วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

แหล่งเก็บเงินที่ปลอดภัยนั้นไม่มีจริง!!

ช่วงนี้มีแต่ข่าวของยุโรปว่ามีปัญหาต่างๆนานา วิธีการแก้ไขปัญหาของแต่ละประเทศก็แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดของปัญหา แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประเทศไซปรัส ที่มีต้นกำเนิดของปัญหามาจากเงินฝากของประชาชนและภาคธนาคารที่ใหญ่เกินไป การแก้ปัญหาขณะนี้ก็เริ่มจากจะยึดเงินฝากบางส่วนของประชาชนมาเป็นประกันในการชำระหนี้ ไม่ว่าเหตุการณ์ต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร จะยึดเงินบางส่วนหรือมีวิธีการอื่นๆตามมา(สรุปสาเหตุปัญหาของไซปรัสดูได้จากวีดีโอลิ้งข้างล่างเรื่อง "ไซปรัส ทางรอดในเกมส์การเมืองโลกค่ะ)

สิ่งหนึ่งที่เราควรตระหนัก คือ แหล่งเก็บเงินที่ปลอดภัยนั้นไม่มีจริง!!

การรักษาความมั่งคั่งในสินทรัพย์ต่างๆนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา ถ้าความนิยมอะไรมากเกินไปก็จะเกิดฟองสบู่ ถ้าตามกระแสมากๆก็จะเป็นการเก็งกำไร เช่น ตอนอสังหาริมทรัพย์ได้รับความนิยม นักลงทุนก็กันไปลงทุนอสังหาฯกันมากขึ้นจนทำให้เกิดฟองสบู่เหมือนตอนต้มยำกุ้ง ดังนั้นควรเพิ่มความรู้ว่าช่วงเวลาใดควรลงทุนอะไร สินทรัพย์อะไรบ้างที่กำลังจะได้รับความนิยม สินทรัพย์อะไรที่กำลังจะอยู่ในภาวะฟองสบู่หรืออยู่ในภาวะเสี่ยงขาลง ฯลฯ

สินทรัพย์อะไรก็ตามที่ได้รับความนิยมมากเกินไปให้ทะยอยลดพอร์ตนั้นออกไป หรือขายทิ้งทั้งหมด เพราะอะไรที่ได้รับความนิยมคนก็จะเข้ามาซื้อเก็งกำไรมากขึ้น ยิ่งแย่งกันซื้อราคาก็จะยิ่งขึ้น เราก็ต้องมามองดูสักนิดว่า "เราเป็นคนซื้อแล้วใครเป็นคนขาย" สินทรัพย์ที่ราคาขึ้นและกำลังได้รับความนิยมก็ไม่น่าจะมีคนขายเพราะราคาก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นที่มาที่ว่าทำไมให้ทะยอยลดพอร์ตตัวที่เก็งกำไรมากๆ เราไม่ได้ขายที่จุดสูงสุด แต่เราขายในขณะที่คนกำลังนิยมสูงสุด เพราะเราจะได้ราคาที่ดีที่สุด (นั่นก็หมายความว่าราคาใกล้พีคเต็มที) มีตัวอย่างหุ้นบางตัวที่พาดหัวข่าวใหญ่โตว่าได้รับงานใหญ่ เนื้อหาข่าวมีแต่ข่าวดี แต่ทำไมทั้งวันหุ้นตัวนี้ลงทั้งวันเลย แน่หละว่าข่าวขนาดนี้นักลงทุนส่วนใหญ่เห็นก็จะซื้อตาม ส่วนคนขายก็เป็นกลุ่มคนที่เก็บไว้ก่อนหน้านี้มานาน วางขายเท่าไหร่ก็มีคนซื้อเพราะมีข่าวดีตามที่หนังสือพิมพ์ ส่วนตัวแล้วก็จะเตือนว่าลงทุนหุ้นลักษณะแบบนี้ให้ขายทั้งหมดก็ต่อเมื่อข่าวขึ้นหน้า 1

