วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

ประกันชีวิตหักลดหย่อนภาษี 200,000 บาท ตอนที่ 1/2




การหักลดหย่อนภาษีนั้นเป็นหนึ่งในการวางแผนภาษี ในแต่ละปีรัฐบาลจะมีนโยบายออกมากระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้การลดหย่อนภาษีเป็นแรงจูงใจ เช่น รถคันแรก บ้านหลังแรก การท่องเที่ยว (ถ้าอยากให้คนไทยมีลูกมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคตก็อาจจะมีนโยบายลูกคนแรกออมมาก็ได้) ทั้งนี้เราต้องคอยติดตามข่าวว่าแต่ละปีมีหักลดหย่อนภาษีอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้ไม่เสียสิทธิ

การซื้อประกันชีวิตเพื่อหักลดหย่อนภาษีนั้นเป็นหนึ่งในนโยบายที่รัฐต้องการกระตุ้นการออมของประชาชนเพื่อให้มีเงินเพียงพอที่จะใช้ตลอดชีวิต โดยที่เป็นภาระของลูกหลานน้อยที่สุด การส่งเสริมการออมที่ได้รับการลดหย่อน เช่น  LTF หรือ RMF หลายๆคนพอรู้เรื่องเงื่อนไขการซื้อ ขายคืนหรือวิธีการหักลดหย่อนกันพอสมควรแล้วจึงไม่ขอกล่าวถึง

ในบทความนี้กล่าวถึงเฉพาะการหักลดหย่อนโดยการซื้อประกันชีวิตซึ่งมี 2 ส่วน คือ
  • ส่วนที่ 1 โดยทั่วไปจะเรียกว่าหนึ่งแสนแรก โดยสามารถหักได้ไม่เกิน 100,000 บาท เป็นประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองเกิน 10 ขึ้นไป (ตัวอย่างอยู่ในบทความ "สร้างเงินล้านได้จากเงินสะสม 6,209 บาท http://pajareep.blogspot.com/2013/09/6209.html ")
  • ส่วนที่ 2 โดยทั่วไปจะเรียกว่าสองแสนหลัง โดยสามารถหักลดหย่อนสูงสุด 200,000 บาทแต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ ต้องเป็นประกันชีวิตที่ระบุว่า "บำนาญ" เท่านั้นถึงจะหักลดหย่อนภาษีได้ โดยส่วนนี้เมื่อรวมกับ RMF , กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ,กบข.,กองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท 
การวางแผนซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อลดหย่อนภาษีนั้นควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ โดยใช้เป้าหมายของผู้ที่ต้องการลดหย่อนเป็นเกณฑ์ว่าต้องการรับเงินบำนาญแบบใด เช่น  อัตราเบี้ยประกันภัย การกำหนดอายุรับเงินบำนาญเองได้ เป็นต้น

บทความเรื่องลดหย่อนภาษีจากการซื้อประกันชีวิตค่อนข้างยาวผู้เขียนจึงแบ่งเป็น 2 บทความ คือ
  1. ประกันชีวิตแบบบำนาญ 60/85 (AIA Annuity 60/85) ตัวอย่างด้านล่าง
  2. ประกันชีวิตแบบบำนาญ สมาร์ท (AIA Annuity Smart@55 , 60 ,65) ในบทความต่อไปตามลิ้งค์ภาพข้างล่าง
ตัวอย่างการวางแผนลดหย่อนภาษีจากการซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ 60/85

คุณอภินิหารเงินออมอายุ 40 ปี ต้องการวางแผนภาษีโดยการซื้อประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษี ซึ่งคุณอภินิหารเงินออมใช้สิทธิการลดหย่อน 100,000 บาทครบแล้ว(ซื้อประกันชีวิตที่มีความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป) จึงอยากจะใช้สิทธิลดหย่อนเพิ่มเติมในส่วนของการซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญที่หักได้สูงสุด 200,000 บาท

รูปที่ 1 ภาพรวมของประกันชีวิตแบบบำนาญ 60/85
คุณอภินิหารเงินออมอายุ 40 ปีต้องการทุนประักัน(ความคุ้มครอง) 1,500,000 บาท โดยที่ต้องจ่ายชำระเบี้ยประกันปีละ 116,250 บาท ซึ่งจะแบ่งคำอธิบายเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงจ่ายเบี้ยประกัน ช่วงรับเงินบำนาญ และสิทธิประโยชน์ทั้งหมดจากการลดหย่อนภาษี

