วันเลขสวย
เวลาช่วงเช้า 8 นาฬิกา 9 นาที 10 วินาที
วันที่ 11 เดือนธันวาคม 2013
เวลาช่วงบ่าย 14 นาฬิกา 15 นาที 16 วินาที
เมื่อวันพุธที่ผ่านมาเป็นวันเลขเรียงกันสวยดีก็น่าจะทำสิ่งดีๆให้น่าจดจำ จึงเขียนบล็อกฉลองวันเลขสวยสักหน่อย บทความนี้จะพูดถึงสิ่งสวยงามรอบๆตัวเราซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ สวยงามจากภายนอกและงดงามจากภายใน
==> สิ่งสวยงามภายนอก เป็นการมองเพียงผิวเผินที่ทำให้ตัดสินคนจากลักษณะภายนอก เช่น คิดว่าคนนี้รวยจากรถที่ขับ คนนั้นสวยจากใบหน้าที่เข้ารูปและรูปร่างที่ดูดี คนโน้นดูดีจากเสื้อผ้าที่สวมใส่ ซึ่งแท้จริงแล้วอาจจะไม่เป็นอย่างที่เราคิดก็ได้ การตัดสินด้วยข้อมูลที่ได้รับเพียงสายตาอาจไม่เพียงพอที่จะตัิดสินใจควรพิสูจน์และศึกษาข้อมูลให้กระจ่างก่อนที่จะเชื่ออะไร เช่น ผู้หญิงสวยที่ทำให้คุณต้องหันหลังกลับไปมองแท้จริงแล้วอาจจะไม่ใช่ผู้หญิงแท้ก็ได้(สวยจนผู้หญิงจริงๆต้องอายกันเลย) คนดีที่คุณชื่นชมอาจจะมาจากการทำตัวให้คนอื่นดูแย่เพื่อให้ตนเองดูดีก็ได้ คนที่ดูดีมีฐานะร่ำรวยอาจจะได้เงินมาจากวิธีที่ไม่เหมาะสมก็ได้ ฯลฯ อาจจะมองโลกในแง่ร้ายไปสักนิดแต่ก็เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นที่เราควรทำความเข้าใจและอย่าเืชื่อจากภาพที่เห็น
==> สิ่งงดงามจากภายใน การตัดสินอะไรก็ตามในรูปแบบนี้ทำยากเพราะต้องใช้เวลาในการค้นหา คนที่สามารถมองเห็นความงดงามจากภายในได้นั้นจะเป็นกลุ่มคนพิเศษและได้รับสิ่งดีๆไปครอบครอง เพราะใช้การมองด้วยตาและความรู้สึกที่อยากจะค้นหาความจริงเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจก่อนที่จะเชื่ออะไร เช่น คุณตาขอทานที่บริจาคเงินให้วัดเป็นล้าน นิทานของไทยเรื่องพระสังข์ทอง แม้เป็นเพียงนิทานแต่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่แฝงความคิดให้เด็กว่า "อย่ามองอะไรแค่ภายนอกอย่างเดียว" ซึ่งผู้ใหญ่อย่างเราควรนำเป็นแบบอย่าง (คติที่ได้จากนิทานเรื่องนี้มีหลายประเด็นขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้เล่านิทานว่าต้องการสอนอะไรเด็กบ้าง ในกรณีนี้จะยกตัวอย่างเรื่องอย่ามองคนแค่ภายนอกอย่างเดียวค่ะ)
การตัดสินจากความสวยงามภายนอกหรือสิ่งงดงามจากภายในนั้น ปัจจุบันนี้ตัดสินกันได้ยากมากขึ้น แม้ว่าโลกจะท้วมท้นไปด้วยข้อมูลจากการสื่อสารที่รวดเร็วด้วยอินเตอร์เน็ต ความรู้หาได้ง่ายเพียงถาม Mr.Google ข่าวสารแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ข้อมูลไหนจริงหรือหลอก ภาพนี้มีการตัดต่อหรือไม่ จนยากที่จะตัดสินใจได้ว่าจะเชื่ออะไร สิ่งเดียวที่ทำได้ คือ การสร้างภูมิคุ้มกันความคิดให้ตนเอง โดยการค้นหาความจริงก่อนที่จะเชื่ออะไร วันนี้มีเรื่องของเปลือกนอกมาเล่าให้ฟัง 2 เรื่อง คือ เรื่องของอินเตอร์เน็ตและน้องแสน