เราน่าจะมองสินทรัพย์ที่กำลังจะได้รับความนิยมหรืออยู่ในภาวะที่ราคาลงจนราคานิ่ง(หลังจากที่ลงมาสักพัก) แต่เงินตรงนี้ต้องเป็นเงินที่เย็นจริงๆ เพื่อซื้อสินทรัพย์เหล่านี้รอเวลากลับมาเป็นภาวะขาขึ้นอีกครั้ง ตอนนี้เป็นจังหวะเหมาะสมที่จะแบ่งเงินบางส่วนมาซื้อดอลล่าร์เก็บไว้บ้าง(อ่านในบทความอันเก่าได้ที่ "แบ่งเงินออมมาเก็บดอลล่าร์กันดีกว่า http://pajareep.blogspot.com/2013/03/blog-post_25.html) มองว่าเงินบาทน่าจะอ่อนตัวได้ในอนาคต ไม่รู้ว่าจะอ่อนตอนไหน ต้องไปถามเฟดว่าจะออกนโยบาย exit strategy เมื่อไหร่ ดังนั้นจะต้องใช้เงินที่เหลือใช้พอสมควรที่จะนำมาเก็บดอลล่าร์ ถ้าไปกู้มาซื้อนี่ก็ตลกเกินไป ไม่แนะนำให้กู้เงินมาลงทุน

บางคนคิดว่าเรื่องของประเทศไซปรัสจะมาเกี่ยวอะไรกับประเทศไทย เกี่ยวข้องอะไรกับตนเอง เหตุเกิดคนละซีกโลกมันก็ไม่เกี่ยวข้องกับเราหรอก ไม่ต้องไปสนใจหรือเรียนรู้ให้เสียเวลา ณ ปัจจุบันงานก็ล้นมืออยู่แล้วจนไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่น

ความรู้มันไม่มีวันหยุด ถ้าเราหยุดที่จะเรียนรู้ โลกของเราก็จะหยุดหมุน แต่โลกรอบๆตัวของเรายังคงหมุนต่อไป แล้วในอนาคตความรู้ของเราจะอยู่ตรงส่วนไหนของโลก วิกฤตการเงินของโลกก็เช่นกัน มันเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เราไม่สามารถคาดเดาเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ แต่เราสามารถเรียนรู้ความเจ็บปวดจากอดีต เพื่อป้องกันไม่ใ้ห้เกิดเหตุการณ์นั้นอีกในอนาคต

เราแค่แบ่งช่วงเวลาของเราในแต่ละัวัน อาจจะเป็นวันละ 1- 2 ชั่วโมงเพื่อเปิดรับความรู้ใหม่ๆ ถ้าคิดไม่ออกว่าจะแบ่งเวลาตอนไหนก็อาจจะเริ่มจากดึงเวลามาจากหน้า Facebook, IG, Line ก่อนก็ได้ค่ะ วันๆนึงน่าจะได้สักครึ่งชั่วโมง เล่นให้น้อยลงเพื่อเปิดรับสิ่งอื่นๆให้มากขึ้น

ตัววัดความสำเร็จของความมั่งคั่ง คือ การเก็บรักษาความมั่งคั่งนั้นไม่ให้น้อยลงและให้เพิ่มมูลค่าขึ้นเรื่อยๆ แหล่งรักษาเงินของเราก็มีหลายแบบ เช่น เงินฝากธนาคาร ทองคำ อัญมณี หุ้น พันธบัตร หุ้นกู้ เงินสกุลต่างประเทศ บ้านเช่า และอื่นๆที่ทำให้เงินของเรางอกเงยได้ เราหาเงินมาอย่างเหน็ดเหนื่อยแล้วทำไมเราไม่ให้เวลากับการศึกษาเพื่อเก็บรักษาเงินของเราด้วยหละจ๊ะ

