วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ความเสี่ยงที่ผู้ขับรถต้องรู้




อะไรบ้างที่เรียกว่า "ความเสี่ยง" ของการขับรถ


ภาพความเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจากสาเหตุต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งนั้นสร้างความสูญเสียไม่น้อยเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเกิดกับตัวคนขับรถหรือผู้ที่โดยสารมาด้วยซึ่งอาจจะพิการจนถึงขั้นเสียชีวิต ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนทั้งสิ้น แม้ว่าเราคิดว่าตนเองขับรถปลอดภัย ไม่ประมาทแต่ก็อาจจะประสบอุบัติเหตุได้จากรถคันข้างๆที่ขับแบบไม่ระมัดระวังก็ได้

จากสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนในปี 2554 นั้นเป็นสิ่งที่พวกเราท่องจำขึ้นใจว่าสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุนั้นเกิดจากอะไรบ้าง แต่สุดท้ายมันก็ยังเกิดขึ้นอยู่ดี ซึ่งบางอย่างเราสามารถควบคุมได้จากพฤติกรรมการขับรถของตนเองแต่บางอย่างเราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น มารยาทการขับของรถยนต์ข้างเคียง สภาพอากาศ สภาพถนน สภาพการจราจรฯลฯ

ที่มา : www.bsnnews.com

ทุกอย่างล้วนเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในชีวิตและทรัพย์สินของเรา ขึ้นอยู่กับตัวเราแล้วหละว่าจะมีการวางแผนสร้างความปลอดภัยในชีวิตอย่างไร ซึ่งวิธีจัดการความเสี่ยงนั้นจะมี 2 รูปแบบ คือ
  1. ยอมรับความเสี่ยงไว้เอง คือ สมมติหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นจริงก็ต้องมาดูว่าความเสียหายส่วนนี้ พรบ.รถยนต์(ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ) คุ้มครองหรือไม่ ถ้าคุ้มครองก็รอดตัวไป แต่ถ้าไม่คุ้มครองเราก็จะต้องจ่ายค่าเสียหายทั้งหมด คราวนี้ก็อาจจะต้องมาลุ้นกันว่าเท่าไหร่ เรามีเงินเพียงพอที่จะจ่ายหรือไม่ 
  2. โอนความเสี่ยง คือ การโอนความเสี่ยงไปให้บริษัทประกันรับผิดชอบแทนเราหรือที่เรียกว่าการซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ สมมติหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นจริงก็ต้องมาดูว่า พรบ.รถยนต์กับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่เราทำไว้คุ้มครองความเสียหายเหล่านั้นหรือไม่ ถ้าครอบคลุมทุกอย่างเราก็เบาใจเรื่องเงินได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าประกันที่ซื้อไว้นั้นไม่ครอบคลุมทุกส่วนก็อาจจะต้องรับผิดชอบเองบางส่วน 
ถ้าเราไม่ต้องการยอมรับความเสี่ยงไว้เอง โดยเลือกโอนความเสี่ยงให้บริษัทประกันภัยรถยนต์รับผิดชอบนั้น  เราควรศึกษาข้อมูลการทำประกันและความคุ้มครองต่างๆให้ละเอียดก่อนตัดสินใจ เพราะมันหมายถึงความรับผิดชอบต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตในกรณีที่มีเรื่องร้ายแรงเกิดขึ้น

ช่องทางในการเลือกซื้อนั้นมีหลายช่องทาง ซึ่งในยุคออนไลน์แบบนี้ทำให้เราเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย เพียงแค่มีอินเตอร์เน็ต  ตอนนี้เรามองไปทางไหนก็เห็นแต่ "สังคมก้มหน้า" เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยเพราะจากพฤติกรรมที่คนไทยใช้งานอินเตอร์เน็ตเฉลี่ย 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์(เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ถึง 77%) ทำให้รู้ว่าอินเตอร์เน็ตนั้นมีอิทธิพลต่อชีวิตและเข้ามาแบ่งเวลาส่วนตัวของเรามากขึ้นทุกวัน เช่น
  • การเล่นเกมส์ออนไลน์
  • สงสัยเรื่องอะไรก็ถามจาก Google 
  • เปรียบเทียบสินค้าหรือบริการก็หาอ่านจากกระทู้
  • หาร้านเด็ดร้านดังก็ตามอ่านรีวิวร้านแนะนำของบล็อกเกอร์นักชิม
  • สร้างความสะดวกสบายด้วยการซื้อสินค้าออนไลน์
โลกอินเตอร์เน็ตทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูลสินค้าหรือบริการที่เราต้องการ ช่องทางในการจ่ายเงินที่ง่ายและปลอดภัย จุดนี้เองที่ทำให้อัตราการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและมีแนวโน้มที่จะมากขึ้นเรื่อยๆ

แม้กระทั่งรูปแบบการซื้อประกันภัยรถยนต์ที่เปลี่ยนแปลงไป จากสถิติการรับประกันภัยวินาศภัยรถยนต์ที่แบ่งตามช่องทางการขายจัดทำขึ้นโดย คปภ.ในระหว่างปี 2555-2556(คปภ.เริ่มบังคับเก็บสถิตินี้ปี 2555) การขายประกันภัยรถยนต์ทั้งภาคสมัครใจและภาคบังคับผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตนั้นได้เติบโตแบบก้าวกระโดด ซึ่งมีจำนวนเงินประกันภัยที่บริษัทประกันภัยรับไปนั้นเพิ่มขึ้นเกิน 300% 

ที่มา : ข้อมูลสถิติประกันภัยโดยคปภ.

มองได้ว่าช่องทางการขายผ่านอินเตอร์เน็ตนั้นได้รับการยอมรับในระดับหนึ่ง เพราะความง่ายและสะดวกสบายในเรื่องต่างๆ เช่น
  • การเลือกซื้อแบบประกันที่เหมาะสมกับตนเอง
  • ช่องทางการชำระเงินที่สะดวกและปลอดภัย
  • ประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่เข้าถึงง่าย ซึ่งอินเตอร์เน็ตทำให้เราค้นข้อมูลได้มากที่สุดตามที่เราต้องการโดยการอ่านในเว็ปไซต์ หรือมีข้อสงสัยสามารถฝากคำถามไว้ใน Facebook เพื่อให้เจ้าหน้าที่โทรกลับก็ได้

ตัวอย่าง(Advertorial) บริษัทประกันภัยรถยนต์ออนไลน์ DirectAsia.com
  • ช่องทางติดต่อ
Link : www.facebook.com/DirectAsiaThailand

  • การันตีราคา ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด
Link : www.directasia.co.th/th/promotion/best-price-guarantee/

Link : http://www.directasia.co.th/th/car-insurance

  • ช่องทางชำระเงิน
 Link :  http://www.directasia.co.th/th/about/how-to-buy
Link : http://www.directasia.co.th/th/about/how-to-buy

  • บล็อก ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ 
Link : http://www.directasia.co.th/blog



หมายเหตุ :

==> Advertorial
==> ขอบคุณข้อมูลสถิติประกันภัยจำแนกตามช่องทางการขายจัดทำโดย คปภ. ดังนี้