วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2557

การออมเงินที่ได้ประโยชน์ 3 ต่อ


การหาแหล่งพักเงินที่ตรงกับเป้าหมายการใช้เงินนั้นเป็นสิ่งสำคัญ คือ
  • เป้าหมายการใช้เงินในระยะสั้น ==> ฝากเงินหรือลงทุนระยะสั้น
  • เป้าหมายการใช้เงินระยะยาว ==> ฝากเงินหรือลงทุนระยะยาว 
ตัวอย่างแหล่งพักเงินกับเป้าหมาย
  • ต้องการเก็บเงินไปเที่ยวต่างประเทศในอีก 5 เดือนข้างหน้า โดยออมเงินใน LTF 
    • ไม่ถูกต้อง เพราะ LTF เป็นการลงทุนที่ขายได้เมื่อครบกำหนด 5 ปี แต่ระยะเวลาที่ต้องการใช้เงินในอีก 5 เดือนข้างหน้า เป็นระยะเวลาที่แตกต่างกัน 
    • ที่ถูกต้องควรฝากเงินในรูปแบบฝากประออมทรัพย์หรือฝากประจำที่ครบกำหนด 3 เดือน 
  • ต้องการเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณอายุ 60 ปี โดยนำเงินทั้งหมดซื้อหุ้นเก็งกำไร
    • ไม่ถูกต้อง จากความเสี่ยงของการลงทุนเพราะไม่กระจายการลงทุน สมมติว่าถ้าช่วงนั้นเราเจอแจ็กพอตเป็นวิกฤตเศรษฐกิจทำให้สถาบันการเงินล้มลงอีกครั้งก็อาจจะต้องร้องโฮ เพราะเงินที่เก็บไว้ใช้หลังเกษียณอาจจะลดลง 
    • ที่ถูกต้องควรออมไว้ในแหล่งพักเงินสำหรับคนเกษียณในรูปแบบ RMF หรือ ประกันชีวิตชนิดบำนาญ แต่ถ้าต้องการลงทุนหุ้นควรจัดพอร์ตการลงทุนที่ไม่ให้น้ำหนักกับการลงทุนในหุ้นมากเกินไป
เราควรตั้งเป้าหมายก่อนว่าจะออมเงินไปเพื่ออะไร แล้วจึงศึกษาว่ามีแหล่งพักเงินอะไรบ้างที่ตอบโจทย์กับเราบ้าง แต่ถ้ามีการออมเงินหลายวิธีก็ดูความเสี่ยงที่เรายอมรับได้

เป้าหมาย ==> *แหล่งพักเงิน ==> ความเสี่ยงที่ยอมรับได้

*หมายเหตุ ใช้คำพูดให้ง่ายโดยใช้คำพูดแทนความหมาย
แหล่งพักเงิน คือ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินในตลาดเงินและตลาดทุน

เราขอแนะนำวิธีออมเงินที่จะได้รับประโยชน์ 2-3 ต่อ โดยใช้แหล่งพักเงินให้เหมาะกับเป้าหมายการใช้เงิน วิธีการเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ผู้อ่านสามารถนำมาปรับใช้ให้ตรงกับเป้าหมายของแต่ละคน เช่น เก็บเงินเพื่อประกอบธุรกิจส่วน เก็บเงินเพื่อสร้างครอบครัว เก็บเงินก้อนเพื่อซื้อบ้าน ฯลฯ

วิธีการออมเงินเพื่อการศึกษาของลูก
  1. ระยะยาวได้รับประโยชน์ 3 ต่อ
  2. ระยะปานกลางได้รับประโยชน์ 2 ต่อ
1. การออมเงินระยะยาว
วิธีการออมที่ได้ประโยชน์ 3 ต่อ  คือ
  • ได้ลดหย่อนภาษี 
    • ลดหย่อนภาษีที่ไม่เกิน 100,000 บาท(ที่เรียกทั่วไปว่า "แสนบาทแรก") ในตัวอย่างนี้ลดหย่อนภาษีได้ปีละ 74,700 บาทจำนวน 7 ปี(ลดหย่อนได้เฉพาะปีที่จ่ายเท่านั้น)
  • มีเงินเพื่อการศึกษาลูก
    • มั่นใจว่ามีเงินก้อนเพื่อการศึกษาลูกในระดับมหาวิทยาลัยในจำนวนที่แน่นอน
  • คุ้มครองชีวิต
    • ได้รับความคุ้มครองชีวิต 15 ปี
การวางแผนออมเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยให้ลูกนั้นต้องใช้วินัยเรื่องการออมค่อนข้างสูงเพราะเป็นการออมระยะยาว ดังนั้น จึงคัดเลือกแหล่งพักเงินระยะยาวที่มีระยะเวลาพอดีกับช่วงที่จะใช้เงินและมีลักษณะการบังคับให้ออมโดยอัตโนมัติ

