วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิธีการเป็นเจ้านายบัตรเครดิต



รู้สึกดีใจนิดๆเมื่อรู้ว่าน้องที่ทำงานที่มีชีวิตลั้นลากับการรูดปรื๊ด ๆ นั้นเลิกการใช้บัตรเครดิตอย่างเด็ดขาด จากแต่ก่อนที่บอกว่าตนเองนั้นมีวินัยทางการเงิน ไม่เป็นหนี้บัตรเครดิตอย่างแน่นอน เราก็เตือนด้วยความหวังดีว่าใช้เท่าที่มี อย่าเอาเงินในอนาคตมาใช้ ถ้าเตือนแล้วไม่ฟังก็ต้องให้ประสบการณ์เป็นเครื่องนำทาง หลังจากเปิดใช้บัตรเครดิตได้ไม่กี่เดือนก็เห็นผล ใช้บัตรกันสนุกสนานสำราญใจ เมื่อใช้แรกๆก็มีวินัยจ่ายตรง ใช้รูดเล็กๆน้อยๆ แต่พอหลังๆเริ่มติดเป็นนิสัย จากเงินต้นก็มีดอกออกผลเรื่อยๆ ในระยะหลังๆมาเริ่มไม่ไหวกับสภาพหนี้ที่เป็นอยู่ โชคดีมากๆที่ทางบ้านสามารถช่วยเหลือได้ น้องเค้าก็เลยสามารถมาชำระหนี้ได้หมด แล้วยกเลิกบัตรเครดิตทันที

ถ้ามองอีกมุมหนึ่งในกรณีที่ทางบ้านไม่สามารถจ่ายหนี้ให้ได้สภาพจะเป็นอย่างไร คงไม่พ้นวิธีหยิบยืมเงินจากคนอื่น หรือไม่ก็เปิดบัตรเครดิตอีกสักสองสามใบ  โดยการโอนหนี้จากบัตรเครดิตที่เก็บอัตราดอกเบี้ยสูงไปที่บัตรที่เก็บอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า แล้วรีบชำระหนี้ เป็นอย่างนี้วนไปเรื่อยๆไม่จบสักที จะจบรอบได้ก็ต่อเมื่อเราหยุดแล้วพอใจกับการใช้เท่าที่หาได้เท่านั้น

เปิดเจอเพลงนี้ฟังแล้วฮาดีเลยเอามาแชร์ มาดูว่าจะเหมือนเรารึเปล่า
ชื่อเพลง โอ้เจ้าหนี้



วิธีการเป็นเจ้านายบัตรเครดิต (อย่าเป็นทาสมันโดยการสร้างหนี้ที่ไม่จำเป็น)

- อย่าเห็นแก่แต้มสะสม

บางคนเคยไปเดินเลือกซื้อของบางครั้งได้รับคำแนะนำจากผู้ขายสินค้าว่า "ซื้อของเพิ่มอีกนิดก็ได้ของแถมแล้ว" เราก็คิดว่าอีกนิดคงไม่เป็นไรแล้วได้ของแถมอีกด้วย แล้วเราก็กลับบ้านมาด้วยสินค้าอีกอย่างนึงที่เกินความจำเป็นและไม่รู้ว่าซื้อมาเพราะอะไร รู้แต่ว่าได้ของแถมก็คุ้มแล้ว (จริงหรอ) โปรโมชั่นสะสมแต้มของบัครเครดิตก็ทำให้เราใช้ของเกินความจำเป็นเหมือนกัน รูดอีกนิดนึงก็จะได้แต้มแลกกล้องถ่ายรูปได้แล้ว ทั้งๆที่ไปซื้อกล้องถ่ายรูปเองราคาถูกกว่า 

จากตัวอย่างคนใกล้ตัวที่ทั้งบ้านมีแต่ของสะสมแลกแต้มจากบัตรเครดิต ไม่ใช่เพราะตั้งใจจะแลกแต้มแต่เป็นเพราะซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิตมาขายโดยนำบัตรเครดิตมาเป็นเงินหมุน เช่น สมมติว่าระยะเวลาการจ่ายยอดหนี้คือ 45 วัน ดังนั้นสินค้าที่เค้าใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าต้องขายให้หมดภายใน 45 วันหรือก่อนครบกำหนดชำระ ถ้าทำได้ก็ไม่ต่างกับการจับเสือมือเปล่า เหมือนเป็นการยืมเงินมาซื้อก่อน พอเราเปลี่ยนสินค้าเป็นเงินแล้วก็นำไปคืน ที่เหลือเป็นกำไร เป็นการซื้อในปริมาณมากๆทำให้มีแต้มสะสมมาก แต่ก็มีความเสี่ยงถ้าไม่สามารถขายของได้ก่อนครบกำหนดชำระอาจจะมีผลต่อเงินที่ต้องไปชำระหนี้ 

แต่วิธีใช้บัตรเครดิตของคนทั่วไปนั้นนำมาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่า ไม่สามารถก่อให้เกิดรายได้ การซื้อของในปริมาณน้อยทำใ้ห้แต้มสะสมน้อย เลยใช้จ่ายเยอะๆเพื่อแลกแต้ม สุดท้ายก็บริโภคเกิดความสามารถในการหารายได้ ไม่พ้นภาวะการก่อนหนี้โดยไม่จำเป็น อย่าเห็นแก่แต้มสะสมเลยค่ะ บอกได้เลยว่ามันไม่คุ้ม 