เรื่องแรก "อินเตอร์เน็ต"
บังเอิญว่าหนังสือที่เราตั้งใจเขียนอย่างสุดชีวิตนั้นไปปรากฏอยู่ในหน้า Facebook ของบุคคลท่านนึง โดยใช้คำบรรยายที่มีลักษณะเชิงลบ คุณคงเดาไม่ยากว่าคอมเม้นต่อจากนี้จะเป็นลักษณะไหน แต่อยู่ในลักษณะที่คาดการณ์ไว้ตั้งแต่แรกก่อนที่หนังสือจะวางแผงว่าอาจจะถูกคอมเม้นอะไรบ้าง จากเปลือกนอกที่มีหน้าปกชื่อว่า "เล่นหวย(สลากกินแบ่งรัฐบาล)ก็รวยได้" ก็สร้างความรู้สึกเชิงลบให้กับผู้ที่ยังไม่ได้สัมผัสมันอย่างแท้จริง ประมาณว่าแค่เห็นหน้าก็เกลียดกันซะแล้ว ทั้งที่ยังไม่ได้ศึกษานิสัยใจคอกันเลย
ถ้าจะเปรียบเรื่องนี้กับการลงทุนในหุ้นที่รู้ว่าควรศึกษาความเสี่ยงและตัวของหุ้นที่เราซื้อว่ามีผลประกอบการเป็นอย่างไร ดูสารพัดพื้นฐานเพื่อที่ว่าจะเป็น VI อย่างแท้จริง ทฤษฏีแม่นเป๊ะ แต่ที่สุดแล้วเมื่อเราซื้อหุ้นเก็บไว้จริงๆ หุ้นที่มีไม่วิ่งแล้วหุ้นคนอื่นวิ่งดีจัง นักลงทุน VI (เปลือกนอก) เริ่มร้อนใจว่าทำไมการลงทุนของเรามันถึงแย่กว่าคนอื่น แล้วก็กลายร่างเป็นนักเก็งกำไรโดยอัตโนมัติ คำพูดหนึ่งที่เราพูดกับนักลงทุนของเราเสมอคือ "พื้นฐานหุ้นไม่เปลี่ยน มีแต่จิตใจของเราเท่านั้นที่เปลี่ยนไป" เราให้น้ำหนักการถือหุ้นเป็น 2 ส่วน คือ พื้นฐาน 30% และจิตวิทยา 70% เพราะความอ่อนไหวต่อตลาดส่งผลเสียต่อวินัยการลงทุน ไม่ว่าคุณจะไปเรียนกราฟหลักสูตรแพงแค่ไหน เปิดอ่านหนังสือการลงทุนมาหลายสิบเล่ม แต่สุดท้ายมาตกม้าตายด้วยความอ่อนไหวของจิตใจอยู่ดี
บทสรุปของคอมเม้นหน้า Fb นั้นจบลงที่ผู้ใจดีไปค้นข้อมูลจาก Mr.Google แล้วมาทำลิ้งค์ให้อ่านว่าหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างไร ส่งผลให้กระแสคอมเม้นในแง่ลบน้อยลง ขอขอบผู้ใจดีทุกท่านที่ช่วยชีวิตหนังสือเล่มนี้ไว้ เราไม่รู้ว่าคุณเป็นใครแต่ขอกราบขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ (* // \\ *)
==> บทเรียนจากเรื่องนี้สอนให้เรารู้ว่า "คิดอะไรไม่ออก ให้คิดถึง Mr.Google"
เรื่องที่ 2 "น้องแสน"