จากเงิื่อนไขข้างต้นเราเลือกแหล่งพักเงินเป็นประกันชีวิตสะสมทรัพย์ 15 ปี ชำระเบี้ยประกัน 7 ปี โดยเริ่มออมตั้งแต่ลูกอายุ 3 ปี เพื่อใช้ในระดับมหาวิทยาลัยขณะที่ลูกอายุ 18 ปี


การเลือกว่าจะทำทุนประกันที่เท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละคน(ไม่ได้ขายของแต่ยกตัวอย่างเพื่อสร้างความเข้าใจเท่านั้น) ในตัวอย่างนี้ คุณอภินิหารเงินออมอายุ 30 ปีต้องการวางแผนการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยให้ลูก โดยเลือกทำทุนประกัน 300,000 บาท จ่ายชำระเบี้ยประกัน 7 ปีและได้รับความคุ้มครอง 15 ปี ซึ่งมีเงื่อนไขกรมธรรม์ดังนี้
  • ชำระเบี้ยประกันปีละ 74,700 บาท(แบ่งเงินออมเดือนละ 6,225 บาท/เดือน อ่านวิธีการออมเงินเพิ่มเติมได้ที่ "สร้างเงินล้านได้จากเงินสะสม 6,209 บาท")
  • ได้รับเงินคืน 4% ทุก 2 ปี คือ 12,000 บาท
  • ได้รับเงินตลอดระยะเวลา 15 ปีทั้งหมด 609,000 บาท
  • เงินปันผลแล้วแต่บริษัทประกันจะจ่ายซึ่งระบุเป็นรายปี

สรุปว่า เราออมเงินปีละ 74,700 บาท ระยะเวลาทั้งหมด 7 ปี ครบกำหนดได้รับเงินคืนขณะที่ลูกอายุ 18 ปี คือ 525,000 บาทรวมกับเงินสดรับคืนตลอดระยะเวลา 15 ปีคือ 84,000 บาท รวมทั้งสิ้น 609,000 บาท เก็บเงินส่วนนี้ให้ลูกเพื่อเป็นทุนการศึกษาในระดับมหาวิยาลัย
2. การออมเงินระยะปานกลาง
วิธีการออมที่ได้ประโยชน์ 2 ต่อ คือ
  • ได้ลดหย่อนภาษี ตามฐานภาษีของเรา
  • มีเงินเพื่อการศึกษาลูก ในปีที่ครบกำหนดขาย
ข้อกำหนดของ LTF ที่ขายได้เมื่อครบ 5 ปีนั้นมีประโยชน์ในแง่การสร้างนิสัยออมเงินเพื่อเป้าหมายระยะปานกลางที่มากกว่าการลดหย่อนภาษี จากตัวอย่างตารางข้างล่างนี้จะเป็นการจัดระบบการออมเงินเพื่อเป้าหมายทุนการศึกษาของลูก


สรุปว่า
  • เราซื้อ LTF กองที่ 1 ขณะที่ลูกอายุ 1 ปี เมื่อครบ 5 ปีจึงขายกองทุนเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้ลูกขณะที่ลูกอายุ 5 ปี
  • เราซื้อ LTF กองที่ 2 ขณะที่ลูกอายุ 2 ปี เมื่อครบ 5 ปีจึงขายกองทุนเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้ลูกขณะที่ลูกอายุ 6 ปี
  • ซื้อ LTF และขายลักษณะแบบนี้ไปเรื่อยๆ 

แหล่งพักเงินออมที่ดีนั้นควรตอบโจทย์กับเป้าหมายการออมของเรา แต่การมีวินัยเรื่องการออมนั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน บางครั้งเราอาจจะต้องยอมสูญเสียความสุขในระยะสั้นเพื่อเป้าหมายระยะยาว แต่เป็นความสูญเสียที่มีผลลัพธ์เป็นความสำเร็จและความภาคภูมิใจที่ทำให้เราบรรลุเป้าหมายในสิ่งที่เราต้องการ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น