วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

โรงรับจำนำที่รัก


นอกจาก "บัตรกดเงินสด" และ "การกู้นอกระบบ" ที่ทำให้เราได้รับเงินสดอย่างรวดเร็ว แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสุดโหด จะดีกว่าไหมถ้ามีวิธีที่ทำให้ได้รับเงินสดเร็วเหมือนกัน แต่ดอกเบี้ยถูกกว่า

โรงรับจำนำ คือคำตอบสุดท้าย

โรงรับจำนำ คือ สถานที่ที่ทำให้เราเข้าถึงเงินสดได้เร็วเพียงไม่กี่นาทีและอยู่คู่กับสังคมไทยมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันมีโรงรับจำนำประมาณ 600 แห่งทั่วประเทศ แบ่งเป็นโรงรับจำนำของรัฐบาล(เรียกว่า "สถานธนานุเคราะห์")และโรงรับจำนำของเอกชน

ช่วงที่คึกคักที่สุดของโรงรับจำนำ คือ ก่อนโรงเรียนเปิดเทอม เพราะผู้ปกครองจะนำทรัพย์สินมีค่ามาจำนำเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอุปกรณ์การเรียนและค่าเทอมให้บุตรหลาน โดย 95% จะเป็นการจำนำด้วยทองคำรูปพรรณ

ตัวอย่าง ดอกเบี้ยรับจำนำของสถานธนานุเคราะห์




หมายเหตุ : ดอกเบี้ยจำนำนี้มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 เม.ย. 61
                   สามารถอัพเดทข้อมูลดอกเบี้ยได้ในเว็ปนี้ http://www.pawn.co.th/question_a.php


==> กลุ่มคนที่ใช้ประโยชน์จากโรงรับจำนำมี 2 กลุ่ม คือ

ผู้จำนำ
    • โอกาสในการเข้าถึงเงินสดที่รวดเร็วโดยนำทรัพย์สินที่มีมาจำนำเพื่อนำเงินสดไปหมุนในช่วงสั้นๆ ถ้ามีเงินก็มาจ่ายและนำทรัพย์สินกลับไป แต่ถ้าขาดส่งดอกเบี้ยหรือไม่มาไถ่ถอนภายในระยะเวลา 4 เดือนกับ 30 วัน (หรือประมาณ 5 เดือน) จะถือว่าหลุดจำนำ

    • มุมมองของการออม คือ ก่อนจะซื้ออะไรควรคิดว่าของที่ซื้อสามารถทำประโยชน์ให้กับเราในช่วงที่มีความจำเป็นเร่งด่วนได้หรือไม่ โดยเฉพาะรายจ่ายฟุ่มเฟือยจากการช้อปปิ้งซื้อเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้าที่มีมากเกินความจำเป็น 

ผู้ประมูลของหลุดจำนำ 
    • โอกาสในการสร้างรายได้จากของหลุดจำนำ โดยพ่อค้าหรือประชาชนทั่วไปที่ต้องการประมูลนั้นสามารถเข้าประมูลได้ทุกวันอังคาร พุธและพฤหัสบดี ที่สถานธนานุเคราะห์ 

    • ทองคำรูปพรรณ - เจ้าหน้าที่จะนำทองคำรูปพรรณมามัดรวมกันเป็นชุดๆ(ชุดละประมาณ 6 บาท) แล้วเปิดประมูล พ่อค้าที่ได้ทองจากการประมูลจะนำทองคำรูปพรรณนั้นมาหลอมรวมกันใหม่เป็นทองคำแท่งเพื่อขายต่อหรือนำไปขึ้นรูปเป็นทองคำรูปพรรณต่อไป

    • ทรัพย์เบ็ดเตล็ด - บุคคลที่ประมูลได้จะนำมาขายในร้านค้าของตนเองหรือขายที่ตลาดนัด โดยบุคคลทั่วไปที่มาเลือกซื้อสินค้าหลุดจำนำ เพราะมีราคาถูกและมีใบรับประกันว่าเป็นของหลุดจำนำจริงๆ

==> ทรัพย์สินที่สามารถนำมาจำนำได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  1. ทรัพย์สินมีค่า เช่น เงิน ทอง นาค เพชร พลอย
  2. ทรัพยสินเบ็ดเตล็ด เช่น นาฬิกา เครื่องมือช่าง เครื่องใช้ไฟฟ้า ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า

==> ขั้นตอนคร่าวๆในการจำนำทรัพย์สิน
  1. บอกจำนวนเงินของทรัพย์สินที่เราต้องการมาจำนำว่าต้องการได้เงินเท่าไหร่
  2. หลงจู๊จะตรวจดูทรัพย์สินแล้วประเมินราคาอีกครั้ง
  3. ถ้าตกลงราคาได้แล้วจะบันทึกข้อมูลแล้วออกตั๋วจำนำ
  4. พิมพ์ลายนิ้วมือแทนการเซ็นชื่อเพราะลายนิ้วมือปลอมแปลงไม่ได้
  5. เจ้าหน้าที่จะนำทรัพย์สินนั้นไปเก็บในห้องมั่นคง
  6. ถ้ามีเงินก็มาไถ่คืน แต่ถ้าครบกำหนดแล้วไม่ไถ่ถอนหรือไม่ส่งดอกเบี้ยก็จะหลุดจำนำและนำไปประมูลต่อไป

==========================================================

ขอขอบคุณวีดีโอที่ทำให้เรารู้จักโรงรับจำนำมากขึ้น







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น