รูปที่ 1

รูปที่ 2 ช่วงจ่ายเบี้ยประกัน(ลดหย่อนภาษี)
ช่วงเวลาชำระเบี้ยประกันปีละ 116,250 บาท ซึ่งจ่ายตั้งแต่อายุ 40 ปี ได้รับความคุ้มครองชีวิต 1,500,000 บาทไปจนตลอดถึงอายุ 50 ปี และความคุ้มครองชีวิตจะสูงขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่อายุ 51 ปี(ตัวเลขสีน้ำเงิน) จนกระทั่งอายุ 59 ปี ความคุ้มครองจะเป็น 3,000,000 บาท โดยเป็นการชำระเบี้ยทั้งสิ้น 20 งวด

รูปที่ 2

รูปที่ 3 ช่วงรับเงินบำนาญ 
หลังจากอายุ 60 ปีซึ่งเป็นช่วงวัยเกษียณจะได้รับเงินสดคืน 10% ของทุนประกันเป็นเงินบำนาญทุกปี ตั้งแต่อายุ 60-85 ปี เป็นจำนวนเงินปีละ 1,500,000 x 10% = 150,000 บาท รวม 26 งวดเป็นเงินทั้งสิ้น 3,900,000 บาท

ถ้าระหว่างที่รอรับเงินบำนาญเกิดเสียชีวิต(ในช่วงอายุตั้งแต่อายุ 60-74 ปี) ก็จะรับประกันเงินบำนาญ 15 ปี เช่น ขณะอายุ 65 ปีเสียชีวิต ผู้เอาประกันจะได้รับเงินสด 2 ส่วน คือ เงินรายงวด + การันตีเงินบำนาญ = 150,000 + 1,224,000 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 1,374,000 บาทเพื่อเป็นมรดกให้กับคนในครอบครัว

รูปที่ 3

รูปที่ 4 สิทธิประโยชน์ทั้งหมดจากการลดหย่อนภาษี
ตารางผลประโยชน์ตั้งแต่อายุ 60-85 ปี สมมติคิดที่อัตราภาษี 20% ซึ่งวิธีคำนวณ ดังนี้

ข้อที่ 1 ได้รับเงินสดคืน 10% ตั้งแต่อายุ 60-85 ปี(บำนาญ) 
==> 150,000 x 26 = 3,900,000 บาท

ข้อที่ 2 รวมรับผลประโยชน์ทางภาษีตั้งแต่อายุ 40-59 ปี รวม 20 งวด (ถ้าจ่ายภาษีในอัตราที่มากขึ้นก็สามารถใช้หลักการเดียวกันคิดได้เช่นกัน) คือ 

จำนวนเบี้ยรายปี x อัตราภาษี = จำนวนเงินที่ประหยัดภาษี

==> ประหยัดภาษีได้ปีละ 116,250 x 20% = 23,250 บาท
==> ประหยัดภาษีได้ทั้งหมด 23,250 x 20 งวด = 465,000 บาท

ข้อที่ 3 รวมรับผลประโยชน์ตลอดสัญญา
==> 3,900,000 + 465,000 = 4,365,000 บาท

ข้อที่ 4 หักเบี้ยประกันสะสม
==> 116,250 x 20 = 2,325,000 บาท

ข้อที่ 5 ส่วนต่างผลตอบแทนที่ได้รับมากกว่าเบี้ยประกัน
==> 4,365,000 - 2,325,000 = 2,040,000 บาท

รูปที่ 4



หนังสือแนะนำก่อนตัดสินใจซื้อประกันชีวิต




บทความน่าสนใจ


ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี 200,000 บาท ตอนที่ 2/2
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/12/200000-22.html

วิธีค้นหาตัวตนจากการเขียนคำไว้อาลัย
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/11/blog-post_22.html

งดเหล้า เลิกบุหรี่ สุขภาพดีและมีเงินออม 
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/11/blog-post.html

สร้างแรงบันดาลใจเป็นตัวเลข
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post_28.html

ภาพรวมของการวางแผนการเงินส่วนบุคคลมี 5 แผน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/5.html

บทเรียนจากแบบฝึกหัดเขียน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post_6.html

ความสามารถของเรามีมูลค่าเท่าไหร่??

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น