วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

เงินฝากเขย่าโลก



ระบบการไหลเวียนของเงินผ่านระบบสินเชื่อธนาคาร
เมื่อเราฝากเงินไว้ที่ธนาคาร ระบบธนาคารก็จะกันสำรองเงินไว้ส่วนหนึ่ง(ที่เรียกว่า"การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง Reserve Requirements คำอธิบายเพิ่มเติมอยู่ด้านล่างของบทความ) นอกนั้นก็นำไปปล่อยกู้เพื่อให้กลุ่มคนที่ต้องการใช้เงินนำเงินมาใช้จ่ายในด้านต่างๆ หมุนวนแบบนี้ไปเรื่อยๆ

ตัวอย่างภาพรวมของการปล่อยสินเชื่อ...ข้อมูลจากคลิปด้านล่างค่ะ (= ^_^ =)

การหมุนของเงินรอบที่ 1



คำอธิบาย ==> สมมติว่าเราฝากเงินรอบแรก 1,000 บาท เมื่อธนาคารได้รับเงินมาแล้วก็จะกันสำรองไว้ 10% (คือ 100 บาท) และปล่อยกู้ 90% (คือ 900 บาท) ทำให้มีเงินหมุนในระบบทั้งหมด 1,900 บาท(คือ 1,000 + 900) จากเงินที่ฝาก 1,000 บาท ธนาคารสามารถสร้างเงินขึ้นมา 900 บาท ทั้งที่มีเงินสำรอง 100 บาท

การหมุนของเงินรอบที่ 2



คำอธิบาย ==> นำเงิน 900 บาท เข้ามาในระบบฝากเข้าธนาคาร ทำให้ธนาคารต้องกันสำรองไว้ 10% คือ 90 บาท) และปล่อยกู้ 90%(คือ 810 บาท) ทำให้มีเงินหมุนในระบบทั้งหมด 2,710 บาท(คือ 1,900 + 810) ทั้งที่ธนาคารมีเงินสำรอง 190 บาท (คือ 100+90)

การหมุนของเงินรอบที่ 3



คำอธิบาย ==> นำเงิน 810 บาท เข้ามาในระบบฝากเข้าธนาคาร ทำให้ธนาคารต้องกันสำรองไว้ 10% คือ 81 บาท) และปล่อยกู้ 90%(คือ 729 บาท) ทำให้มีเงินหมุนในระบบทั้งหมด 3,439 บาท(คือ 1,900 + 810+729)  ทั้งที่ธนาคารมีเงินสำรอง 271 บาท (คือ 100+90+81)

สรุปว่า จากการที่นำเงินก้อนเดิมไปหมุนในระบบครั้งที่ 3 เงินฝาก 1,000 บาท ธนาคารสามารถสร้างเงินขึ้นได้ 3 เท่าตัวคือ 3,439 บาท ทั้งที่มีทุนสำรอง 271 บาท 

ธนาคารนั้นสร้างเงินเข้าระบบผ่าน Credit System 3,439 บาทจากเงินต้น 1,000 บาท เพื่อสร้าง Money Supply ทำให้เิกิดเงินเฟ้อและค่าเงินอ่อนค่า ซึ่งระบบธนาคารจะนำเงินคนอื่่นมาเก็บไว้แล้วนำที่เหลือมาปล่อยกู้ สร้างเงินเข้าสู่ระบบ จากตัวอย่างนี้เป็นเฉพาะผ่า่นระบบสินเชื่อเท่านั้น ยังไม่รวมสินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่านี้ เช่น ซับไพร์ม

ดังนั้น การก่อนหน้านี้ที่ประเทศจีนผ่อนปรนการเงิน(ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมมีลิ้งค์ของข่าวแทรกอยู่ในประโยคหน้าวงเล็บค่ะ) โดยลดเงินสำรองของธนาคารก็จะทำให้เงินเข้าสู่ระบบมากขึ้น เกิดเงินเฟ้อ และถ้าเพิ่มเงินสำรองของธนาคารก็จะทำให้เงินหมุนในระบบลดลง