-อย่าใช้บัตรเครดิตซื้อสินทรัพย์เพื่อการลงทุน

บัตรเครดิตก็คือการกู้ยืมเงินในอนาคตมาใช้ แล้วทำไมเราต้องเอาเงินกู้ยืมมาลงทุนด้วยหละ มันจะคุ้มไหมกับการนำอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนมาชำระหนี้บัตรเครดิต  เพราะการก่อหนี้จากบัตรเครดิตเป็นหนี้ระยะสั้น แต่สินทรัพย์เพื่อการลงทุนเป็นการลงทุนเพื่อความมั่งคั่่งระยะยาว มันไม่ค่อยสมเหตุผลเท่าไหร่ที่จะนำหนี้ระยะสั้นมาลงทุนสร้างผลตอบแทนระยะยาว ลองพิจารณาง่ายๆว่าหนี้ที่ต้องถึงกำหนดชำระอีกไม่กี่วันข้างหน้าแต่ผลตอบแทนจากการลงทุน(เช่น หุ้น กองทุนรวม ทองคำ ฯลฯ) ยังไม่บังเกิดเป็นดอกผลกันเลย แล้วจะนำเงินที่ใดเล่ามาชำระหนี้เจ้า่ค่ะ ควรเลือกเครืื่่องมือให้เหมาะสมกับการลงทุน สมมติว่าคุณอยู่กรุงเทพฯแล้วต้องการเิดินทางไปเที่ยวปาย คุณจะเลือกวิธีการเดินทางแบบใด นั่งเครื่องบิน ขับรถยนต์ เช่ารถ นั่งรถไฟ ขี่มอเตอร์ไซด์ ขี่จักรยาน ฯลฯ วิธีการเดินทางแต่ละแบบก็มีความเสี่ยงแตกต่างกัน ถ้าคุณใช้บัตรเครดิตซื้้อสินทรัพย์เพื่อการลงทุนก็เหมือนกันการขี่มอเตอร์ไซด์ไปเที่ยวปายนั่นเอง ความเสี่ยงจะเกิดขึ้นตลอดการเดินทางแน่นอน

กลยุทธ์ทางการตลาดโดยใช้โปรโมชั่นบัตรเครดิตชำระค่าซื้อกองทุนรวม แล้วได้แต้มสะสมเพื่อแลกของรางวัล บางครั้งอาจจะลดหย่อนภาษี ก็เป็นตัวอย่างของการนำเงินระยะสั้นมาลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาว ไม่ใช่กองทุนรวมทุกกองที่ซื้อโดยใช้บัตรเครดิต บางที่อาจจะเสนอพ่วงกับกองทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนต่ำกว่าก็มี เก็บค่าธรรมเนียมยิบย่อย นักลงทุนต้องพิจารณาเพราะผลตอบแทนของกองทุนรวมแต่ละกองให้อัตราผลตอบแทน ค่าธรรมเนียมแตกต่างกัน 

ถ้าคุณคิดทางเลือกระหว่างลงทุนเองจากกองทุนที่เราศึกษามาอย่างดีกับเลือกซื้อกองทุนที่มีโปรโมชั่นเสริมต่างๆ วิธีการตัดสินใจให้คิดผลลัพธ์ทุกทางเลือกทั้งหมดออกมาเป็นตัวเลข ว่าแต่ละทางเลือกคุณได้อะไร เท่าไหร่และเสียอะไร เท่าไหร่ ไม่มีทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด มีแต่ทางเลือกที่เหมาะสมกับเป้าหมายการลงทุนของคุณมากที่สุดเท่านั้น สุดท้ายแล้วอย่าลืมถามตัวเองด้วยว่าคุณต้องการลงทุนเพราะอะไร เพื่อความมั่งคั่งหรือเพื่อโปรโมชั่น

- ต้องรู้จักตนเอง

บางคนเห็นคนอื่นภาพลักษณ์ดี ใช้ของมีราคา อันนั้นไม่ได้ว่าอะไรถ้าเค้ามีฐานะจริงๆ เพราะเค้าคงไม่เดือดร้อนที่จะจับจ่ายใช้สอย แต่บางคนไม่มีแต่อยากดูดีเนี้ยซิอาจจะเหนื่อยสักหน่อยที่ต้องการสร้างภาพให้ตัวเองดูดี ทั้งที่ข้างในกลวง การให้คนอื่นยอมรับเราที่จิตใจมันยั่งยืนกว่ามองที่เปลือกที่ห่อหุ้มตัวเรา ถ้าคุณคบคนโดยใช้เปลือก สิ่งที่คุณจะได้กลับมาก็เป็นเปลือกเช่นกัน

เราจะต้องรู้ตนเองอยู่เสมอว่าความสามารถก่อหนี้ต่อรายได้เป็นเท่าไหร่ ต้องละเอียดรอบคอบมากขึ้นโดยการจดบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายอยู่เสมอเพื่อตรวจสอบสภาพคล่องของตนเองว่าเพียงพอต่อการก่อหนี้เพิ่มได้หรือไม่ ทุกครั้งที่คุณใช้บัตรก็ต้องเก็บใบเสร็จไว้ตรวจสอบ ต้องจดวันจ่ายและวันชำระหนี้ให้ดีๆ ถ้าจะให้ละเอียดไปกว่านั้นควรจดไว้ด้วยว่าอัตราดอกเบี้ยของแต่ละบัตรเป็นเท่าไหร่ เอาไว้ดูว่าถ้าผิดชำระแล้วจะถูกปรับเท่าไหร่ อย่าบอกว่าทำงานทุกวันไม่ค่อยมีเวลาแล้วคงไม่สามารถจดรายละเอียดขนาดนี้ได้ทุกครั้ง ถ้าคิดจะเป็นหนี้แล้วต้องฝึกจดบันทึกรายจ่ายให้เป็นนิสัยค่ะ มิฉะนั้นแล้วก็ควรหยุดก่อหนี้ที่ไม่จำเป็นมันน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่านะค่ะ



บทความน่าสนใจ

วิธีค้นหาตัวตนจากการเขียนคำไว้อาลัย
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/11/blog-post_22.html

บัตรเครดิตที่เราต้องรู้
 ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/07/blog-post.html

รู้อะไรไม่สู้ "รู้งี้" กับการวางแผนเกษียณ
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/06/blog-post.html

แบ่งเงินออมมาเก็บดอลล่าร์กันดีกว่า
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/03/blog-post_25.html

ทิศทางการตลาดเพื่อดูแนวโน้มหุ้นแห่งอนาคต

บทเรียนในความมืดกับการวางแผนการเงิน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post_24.html

ร่ำรวยจากสิ่งที่มี

การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์สภาพคล่องส่วนบุคคล
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_11.html

ซื้อผ่อนหรือเช่า อันไหนดีกว่ากัน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post.html

หารอยรั่วของเงินจากการจดบันทึก 


วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตลาดหุ้นกับการออมเงิน

ตลาดหุ้นคืออะไร ??