มีคนเล่าให้ฟังถึงตอนวิกฤตปี 40 ยุคที่ต้มยำกุ้งสร้างความเจ็บแสบให้กับหลายๆท่าน มีนักธุรกิจท่่านหนึ่งมองแล้วว่าค่าเงินบาทของเราคงจะไม่แข็งค่าอีกต่อไป เพราะถูกโจมตีอย่างหนักและคงต้องอ่อนค่าในเร็วๆนี้อย่างแน่นอน ดังนั้นเพื่อให้ความมั่งคั่งของสินทรัพย์และเสื่อมมูลค่าลงน้อยที่สุดจึงได้นำเงินบาทไปแลกเป็นดอลล่าร์เก็บไว้ คงไม่ต้องบอกว่าได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนมาเท่าไหร่ อย่างน้อยความมั่งคั่งของเขาก็ยังคงอยู่ต่อไป เรากลับไปแก้ปัญหาไม่ได้ที่จะไปบอกว่าธนาคารจ๊ะอย่าปล่อยกู้มากๆแบบนี้ซิ เดี๋ยวก็เกิดการเก็งกำไรนะจ๊ะ ถ้าฟองสบู่แตกจะทำอย่างไร ส่วนอีกเรื่องที่เหตุเกิดที่อเมริการแล้วดังไปทั่วโลก คือ วิกฤตซับไพร์ม รอบนี้ค่าเงินบาทของเราไม่อ่อนแรงเท่าต้มยำกุ้ง แต่ก็ทำให้หลายธุรกิจเหนื่อยมากๆได้เช่นกัน เงินที่ไหลไปทั่วโลกถูกดึงกลับไปที่อเมริกา สินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ เช่น หุ้น ก็ตกลงอย่างมาก  เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว ถ้ามัวแต่ไปโทษกันหาคนรับผิดมันเปล่าประโยชน์ แค่มีสติแล้วหาวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อเอาตัวรอดจากวิกฤตนั้นน่าจะดีที่สุด

เราเรียนรู้อะไรจากวิกฤตเหล่านี้บ้าง??

"ศึกษาแหล่งพักเงินใหม่ที่ได้รับผลตอบแทนมากกว่าเงินเฟ้อกันดีกว่าค่ะ"

ป้จจัยภายนอกเราคาดการณ์ไม่ได้ แต่เราสามารถตั้งป้อมที่สร้างจากการเรียนรู้ของเราขึ้นมาได้ การเริ่มต้นศึกษาแหล่งพักเงินเพื่อใช้ให้ตลอดรอดฝั่งถึงวัยชราควรเริ่มต้น ณ บัดนี้ อย่าให้คำว่า "ไม่มีเวลา" มีอิทธิพลเหนือชีวิตเรา

วิธีจุดประกายความมุ่งมั่น ..... เชื่อว่าทุกคนขี่จักรยานได้ ความรู้สึกตอนหัดขี่ครั้งแรกเป็นอย่างไรบ้างค่ะ บางคนเริ่มจากมีล้อเพิ่มมา 2 ล้อที่ด้านหลังกลายเป็นจักรยาน 4 ล้อ แล้วก็ทำให้ 2 ล้อที่เพิ่มเข้ามานั้นสูงขึ้น เอาไว้เวลาเราจะล้มจะได้มีล้อมาพยุงตัวเองได้ สุดท้ายพอเรามั่นใจมากขึ้นก็ถอดล้อ 2 ล้อหลังให้กลายเป็นจักรยาน 2 ล้อเหมือนเดิม วิธีส่วนตัวที่ใช้ก็คล้ายๆแบบนี้ แต่มันไม่ค่อยทันใจก็ให้พ่อถอดล้อที่เพิ่มเข้ามาด้านหลังออก แล้วให้มาจับที่เบาะหลังดันเราไปข้างหน้า พอผลักให้เราวิ่งได้ระยะนึงก็ให้ปล่อยมือ ให้เราขี่จักรยานเอง จำได้ว่ารอบนั้นเลาะต้นกระถินแถวบ้านหายไปเป็นแถบๆ เข่าถะลอกนิดหน่อย แต่ก็ทำให้เราขี่จักรยานเป็น แล้วคุณหละค่ะยังจำความรู้สึกขี่จักรยานตอนเด็กๆเป็นอย่างไรบ้าง ให้นำความรู้สึกที่อยากจะเอาชนะตัวเองเพื่อให้ขี่จักรยานได้เป็นตัวจุดประกายให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะเริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ๆนะค่ะ การเอาชนะความไม่รู้ มันเป็นความรู้สึกที่อธิบายไม่ได้ว่าเป็นอย่างไร นอกจากตัวคุณเอง สู้ๆนะค่ะ

รู้ตัวเองว่า "ไม่รู้" แล้วอยากรู้
ดีกว่า
รู้ตัวเองว่า "รู้แล้ว" แล้วไม่อยากรู้

========================================================


ไซปรัส : ทางรอดในเกมส์การเมืองโลก
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

คลิปนี้แถมนะค่ะ เพื่อที่เราจะได้รู้ภาพรวมของเงินทั้งโลกว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไร

หนี้โลกเอาไม่อยู่
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น