ตัวอย่าง





ถ้าคนเชื่อว่าเงินที่เก็บออมจากการทำงานไปฝากไว้ให้ธนาคารดูแลเพื่อความปลอดภัย ระบบธนาคารก็ยังคงทำงานต่อไปได้ เพราะระบบธนาคารยังคงอยู่ได้เพราะความน่าเชื่อถือ แต่ถ้ามองในมุมกลับกันหละคะ  ทุกอย่างมีเกิดก็ต้องมีดับ ความน่าเชื่อถือสร้างได้ก็หมดได้เหมือนกัน

เมื่อคนเริ่มไม่มั่นใจว่าจะให้ธนาคารดูแลเงินฝากของตนดีรึเปล่าก็ไปถอนเงินสดมาเก็บไว้ดูแลเองที่บ้าน เห็นเงินสดกองตรงหน้าดีกว่าเห็นตัวเลขในบัญชีแล้วถอนไม่ได้ ถ้าทุกคนคิดเหมือนกันหมดก็จะร่วมแรงร่วมใจไปถอนเงินออกจากธนาคาร สุดท้ายธนาคารก็อยู่ไม่ได้เพราะมีเงินสำรองไว้น้อยกว่าจำนวนเงินที่ลูกค้าต้องการถอน นั่นแหละ Bank Run!! สุดท้ายธนาคารก็ล้มละลายเพราะไม่มีเงินจ่ายผู้ฝากเงิน

                                             "ที่ที่ปลอดภัยที่สุด ก็เป็นที่ที่อันตรายที่สุด" 

คำพูดนี้อธิบายได้ดีในกรณีของผู้ฝากเงินที่ประเทศไซปรัส การที่ธนาคารปิดทำการเพื่อไม่ให้คนแห่มาถอนเงินฝาก การจำกัดการถอนเงิน หรือมาตรการอื่นๆที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือภาคการเงิน ล้วนแล้วแต่เป็นสัญญาณบอกว่า เราควรแบ่งเงินบางส่วนจากการออมเงินกับธนาคารมาอยู่ในส่วนของตลาดการเงินอื่นๆบ้าง นอกจากเป็นการกระจายการลงทุนแล้วยังเป็นการให้เงินขี้เกียจในออมทรัพย์ออกไปทำงานแทนเราบ้าง

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (Reserve Requirements) คือ ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามกฎหมายซึ่งเป็นสัดส่วนต่อค่าเฉลี่ยของฐานเงินฝากและหนี้สิน โดยที่ฐานเงินฝากและหนี้สินที่ต้องนำมารวมเพื่อคำนวณสินทรัพย์สภาพคล่องนั้น ได้แก่ ยอดรวมเงินฝากทุกประเภท ยอดรวมเงินกู้ยืมจากการออกตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ยอดรวมเงินกู้ยืมจากต่างประเทศที่ครบกำหนดใน 1 ปี และยอดรวมเงินกู้ยืมที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปรหรือมีตัวอนุพันธ์ทางการเงินแฝง ในปัจจุบันอัตราส่วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเท่ากับร้อยละ 6

ที่มา : ธปท.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------

ไอเดียที่เขียนบล็อกหัวข้อนี้มาจากวีดีโอนี้ค่ะ



ระบบแบงก์ล้มละลายจริงหรือ??
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ


แนวคิดอนาคตของเงินว่าต่อไปน่าจะเป็นอย่างไร



อนาคตของเงิน
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ



บทความที่น่าสนใจ


สร้างแรงบันดาลใจเป็นตัวเลข
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post_28.html

บทเรียนจากแบบฝึกหัดเขียน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post_6.html

ความสามารถของเรามีมูลค่าเท่าไหร่??
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post.html

อ่านหนังสือสร้างโลก
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/08/blog-post_20.html

ลูกจะมีวินัยทางการเงินหรือไม่นั้นต้องเริ่มจากพ่อกับแม่
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/08/blog-post_4.html

มีเงิน 5 หมื่นออมอะไรดี
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/07/5.html

บัตรเครดิตที่เราต้องรู้
 ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/07/blog-post.html

ต้นทุนชีวิต - มีมูลค่าเท่าไหร่
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/05/blog-post.html

รู้อะไรไม่สู้ "รู้งี้" กับการวางแผนเกษียณ
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/06/blog-post.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น