ฉันพึ่งมาทำความรู้จักกับมันเมื่อเกิดซับไพรม์ปี 2008 มันเกิดมาจากการอยากรู้ว่าประเทศไทยมาเกี่ยวข้องอะไรกับวิกฤตที่เราไม่ก่อด้วย ยิ่งอ่านก็ยิ่งสนุก ยิ่งค้นคว้ายิ่งรู้สึกว่าทุนนิยมทำให้เกิดอะไรมากมายขนาดนี้เลยหรอ หลายครั้งที่อ่านเจอว่าบริษัทใหญ่ๆที่มีบุคคลที่เต็มไปด้วยความรู้มากมาย หรืออาจจะมีคนที่เก่งเกินคำบรรยายอยู่รวมกันเต็มไปหมด ก็สามารถทำผิดพลาดได้ไม่ต่างกับคนไม่รู้เรื่องอะไรเลย ดังนั้นถ้าเราเลือกที่จะอยู่ในโลกตลกๆใบนี้ได้ก็เลือกเป็นคนเก่งกลางๆดีกว่า คุณไม่ต้องเก่งมากก็สามารถลงทุนในตลาดหุ้นได้ แค่รู้จักตัวเองก็เพียงพอแล้ว(นั่นแหละประเด็น รู้จักตัวเอง??)





คุณเคยถามตัวเองหรือไม่ว่าเราเข้ามาในตลาดหุ้นเืพื่ออะไร หลายครั้งที่เจอคำตอบว่า

  • เพื่อนแนะนำมาบอกว่าเล่นแล้วได้เงินดี(ลักษณะกล้าๆกลัวๆไม่กล้าตัดสินใจ)
  • เห็นคนอื่นเล่นแล้วได้เงินเร็วดี อยากเ่ล่นบ้าง ไม่ต้องทำงานก็รวยได้(ก็แน่หละถ้าได้เงินมาก็เล่าให้ฟังแต่ถ้าเสียเงินใครเค้าจะเล่าให้เสียฟอร์มหละ)
  • เป็น VI เข้ามาลงทุนเพราะอยากได้เงินปันผล $#@&%฿ (อันนี้หลักการแน่นแต่อย่าถามว่าปฏิบัติเป็นยังไง ให้พอร์ตหุ้นเป็นคำตอบละกัน พอเล่นจริงๆเห็นหุ้นคนอื่นวิ่งแล้วของตัวเองนิ่งๆก็ร้องว่าทำไมหุ้นไม่ขึ้นเลย อ้าว...บอกว่าเป็น VI ไงค่ะ จะตกใจไปทำไมถือยาวได้ไม่ใช่หรอ แล้วเราก็ทำความเข้าใจได้ว่าเค้าเป็น VI  3 วัน) 
  • เข้ามาลงทุนเพราะอยากจะเป็นนักลงทุนในบริษัทนั้นๆจริงๆ 
จากตัวอย่างตำตอบ 2 ข้อแรกแบบนี้อาจจะเข้ามาเสียเงินมากกว่า ต้องมาปรับความคิดกันใหม่ ต้องดับฝันความรวยกันก่อนว่าถ้าคุณคิดว่าเข้ามาในตลาดหุ้นแล้วรวยเลยก็เหมือนเอาเงินที่ปั้นมากับมือไปซื้ออะไรที่ไม่รู้จัก คิดว่าซื้อแล้วก็ขึ้น พอขายก็ได้เงิน แค่นี้เล่นไม่ยากก็ไปเล่นแถวชายแดนก็ได้ไม่ต้องมาที่ตลาดหุ้นให้ลำบากเลย หรือว่าหุ้นที่เค้าบอกมาว่าจะขึ้นเพราะข่าววงในโน้นนี่นั่น แล้วก็ซื้อนั่นแหละ คุณเป็นไม้สุดท้ายให้เค้าเลยหละ แล้วก็มานั่งบ่นว่าไม่น่าเลย รู้งี้.....ต้องมีสตินิดนึงนะค่ะ ถามตัวเองก่อนว่ารู้จักหุ้นตัวนั้นไหม เคยติดตามข่าวบ้างรึเปล่า งบการเงินเป็นยังไง อัตราการเติบโตเป็นอย่างไร ถ้าไม่เคยก็อย่าเลยค่ะ ลองคิดดูอีกแบบก็ได้ว่าถ้าเราจะซื้อรถสักคันก็ยังคิดอยู่ว่าแบรนด์อะไรดี คุณภาพแบบไหน ประกันยังไง อะไหล่หาง่ายรึเปล่า โน้นนี่นั่นเต็มไปหมด คิดสารพัด แต่ทำไมเวลาเราจะซื้อหุ้นที่เค้าบอกมาแล้วเราไม่รู้จักใช้เวลาซื้อไม่ถึง 5 นาที อย่าให้ความโลภเข้ายึดพื้นที่ในสมองจนหมด กลับมานั่งอ่านบทวิเคราะห์ ไปฟังสัมมนาบ่อยๆ ไม่ต้องรีบที่จะลงทุนในสิ่งที่คุณไม่รู้ เติมความรู้ให้จนเต็มจนมั่นใจแล้วค่อยลงทุน ตลาดหุ้นรอนักลงทุนที่มีคุณภาพอยู่ตลอดเวลาค่ะ

จากตัวอย่างคำตอบที่ 3 หลักการเยอะ ถ้าจะให้ปฏิบัติได้จริงต้องไปนั่งวิปัสสนาในวัดก่อนเล่นจริงเพราะต้องไปฝึกใจให้นิ่งมากกว่านี้ อย่าให้ความกลัวหรือข่าวสารครอบงำมากเกินไป เพราะสุดท้ายหลักการที่อ่านมาก็เป็นได้แค่หลักการจริงๆ คิดจะซื้อลงทุนก็ซื้อแล้วไปทำงานซะจะได้ไม่ฟุ้งจนเกินไป เพราะถ้าฟุ้งมากๆ ระบบการลงทุนก็จะเสีย แถมงานจริงที่ทำหาเลี้ยงชีพก็จะเสียงานไปด้วย