ตารางทุกวันอาทิตย์ตอนบ่ายโมงเราต้องไปสอนน้องเรียนหนังสือที่วัดแถวบ้าน โดยมีค่าตอบแทนเป็นรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของเด็กๆ น้องแสนเป็นเด็กชายอยู่ชั้นป.1 รูปร่างอ้วนกำลังดี แก้มยุ้ย หน้าตาซนๆ เพราะแม่อ่านหนังสือไม่ออกจึงส่งลูกมาเรียนเพื่อเป็นความรู้ติดตัวและมีโอกาสในสังคมมากขึ้น ครั้งแรกที่เราเจอน้องแสนเป็นวันที่ต้องจดคำศัพท์จากกระดานลงสมุด เด็กคนอื่นก็ลอกตามเป็นปกติ แต่น้องแสนก็ยังคงเขียนไม่เสร็จสักคำ เราก็มาถามว่าทำไมไม่เขียนหละและบอกว่าคำศัพท์บนกระดานแต่ละคำมีตัวภาษาอังกฤษอะไรบ้าง เราพูดแต่ละตัวเพื่อให้น้องแสนเขียนตาม แต่ก็ยังเขียนตัวอักษรผิด เช่น บอกตัว R ก็เขียนตัว P ทำให้เราคิดว่าน้องคนนี้คงต้องแยกเรียนแล้วหละ เราจึงดึงน้องเค้ามานั่งคัดตัวอักษรภาษาอังกฤษใหม่ 26 ตัว เรียงเป็นแถวๆละ 8 ตัว สรุปคือเขียนจนเมื่อยมือกันเลยทีเดียว แต่มันก็ทำให้น้องเค้าจำตัวอักษรได้ดีขึ้น
หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ก็มีการทดสอบนักเรียนโดยการแปลเป็นไทยจากประโยคทักทายภาษาอังกฤษอย่างง่าย เช่น Good morning แปลว่าอะไร ฯลฯ เราทดสอบทั้งหมด 10 ประโยค เด็กบางคนเก่งเขียนเสร็จเร็ว บางคนก็ช้าตามเพื่อนไม่ทัน กรณีของน้องแสนจะเป็นอย่างหลังเพราะกระดาษน้องว่างเปล่า ระหว่างที่เพื่อนทำแบบทดสอบน้องแสนก็ถูกดุนิดหน่อยว่าทำไมไม่ทำ เราเป็นคนช่วยสอนก็ไม่รู้จะทำยังไงเพราะน้องเค้าไม่ยอมเขียนเอง คิดว่าท้ายชั่วโมงคงต้องคุยกับน้องเค้าสักหน่อย
ระหว่างที่เรากำลังสอนเด็กคนอื่นอยู่นั้น น้องแสนก็เดินถือกระดาษว่างเปล่านั้นมาหาเราแล้วพูดว่า "พี่ครับช่วยสอนผมหน่อย" เรารู้สึกดีใจมากที่น้องยังคิดถึงและไม่เกลียดเราไปซะก่อนจากคราวที่แล้วสั่งให้คัดตัวอักษรไปเยอะมาก เราก็ค่อยสอนทีละประโยคว่าแปลว่าอะไร อ่านออกเสียงอย่างไร ถ้าตัวไหนอ่านไม่ออกให้เขียนคำออกเสียงเป็นภาษาไทยไว้ข้างบนเพื่อว่ากลับมาอ่านทีหลังจะได้อ่านออก เราพูดให้น้องแสนฟังว่าเค้าต้องเรียนเรื่องยากๆนี้ไปเพื่ออะไร
น้องแสนพยักหน้ารับคำที่เราสอนและตั้งใจเขียนคำแปลให้จบทั้ง 10 ข้อ มันรู้สึกตื้นตันใจอย่างบอกไม่ถูกจริงๆนะ เพราะสภาพแวดล้อมที่น้องอยู่อาจจะทำให้เดินผิดเส้นทางได้ เราไม่สามารถอยู่ตักเตือนน้องได้ตลอดเวลา สิ่งที่เราทำได้คือสร้างเกราะป้องกันความคิดเพื่อให้น้องแยกสิ่งที่ถูกหรือผิดด้วยตัวเองให้ได้เท่านั้น
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นการสอนเรื่องคิดเลขเร็ว โดยเป็นการบวก ลบ คูณธรรมดา เราก็เดินดูเด็กทำแบบฝึกเหมือนเคย พอเราเดินผ่านน้องแสนก็สังเกตว่าน้องทำอะไรทำไมต้องชี้ไปที่นิ้วเท้าด้วย เราก็ถามว่า "น้องแสนทำอะไรหงะ" น้องตอบกลับมาว่า "พอดีนิ้วมือมีไม่พอนับเลขเลยต้องใช้นิ้วเท้าด้วย" ตึ่งโป๊ะ!! เราก็ได้แต่ยืนยิ้มและก็ขำในใจกับความน่ารักของเด็ก เพราะไม่คิดว่าจะเจอวิธีการนับแบบนี้ที่นี่
