรณีทุพพลภาพหรืออุบัติเหตุทั้งหมด 25 ปีจะได้รับเงินรวม 1,440,000 บาท 
  • โดยจ่ายเงินสะสมปีละ 74,500  บาท ระยะเวลา 15 ปี เป็นเงิน 1,117,500 บาท สรุปว่าคุณอภินิหารเงินออมได้รับผลตอบแทนมากกว่าการจ่ายเงินสะสม 322,500 บาท (เงินปันผลนั้นจะขึ้นอยู่กับผลตอบแทนของบริษัท)
ระหว่างทางก่อนครบกำหนดชำระ 15 ปีต้องการหยุดชำระเบี้ย เราควรศึกษาให้ดีว่าจะใช้วิธีใดให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด โดยที่จะเปรียบเทียบการหยุดส่งในปีที่ 10 และปี 11 ซึ่งเพียงปีเดียวก็สร้างความแตกต่างได้มากในเงินก้อนสุดท้าย ดังนี้

วิธีที่ 1 คือ การขอเวนคืนกรมธรรม์ ณ สิ้นปีที่ 11 เป็นการหยุดชำระเบี้ยแล้วขอรับเงินคืนทันทีในสิ้นปีที่ 11 โดยวิธีนี้จะทำให้เราเสียประโยชน์เพราะจะได้รับเงินกลับมาน้อยกว่าเงินที่เราสะสม โดยที่เราจ่ายเงินสะสม 819,500 บาท แต่ได้รับเงินสดกลับมาเพียง 715,000 บาท เสียประโยชน์ไป -104,500 บาท ดังนั้นไม่ขอแนะนำให้ใช้วิธีนี้



วิธีที่ 2 คือ การเปลี่ยนกรมธรรม์เป็นใ้ช้เงินสำเร็จหรือเปลี่ยนกรมธรรม์เป็นแบบขยายระยะเวลา ณ สิ้นปีที่ 11 โดยตั้งแต่ปีที่ 12 เราหยุดการชำระเบี้ยประกัน ทั้งนี้เรายังได้รับเงินคืนในปีที่ 25 จำนวน 1 ล้านบาทเช่นเดิมและยังได้รับเงินสดคืนทันที ณ สิ้นปีที่ 11 เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท โดยที่เราจะได้รับประโยชน์จากวิธีนี้เพราะจะได้รับเงินทั้งสิ้น 1,105,000 บาท โดยชำระเบี้ยเพียง 819,500 บาท โดยได้รับผลประโยชน์เกินเบี้ยที่เราจ่าย 285,500 บาท




วิธีที่ 3 คือ การขอเวนคืนกรมธรรม์ ณ สิ้นปีที่ 10 เป็นการหยุดการส่งเงินสะสมแล้วขอรับเงินคืนทันทีในสิ้นปีที่ 10 โดยวิธีนี้จะทำให้เราได้เสียประโยชน์เพราะจะได้รับเงินกลับมาน้อยกว่าเงินที่เราสะสม โดยที่เราจ่ายเงินสะสม 745,00 บาท แต่ได้รับเงินสดกลับมาเพียง 633,000 บาท เสียประโยชน์ไป -112,000 บาท ดังนั้นไม่ขอแนะนำให้ใช้วิธีนี้



วิธีที่ 4 คือ  การเปลี่ยนกรมธรรม์เป็นใ้ช้เงินสำเร็จ ณ สิ้นปีที่ 10 โดยการจ่ายชำระเบี้ยมาแล้ว 10 ปีแล้วหยุดชำระเบี้ยตั้งแต่ปีที่ 11 เป็นต้นไป เราได้รับความคุ้มครองไม่ถึง 1 ล้านบาท โดยที่จะได้รับความคุ้มครอง 923,000 บาทไปตลอดจนถึงปีที่ 25 ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากวิธีนี้เพราะจะได้รับเงินทั้งสิ้น 1,013,000 บาท โดยชำระเบี้ย 745,000 บาท โดยได้รับผลประโยชน์เกินเบี้ยที่เราจ่าย 268,000 บาท



วิธีที่ 5 คือ  การเปลี่ยนกรมธรรม์ขยายระยะเวลา ณ สิ้นปีที่ 10 โดยการจ่ายชำระเบี้ยมาแล้ว 10 ปีแล้วหยุดชำระเบี้ยตั้งแต่ปีที่ 11 เป็นต้นไป เราได้รับความคุ้มครอง 1 ล้านบาท ไปอีก 15 ปี และได้รับเงินก้อนในปีที่ 25 อีกจำนวน 909,000 บาท ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากวิธีนี้เพราะจะได้รับเงินทั้งสิ้น 999,000 บาท โดยชำระเบี้ย 745,000 บาท โดยได้รับผลประโยชน์เกินเบี้ยที่เราจ่าย 254,000 บาท




ไม่มีคำว่าพรุ่งนี้สำหรับการออม
มันมีแต่ เริ่มตอนนี้ และเดี๋ยวนี้เท่านั้น



บทความน่าสนใจ


เปลือกนอกที่หลอกตา
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/12/blog-post.html

ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี 200,000 บาท ตอนที่ 2/2
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/12/200000-22.html

วิธียืมเงินเพื่อนที่ได้เงินชัวร์ๆ
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/11/blog-post_26.html

วิธีค้นหาตัวตนจากการเขียนคำไว้อาลัย
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/11/blog-post_22.html

งดเหล้า เลิกบุหรี่ สุขภาพดีและมีเงินออม 
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/11/blog-post.html

สร้างแรงบันดาลใจเป็นตัวเลข
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post_28.html

ภาพรวมของการวางแผนการเงินส่วนบุคคลมี 5 แผน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/5.html

บทเรียนจากแบบฝึกหัดเขียน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post_6.html

ความสามารถของเรามีมูลค่าเท่าไหร่??
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post.html




2 ความคิดเห็น:

  1. อยากทำได้นะ แต่เดือนหนึ่งเหลือไม่ถึงพัน

    ตอบลบ
  2. อาจจะต้องดูรอยรั่วจากรายจ่ายของเราด้วย
    1. รายจ่ายนั้นจำเป็นหรือไม่ ถ้าอันไหนไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 ก็อาจจะเลื่อนเวลาจ่ายออกไปก่อน
    2. รายจ่ายนั้นก่อให้เกิดรายได้หรือไม่ เช่น หวย การพนัน สูบบุหรี่ กินเหล้า เที่ยวกลางคืน ถ้าเลิกได้จะดีมาก
    3.ดูว่ารายจ่ายทั้งหมดมันจ่ายไปกับอะไรบ้าง เพื่อดูภาพรวมการใช้เงินตนเองหนะค่ะ

    ลองดูนะจ๊ะ

    ตอบลบ