จากตัวอย่างคำตอบที่ 4 อันนี้ก็เป็นแนว VI จ๋ามาเลย ตามหลักการเป๊ะๆ เลือกซื้อหุ้นแล้วถือรอปันผล ปรับพอร์ตบ้างตามกลยุทธ์การลงทุนที่วางไว้ แบบนี้เล่นไม่ยากซื้อแล้วถือยาวมันแจ่มเสมอ เราชอบวิธีนี้ที่สุด เพราะเป็นการออมเงินในหุ้น เลือกตัวที่ปันผลสูงๆ ลงทุนในธุรกิจที่เราเข้าใจ วิธีการออมอาจจะเป็นการทะยอยซื้อหุ้นตัวเดียวกันทุกเดือนๆในปริมาณเงินที่เท่ากัน หรือที่เราเรียกว่า Dollar Costing Average  จากสถิติแล้วผลตอบแทนระยะยาวของตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนดีกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ แต่ก็ไม่ควรลงทุนในตลาดหุ้นมากเกินไปเพราะจะมีความเสี่ยงมากเกินไป ควรจัดสัดส่วนการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ให้เหมาะกับช่วงอายุและเป้าหมายการเงินของแต่ละบุคคลด้วย

หลักการแบบต่างๆที่ถูกนำมาเป็นแบบอย่างเช่น แบบ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ,วอร์เรน บัฟเฟตต์ ฯลฯ ซึ่งหลักการแต่ละแบบที่เราศึกษาก็ต้องมาปรับใช้ให้เหมาะกับตัวเอง อย่าน้อยเราก็มีแนวทางในการลงทุนเพื่อต่อยอดให้มีกลยุทธ์การลงทุนอื่นๆอีกตามมา



"ตลาดหุ้นก็เหมือนคนซึ่งมีหลายแง่มุม เพียงแต่ว่าเราจะเลือกมองที่มุมไหนเท่านั้นเอง"


บทความน่าสนใจ

ทิศทางการตลาดเพื่อดูแนวโน้มหุ้นแห่งอนาคต

บัตรเครติต & ตลาดหุ้น...หลักการกับปฎิบัติมันไม่เหมือนกัน

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เราจะเริ่มออมเงินเมื่อไหร่กันดี





เราจะเริ่มออมเงินกันตอนไหนดีน๊า วันนี้ พรุ่งนี้ เดือนนี้ ปีนี้......

ถ้าเราเริ่มต้นด้วยคำถามนี้ก็จะมีคำตอบเหล่านี้ " ฉันอยากจะออมเงินเหมือนกันแหละ แต่........"

.....ตอนนี้คงยังไม่ได้หรอกเพราะเดือนนี้ยังผ่อนบัตรเครดิตไม่พอเลย

.....ค่าบ้าน ค่ารถยนต์ก็ยังผ่อนไม่หมด

.....ไอโฟนออกใหม่น่าสนใจนะ ต้องเกาะกระแสสักหน่อย เดี๋ยวเค้าจะว่าเราไม่อิน

.....ค่าใช้จ่ายไปทำงานทุกวันยังไม่ค่อยพอเลย

แต่ แต่ แต่..........แต่เยอะมากไม่รู้จะเยอะไปไหนเพื่อเหตุผลการไม่ออมเงิน

ถ้าเราลองปรับแนวคิดเรื่องการออมโดยลองนึกถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในชีวิต

ตั้งคำถามขึ้นมาแล้วลองหาคำตอบว่าเราจะป้องกันอย่างไร ถ้าเหตุการณ์นั้นๆเกิดขึ้นจริงๆ

บางคนถือคติว่า "อะไรจะเิกิดมันก็ต้องเกิด จะรีบคิดไปทำไมให้เหนื่อย ทำวันนี้ให้ดีที่สุดดีกว่า"

เป็นความคิดที่ดีนะค่ะ แต่ก็คงเหมาะกับบางสถานการณ์ที่เราไม่สามารถควบคุมได้มากกว่าค่ะ

เพราะถ้าเรารู้ว่าสิ่งไม่ดีกำลังจะเกิดแล้วเราไม่หาทางป้องกันไว้บ้างก็จบไม่สวย

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวอย่างเหตุการณ์

คำถาม     ถ้าบริษัทที่เราทำงานอยู่ประสบภาวะขาดทุนแล้วต้องลดจำนวนพนักงาน
                ซึ่งหนึ่งในนั้นมีคุณอยู่ด้วย คุณจะจัดการชีวิตของคุณอย่างไร??

คำตอบ    ก. สมัครงานใหม่ ส่วนเงินที่จะต้องใช้จ่ายก็คงต้องขายกองทุนรวมที่ซื้อไว้เมื่อปีที่แล้ว
                    ออกมาก่อนระหว่างรองานใหม่ น่าจะพอใช้จ่ายได้ประมาณ 3 เดือน
         
                ข. สมัครงานใหม่ ส่วนเงินที่ใช้จ่ายประจำวันจะหามาจากไหนดีหละ เพราะเงินที่ใช้ทุกวันนี้
                    ก็เอาเงินเดือนๆหน้ามาใช้หมดละ

                ค.เอาเงินที่ได้จากการให้ออกจากงานมาทำธุรกิจส่วนตัว ว่าแต่จะทำธุรกิจอะไรดีหละ??
                 
-----------------------------------------------------------------------------------------------------


ลองใช้คำว่า "ถ้า......." เป็นคำถามแล้วหาคำตอบ เช่น

- ถ้าคนสร้างรายได้หลักของครอบครัวประสบอุบัติเหตุพิการทำงานไม่ได้แล้วเราจะทำอย่างไร

-ถ้าคนในบ้านประสบกับโรคร้ายแรงที่ต้องใช้ค่ารักษาพยาบาลมากๆเราจะทำอย่างไร

-ถ้าเราอายุมากขึ้นแล้วทำงานไม่ไหวจะนำเงินจากที่ไหนมาใช้จ่ายในครอบครัว

-ถ้าเราต้องการให้ลูกหลานมีอยู่มีกินอย่างสบายจะต้องเตรียมมรดกไว้เท่าไหร่

-ถ้า.....................