==> บทเรียนจากเรื่องนี้สอนให้เรารู้ว่า เราไม่ควรตัดสินเด็กจากเปลือกนอกที่ไม่สนใจเรียนว่าเป็นเด็กดื้อหรือขี้เกียจ แท้จริงแล้วเด็กไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร มีเพียงผู้ใหญ่เท่านั้นที่ช่วยแนะแนวทางด้วยวิธีที่ถูกต้อง
หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ก็มีการทดสอบนักเรียนโดยการแปลเป็นไทยจากประโยคทักทายภาษาอังกฤษอย่างง่าย เช่น Good morning แปลว่าอะไร ฯลฯ เราทดสอบทั้งหมด 10 ประโยค เด็กบางคนเก่งเขียนเสร็จเร็ว บางคนก็ช้าตามเพื่อนไม่ทัน กรณีของน้องแสนจะเป็นอย่างหลังเพราะกระดาษน้องว่างเปล่า ระหว่างที่เพื่อนทำแบบทดสอบน้องแสนก็ถูกดุนิดหน่อยว่าทำไมไม่ทำ เราเป็นคนช่วยสอนก็ไม่รู้จะทำยังไงเพราะน้องเค้าไม่ยอมเขียนเอง คิดว่าท้ายชั่วโมงคงต้องคุยกับน้องเค้าสักหน่อย
ระหว่างที่เรากำลังสอนเด็กคนอื่นอยู่นั้น น้องแสนก็เดินถือกระดาษว่างเปล่านั้นมาหาเราแล้วพูดว่า "พี่ครับช่วยสอนผมหน่อย" เรารู้สึกดีใจมากที่น้องยังคิดถึงและไม่เกลียดเราไปซะก่อนจากคราวที่แล้วสั่งให้คัดตัวอักษรไปเยอะมาก เราก็ค่อยสอนทีละประโยคว่าแปลว่าอะไร อ่านออกเสียงอย่างไร ถ้าตัวไหนอ่านไม่ออกให้เขียนคำออกเสียงเป็นภาษาไทยไว้ข้างบนเพื่อว่ากลับมาอ่านทีหลังจะได้อ่านออก เราพูดให้น้องแสนฟังว่าเค้าต้องเรียนเรื่องยากๆนี้ไปเพื่ออะไร
"น้องแสนต้องเรียนไปเพื่อช่วยแม่ทำงาน หาเลี้ยงแม่ตอนที่แสนโตเป็นผู้ใหญ่นะครับ"
น้องแสนพยักหน้ารับคำที่เราสอนและตั้งใจเขียนคำแปลให้จบทั้ง 10 ข้อ มันรู้สึกตื้นตันใจอย่างบอกไม่ถูกจริงๆนะ เพราะสภาพแวดล้อมที่น้องอยู่อาจจะทำให้เดินผิดเส้นทางได้ เราไม่สามารถอยู่ตักเตือนน้องได้ตลอดเวลา สิ่งที่เราทำได้คือสร้างเกราะป้องกันความคิดเพื่อให้น้องแยกสิ่งที่ถูกหรือผิดด้วยตัวเองให้ได้เท่านั้น
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นการสอนเรื่องคิดเลขเร็ว โดยเป็นการบวก ลบ คูณธรรมดา เราก็เดินดูเด็กทำแบบฝึกเหมือนเคย พอเราเดินผ่านน้องแสนก็สังเกตว่าน้องทำอะไรทำไมต้องชี้ไปที่นิ้วเท้าด้วย เราก็ถามว่า "น้องแสนทำอะไรหงะ" น้องตอบกลับมาว่า "พอดีนิ้วมือมีไม่พอนับเลขเลยต้องใช้นิ้วเท้าด้วย" ตึ่งโป๊ะ!! เราก็ได้แต่ยืนยิ้มและก็ขำในใจกับความน่ารักของเด็ก เพราะไม่คิดว่าจะเจอวิธีการนับแบบนี้ที่นี่
==> บทเรียนจากเรื่องนี้สอนให้เรารู้ว่า เราไม่ควรตัดสินเด็กจากเปลือกนอกที่ไม่สนใจเรียนว่าเป็นเด็กดื้อหรือขี้เกียจ แท้จริงแล้วเด็กไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร มีเพียงผู้ใหญ่เท่านั้นที่ช่วยแนะแนวทางด้วยวิธีที่ถูกต้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น