จากตัวอย่างนี้สามารถเขียนคำตอบของทางเลือกนี้ได้เยอะมาก  ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องหรอกค่ะ

มีแต่คำตอบที่เราเลือกให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆมากกว่า เพียงแต่อย่าให้การแก้ปัญหา

ของเราไปสร้างปัญหาใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมขึ้นมา ไม่อย่างนั้นเราคงจะต้องมีอะไรตื่นเต้นอื่นๆตามมา




เมื่อหลายปีก่อนรายการเจาะใจทางช่อง 5 ได้ทดลองให้ดารามาทำกิจกรรมหลายๆ อย่าง

ก็เป็น Reality ที่ทำให้เรารู้ถึงความยากลำบากในแง่มุมที่เราไม่เคยรู้  หนึ่งในเทปที่ชอบ คือ คุณอุ้ม

โดยให้คุณอุ้ม(สิริยากร) ใช้ชีวิตเป็นคนตาบอด 7 วัน หลังจากนั้นก็ได้อะไรหลายๆอย่างตามมา

ความยากลำบากตอบสนองคนได้ทั้งในด้านบวกและด้านลบ เพียงแต่ว่าเราจะเลือกใช้ด้านไหน

ประสบการณ์ทำให้เกิดการจดจำ ถ้าอยากรู้ว่าหลังจากตาบอดแล้วเป็นอย่างไร วีดีโอคือคำตอบค่ะ






เราอาจจะเคยอ่านชีวิตของเศรษฐีบางคนที่แต่ก่อนประสบกับความยากลำบากในชีวิต

เค้าก็ขยันทำงาน เก็บออมเงินเพื่ออนาคต เพราะเค้ารู้ว่าช่วงเวลาเลวร้ายที่สุดเป็นอย่างไร

หรือว่าเราอาจจะเคยอ่านเจอชีวิตคนเคยรวยว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้ประสบสภาวะยากลำบากเช่นนี้

ชีวิตของคนเราลอกเลียนแบบกันไม่ได้แต่เราสามารถออกแบบชีวิตของเราเองได้

คงไม่ต้องให้ใบเร่งรัดหนี้สินมาเป็นตัวดึงคุณขึ้นมาจากการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยเกินฐานะ

แต่ถ้าถึงตอนนั้นก็อาจจะได้รับประสบการณ์ที่ดีที่จะทำให้รู้ว่าสิ่งของอะไรบ้างที่เกินความจำเป็น


ตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับที่เราเลือกแล้วหละว่าจะเริ่มออมเงินตอนไหน หนึ่งในวิธีที่แนะนำรุ่นน้อง

แล้วใช้ได้ผล คือ ผูกบัญชีเงินเดือนกับโปรแกรมการออมรายเดือนอะไรก็ได้ (มีออกมาเยอะมากๆ)

เงินเดือนออกก็ออมเลย ทำให้เรารู้ว่าเหลือเงินใช้เท่าไหร่ ไม่อย่างนั้นมีเท่าไหร่ก็ใช้หมด


วิธีที่สอง คือ สำหรับคนที่ลงทุนใน TFEX ถ้าสามารถลงทุนแล้วได้กำไรมากขึ้นก็จะเปิดสถานะ

มากขึ้น ความมั่นใจก็จะมากขึ้น ณ จุดนั้นการลงทุนของคุณเริ่มมีความเสี่ยงแล้วหละ

ขอแนะนำวิธีที่เพิ่มเงินออมจาก TFEX โดยการถอนกำไรออกมาจากบัญชีมาทำอย่างอื่นบ้าง

เช่น เริ่มต้นลงทุน 200,000 บาท ลงทุนใน SET 50 INDEX FUTURE ตั้งกฎไว้ว่าถ้าได้ถึง 50,000

บาทแล้วจะถอนเงินออก ดังนั้นถ้าสามารถทำกำไรเป็น 250,000 บาทก็ถอนเงินออกให้เหลือ

200,000 บาทเท่าเดิม เงินที่ถอนออกไปก็เอาไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นหรือไปใช้จ่ายเป็นรางวัล

ให้แก่ต้วเองก็ได้ค่ะ ลองคิดในทางกลับกันนะค่ะ ถ้าเงิน 200,000 บาท Open Long 4 สัญญา

หุ้นขึ้นก็จะได้กำไรไปเรื่อยๆจนกระทั่งได้กำไรไปถึง 250,000 บาท ความมั่นใจของเราก็มากขึ้น

เพราะคิดว่ามาถูกทางแล้วก็ Open Long  1 สัญญา รวมเป็น 5 สัญญา ระหว่างนั้นก็นั่งชิวๆดื่มกาแฟ

รอดูผลกำไรอย่างใจเย็น บังเอิญช่วงบ่ายเกิดสึนามิที่ญี่ปุ่น ส่งผลให้ตลาดหุ้นลงอย่างแรง

จนปิดสถานะแทบไม่ทัน เหลือรอดกลับมาแสนนิดๆ ณ จุดนี้ เงินที่คุณสร้างขึ้นมาก็ลดลง

ความมั่นใจเกินไปก็คือ ความเสี่ยงนะค่ะ

นักลงทุนบางท่านก็มีวิธีที่น่าสนใจ คือ ถอนเงินออกทุกครั้งที่สามารถทำกำไรได้ หรือถ้าผิดทาง

ก็หยุดออกมาดูตลาดก่อนที่จะเริ่มต้นใหม่


บทความน่าสนใจ

มีเงิน 5 หมื่นออมอะไรดี
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/07/5.html

ทิศทางการตลาดเพื่อดูแนวโน้มหุ้นแห่งอนาคต

บทเรียนในความมืดกับการวางแผนการเงิน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post_24.html

ร่ำรวยจากสิ่งที่มี

การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์หนี้สิน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_28.html

การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์สภาพคล่องส่วนบุคคล
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_11.html

เริ่มวางแผนเกษียณตอนนี้จะได้ไม่เหนื่อยมาก
==> http://pajareep.blogspot.com/2012/09/blog-post_30.html














                                                                

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Shopping อย่างไรไม่กระทบเงินออม??




ในความเป็นจริงแล้ว Shopping ก็มีมุมดีๆให้มองเหมือนกัน แต่ต้องอยู่ภายใต้สมมติฐานว่า "มีสติ" นะค่ะ

หรืออาจจะใช้คำว่า "เสียเงินอย่างมีสติ" ก็ได้ค่ะ โดยมีวิธีการคิดดังนี้

          1. ใช้ของจนเบื่อแล้วค่อยขาย ได้กำไรถึงสองต่อ

              การซื้อของใช้ส่วนตัวแต่ละอย่างก็เหมือนการลงทุน ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า 

เครื่องประดับ ฯลฯ ลองมาดูซิว่าแต่ละสัปดาห์คุณซื้อของเหล่านี้บ่อยแค่ไหน บางคนเดินเล่นในตลาด

นัดแถวที่ทำงานขำๆ ไม่คิดจะซื้ออะไร แต่พอเดินผ่านเห็นป้ายลดราคาก็ซื้อสักหน่อย 

ราคาก็ไม่ได้แพงด้วยซิ ก็เลยจัดสักนิดนึง ซื้อไปซื้อมาก็ได้สัปดาห์ละ 1-2 ชุดเหมือนกัน 

บางครั้งซื้อเสร็จแล้วก็มาบ่นกับตัวเองว่า เราซื้อไปทำไมกันทั้งที่ยังไม่มีเงินจ่ายค่าบัตรเครดิต ^_^!!

พอซื้อแล้วก็นำมาใส่ 1-2 ครั้งก็เบื่อละ จากนั้นก็เก็บเข้ากรุรอการบริจาค 

ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปรับรองเงินเดือนมิเหลือเป็นแน่แท้ (*_*)

ดังนั้นเราต้องปฏิวัติวิธีการซื้อของใช้กันสักหน่อยละ โดยการคิดว่าของที่เราตั้งใจจะซื้อนั้น

ขายเป็นสินค้ามือสองได้ราคาเท่าไหร่หรือถ้านำมาขายต่อแล้วขาดทุนน้อยที่สุด 

เราต้องคิดล่วงหน้าก่อนที่จะซื้อของนั้นๆ ซึ่งอินเตอร์เน็ตช่วยคุณได้

เราสามารถติดตามราคาสินค้ามือสองว่าราคาเท่าไหร่ บางครั้งมือหนึ่งกับสองก็ต่างกันเล็กน้อย

เราอาจจะได้ประหยัดโดยการใช้ของมือสองแทน หรือของบางอย่างจะมีมูลค่ามากขึ้น

แม้ว่าจะเป็นของมือสองก็ตาม 

          2. แลกของกันใช้ ใช้ของให้หมด

              เพื่อนที่ทำงานรักสวยรักงามกันมาก โดยเฉพาะยาทาเล็บซื้อกันเข้าไป ก็มีอยู่แค่ 20 นิ้ว

ขวดนึงใช้กันไม่ถึงครึ่งก็เลิกใช้ละ ถ้าเอายาทาเล็บมากองรวมกันน่าจะกินฟูจิอิ่มไปหลายมื้อแล้วหละ

เข้าทำนองว่า "ไม่มีกินไม่ว่าแต่ฉันขอสวยไว้ก่อน" มันก็เป็นความสุขส่วนตัวอะนะ จะว่ากันไม่ได้

เครื่องสำอางบางอย่างซื้อมาแล้วควรใช้ให้หมดทีละอย่าง ใช้หมดแล้วค่อยซื้อใหม่ จะได้ประหยัดเงิน

ถ้าอยากรู้ว่าคุณเสียเงินไปเท่าไหร่กับของใหม่ที่ใช้ไม่เคยหมดก็ลองเอามากองรวมกันแล้วบวก

ราคาของแต่ละชิ้นรวมกันก็จะรู้ว่า เงินออมเราหายไปอยู่กับของแบบนี้เท่าไหร่ ถ้าเราใช้หมดทีละอย่าง

ก็จะรู้ว่าเราประหยัดเงินไปได้เท่าไหร่ หรือของบางอย่างสามารถแลกกันใช้ได้ก็น่าจะดี เช่น  กระเป๋า 

รองเท้า เสื้อผ้า เครื่องประดับ ฯลฯ เคยไหมว่าไปงานแต่งงานแต่ละครั้งก็ต้องซื้อเครื่องแต่งตัวใหม่

แก้ปัญหาไม่ยากถ้าเรามีเพื่อนรูปร่างพอๆกันก็สามารถแลกเสื้อผ้ากันใส่ได้ หรืออาจจะใช้วิธีการเช่าุชุด

ตามหน้าเว็ปไซด์มีเสื้อผ้าใส่ออกงานให้เลือกมากมาย

          3. ซื้อของตามรายการที่จดเท่านั้น

              การสร้างวินัยการออมจากการวางแผนรายจ่ายและทำตามอย่างเคร่งครัดจะทำให้เราไม่

ไขว้เขวในขณะที่เราเดินเืลือกซื้อของ เช่น ถ้าเราต้องการซื้อชุดทำงานก็ต้องตั้งงบประมาณว่าเท่าไหร่

เมื่อไปถึงห้างสรรพสินค้าแล้วควรเดินไปเฉพาะส่วนที่เราจะซื้อทันที เมื่อซื้อของครบแล้วตามงบที่ตั้ง

ก็ให้รีบกลับบ้าน เพียงแค่นี้ป้ายลดราคารอบตัวก็ไม่สามารถทำอะไรคุณได้ 

           4. อย่าตัดสินใจซื้อของในทันที

               ในกรณีที่บางคนไม่สามารถระงับอารมณ์ในการซื้อของลดราคาได้นั้น ก็มีวิธีระงับความอยาก

โดยการเดินดูสินค้าหลายๆร้าน สมมติว่าคุณเห็นสินค้าลดราคา 50% ในครั้งแรกก็อาจจะเกิดเป็นแรง

ซื้อได้ทันที ลองเดินดูสักแป๊บแล้วเดินออก จากนั้นไปเดินดูร้านอื่นๆ ดูสินค้าอย่างอื่นไปเรื่อยๆ

ลองดูสักชั่วโมงนึงว่าคุณยังคิดถึงสินค้าลดราคานั้นๆอยู่หรือไม่ ถ้าคุณลืมมันไปแล้วแสดงว่า

คุณใช้อารมณ์ในการซื้อแล้วหละ และโชคดีมากที่คุณไม่ได้ซื้อเพราะถ้าซื้อแล้วอาจจะมานั่งเสียใจ

ทีหลัง  แต่ถ้าคุณยังคิดถึงมันตลอดเวลาแล้วไตร่ตรองดีแล้วว่ามันคุ้มที่จะซื้อ คุณก็จงเดินกลับไปซื้อ

เพราะการซื้อของในครั้งนี้ได้ผ่านการคิดทบทวนมาอย่างดีแล้ว


" การทำูธุรกิจจะได้กำไรมากขึ้นก็ต้อง เพิ่มราคาสินค้าหรือลดต้นทุนการผลิต

ก็เหมือนกับความมั่งคั่งส่วนตัวเรา ถ้าจะมีเงินมากขึ้นก็จะต้องเพิ่มรายได้หรือลดรายจ่าย

ถ้าทำได้อนาคตจะสดใสในวัยเกษียณ "





วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เครียด...ช้อป....เป็นหนี้ (@_@)!!

เริ่มรู้สึกไหมค่ะว่าช่วงนี้มีแต่สินค้าลดราคา ยิ่ง 50-70% ก็ทำให้ต่อมอยากได้พุ่งปรี๊ดๆ

แน่นอนว่าสินค้าลดราคาเป็นช่วงที่ดีที่ทำให้เราได้ซื้อของราคาถูก แต่ก็ต้องตัดสินใจก่อนว่า

ราคาถูกและจำเป็นต่อเรามากแค่ไหน การที่เราตั้งใจไปซื้อกับไปเดินแก้เครียดนั้นส่วนของอารมณ์

ที่ใช้ในการซื้อของนั้นแตกต่างกันมาก ถ้าเราตั้งใจไปซื้อก็จะได้ของที่เราต้องการจริงๆกลับมา

แต่ถ้าเราไปเดินดูของถูกแก้เครียดแล้วจับจ่ายอย่างสนุกสนาน อารมณ์ดีตอนได้ซื้อ แต่คงต้องหงุดหงิด

กับรายจ่ายที่ตามมาแน่นอน สุดท้ายแล้วเราจะได้ของอะไรก็ไม่รู้กลับมา แบกถุงเต็มไม้เต็มมือไปหมด

บางอย่างก็คิดว่าเราซื้อมาทำไมกัน หรือว่าไม่คิดจะซื้อแค่ไปเดินขำๆ แต่ก็เสียเงินแบบไม่ขำ 

ทุกคนมีความอยากได้เหมือนกัน เพีียงแต่เราจะบำบัดยังไงเพื่อให้ต่อมนี้หยุดหลั่งสารเสียเงินออกมา 

ทางออกแบบกำปั้นทุบดินในยามที่เราเริ่มรู้ตัวว่าอยากจ่ายเงินแก้เครียดก็คือ อย่าไปเดินซื้อของ

ให้ไปหากิจกรรมอย่างอื่นทำ อยากจะยกเคสของคนรอบตัวมาเขียน เป็นตัวอย่างขำๆ 

ที่ตอนนี้ชักไม่ขำกับสภาพคล่องทางการเงินซะแ้ล้วซิ


ตัวอย่างที่ 1 จะให้ชื่อเรื่องว่า "อกหักซ้ำซาก"

เพื่อนคนนี้กำลังเลิกกับแฟนที่คบกันมาได้ 8 ปี ตอนนี้อยู่ในระยะทำใจ อยากจะให้เวลามันผ่านไปเร็วๆ

โดยการใช้เวลาทำกิจกรรมอะไรก็ได้ที่จะไม่ต้องคิดถึง วิธีการบำบัดคือ การไปเที่ยวตามที่ต่างๆ

ขับรถไปต่างจังหวัด(เสียต่างน้ำมันวิ่งต่างจังหวัดเป็นเกือบหมื่นบาท ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่ติดแก๊ส)

นัดสังสรรค์กับเืพื่อนบ้าง ซื้อของบ้าง น่าจะมีอีกเยอะแต่มันคงเล่าไม่หมด แต่ตัวอย่างกิจกรรม

เพื่อลืมเธอแต่ละอย่างล้วนทำให้เสียเงินโดยไม่จำเป็นจริงๆ เพราะนอกจากอกหักเสียสุขภาพจิต

แล้วยังต้องจ่ายเงินให้เสียสุขภาพการออมเงินอีกด้วย อย่างนี้ไม่เรียกว่าอกหักซ้ำซากก็ไม่ได้แล้วหละ

เพื่อนก็โทรมาถามว่าทำยังไงดี อยากจะลืมแต่ทำยังไงก็ไม่ลืม เราก็บอกว่าถ้าทำกิจกรรมเืพื่อตัวเอง

แล้วลืมไม่ได้ก็ลองหันมาทำกิจกรรมเพื่อคนอื่นดูบ้าง เปลี่ยนช่วงเวลาความเสียใจ

เป็นการช่วยเหลือคนอื่น ก็อาจจะทำให้ช่วงเวลานั้นเป็นความทรงจำดีๆขึ้นมาได้

และสุดท้ายไม่กระทบเงินออมของเราอีกด้วย เช่น 
  • ไปนั่งวิปัสสนา ไม่ต้องไปที่เคร่งครัดมากก็ได้เพราะจะทำให้เครียดไปกันใหญ่ อาจจะเริ่มจากวัดที่เราคุ้นเคยก็ได้ เพื่อไปสงบจิตใจ บางครั้งอาจจะเห็นทางสว่าง บวชไม่สึกเลยก็ได
  • ไปสถานสงเคราะห์ บ้านคนชรา เด็กพิการ บ้านคนตาบอด ฯลฯ ลองใช้เวลาดับจิตใจที่ฟุ้งซ่านไปทำจิตอาสาอาจจะไปอ่านหนังสือให้ฟัง ป้อนข้าวป้อนน้ำ กิจกรรมมีทำเยอะมากมาย ทำไปทำมาเราอาจจะคิดได้ว่าทำไมเวลามันผ่านไปเร็วจัง แล้วเราจะรู้ว่าเวลาไร้ค่าของเรามีค่ากับคนด้อยโอกาสมาแค่ไหน
  • ทำกิจกรรมระดมเงินบริจาคเพื่อผู้ยากไร้ หรือสัตว์ที่ถูกทำร้าย

"วิธีการบำบัดความเสียใจของแต่ละคนแตกต่างกัน 

แต่อย่าให้ผลของการแก้ปัญหานั้นสร้างปัญหาใหม่

เพราะปัญหาใหม่มักจะใหญ่กว่าเดิม"


ตัวอย่างที่ 2 จะให้ชื่อเรื่องว่า "ตักเตือนไปก็เท่านั้น มีประสบการณ์มันส์กว่าเยอะ"

เราชอบบอกคนรอบข้างว่า "เก็บเงินไว้บ้างนะ เงินเดือนออกอย่าใช้หมด ออมเงินก่อนค่อยเอามาใช้

ซื้อของใช้เท่าที่ทำเป็น ถ้าใครมีนิสัยฟุ่มเฟือยควรใช้เงินสดซื้อของดีกว่าบัตรเครดิตเพราะจะได้รู้ว่า

เราใช้จ่ายเงินไปเท่าไหร่แล้ว เพิ่งเริ่มงานก็ควรเริ่มเก็บเงินไว้ตอนเกษียณได้แล้ว ......." 

บางครั้งความหวังดีของเราก็กลายเป็นการสร้างความรำคาญให้คนอื่นได้เหมือนกัน ( * _* )!!

ดังนั้น เราควรเป็นคนหวังดีแต่พอดี พูดกล่าวตักเตือนแค่ 2 ครั้งก็น่าจะเพียงพอแล้ว ทำไมต้อง 2 ครั้ง

ครั้งแรกเป็นการบอกกล่าวว่าสิ่งที่ทำมันจะส่งผลเสียอย่างไร คนฟังก็อาจจะรับฟังแต่จะทำตามหรือไม่

ก็เป็นอีกเรื่องนึง แต่ถ้าทำเหมือนเดิมซ้ำอีกครั้งก็อาจจะเตือนครั้งที่สองเืพื่อเตือนความทรงจำ

เพราะอาจจะแค่ลืมไปเท่านั้น พฤติกรรมของมนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ว่าควรแก้ปัญหาอย่างไร

และถ้าบังเอิญการเีรียนรู้ไม่บังเกิดก็อาจจะทำพฤติกรรมเดิมๆซ้ำอีกครั้งก็จงปล่อยให้เค้าเผชิญ

ชะตากรรมจากผลของการกระทำนั้นเพื่อให้ประสบการณ์เป็นตัวสร้างควาำมจำให้ดีกว่า

เราอาจจะเตือนคนๆนึงให้ระวังเรื่องการใ้ช้เงินว่าอย่าซื้อของไม่จำเป็นมากเกินไปเพราะมันเกิน

ความสามารถในการหารายได้ของเรา และอย่าใช้บัตรเครดิตเพราะเราจะควบคุมการใช้จ่ายไม่ได้

จะมารู้ตัวอีกทีเราใช้เงินเดือนล่วงหน้ามาแล้ว 3 เดือน คำเตือนก็เหมือนลมผ่านหูก็ต้องให้เค้าฝันดีถึง

ยอดหนี้บัตรเครดิตแทนละกัน ถ้าสติกลับมาเร็วก็อาจจะรู้ตัวว่าต้องยกเลิกบัตร แล้วหาทางชำระหนี้

ให้เร็วที่สุดเพื่อที่ดอกเบี้ยไม่วิ่งทะลุเงินต้นไปซะก่อน เราเป็นหนี้ก็สามารถออมได้เหมือนกัน

ก็ต้องฝึกนิสัยข่มความฟุ่มเฟือยของตัวเอง อาจจะคิดวิธีส่วนตัวขึ้นมา เช่น ถ้าเป็นหนี้........บาท

ก็ต้องเก็บเงินออมไว้ 50% ของยอดหนี้ ซึ่งอาจจะเก็บไว้อีกส่วนหนึ่งกันไว้ว่าบางครั้งเราอาจจะประสบ

ปัญหาทางการเงินไม่สามารถชำระหนี้ได้ก็นำเงินส่วนที่กันไว้ก็มาชำระแทนได้ จะได้ไม่ผิดชำระหนี้

เครดิตของเราจะได้ไม่เสีย เพราะคำว่า "เครดิต"ในทางการเงินมีความสำคัญมากเป็นความน่าเชื่อถือ

ในการทำธุรกรรมต่างๆ ถ้าเกิดคุณทำงานใหม่ๆแล้วมีหนี้สินจนติดแบ็คลิสต์ ช่วงอายุที่เหลือของคุณ

จะทำอย่างไร ถ้าคุณต้องการกู้เงินมาทำธุรกิจส่วนตัว กู้เงินมาซื้อบ้าน กู้เงินมาซื้อรถ ฯลฯ

การกู้เงินต่างๆก็จะยากขึ้น เพราะคุณมีประวัติทางด้านความน่าเชื่อถือ เจ้าหนี้ก็ต้องคิดดอกเบี้ยแพง

เพราะกลัวคุณผิดนัดชำระ หรือถ้าทำธุรกิจส่วนตัวก็อาจจะทำให้ลูกค้าสงสัยในตัวเจ้าของกิจการ

ในทางกลับกันถ้าคุณมีเครดิตดีชำระหนี้ตรงเวลาไม่เคยผิดนัดชำระเจ้าหนี้ก็อาจจะให้กู้เงินมากกว่าเดิม

กิจการของคุณก็อาจจะสร้างหนี้เพื่อก่อให้เกิดรายได้มากขึ้น 


จากเรื่องสามก๊กตอนที่ขงเบ้งตีดพินเพื่อลวงกองทัพสุมาอี้ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของเรื่องเครดิต

แน่หละถ้าต่อสู้ด้วยทหารที่มีอยู่ในเมืองตอนนั้น ต้านทานกองทัพสุมาอี้ไม่ได้แน่นอน 

สู้ทำตัวชิวๆดีดพิณเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็ทำให้กองทัพสุมาอี้กลัวว่าเป็นอุบายก็ยกทัพกลับ

เพราะแบรนด์ชื่อขงเบ้งนั้นเก่งเรื่องอุบาย สุดท้ายก็ไม่เสียไพร่พลเลย ถ้าเครดิตไม่ดีก็ทำไม่ได้



หมายเหตุ : ก่อนจะจ่ายเงินซื้ออะไรก็ต้องมาดูก่อนว่าเราควรมีหนี้ส่วนตัวเท่าไหร่ เพื่อที่ว่าจะได้

ซื้อของอย่างสบายใจ คำนวณตามลิ้งค์นี้ค่ะ http://pajareep.blogspot.com/2012/05/blog-post_21.html