แค่ได้ยินคำนี้ก็ถึงกับมึนกันเลย ฉันก็เป็นอีกคนนึงที่ไม่ค่อยชอบภาษีเอาซะเลย สาเหตุหลักคงมาจาก
ภาษาที่อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่ แปลไทยเป็นไทยก็ยังอ่านแล้วงง แต่เพราะอยากเป็น
นักวางแผนการเงินก็ต้องพยายาเอาชนะมันให้ได้ ต้องใจเย็นๆเวลาอ่าน ท่องไว้ว่าพุทโธ..พุทโธ...
พอเข้ารับการอบรม CFP ชุดวิชาที่ 5 เรื่องการวางแผนภาษีและมรดก ก็ทำให้เข้าใจขึ้นบ้าง
พอเข้าใจแล้วก็สนุกดีแฮะ แค่เรารู้กฎหมายแล้วใช้สิทธิ์ประโยชน์ต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดก็ทำให้เงิน
ในกระเป๋าของเราเยอะขึ้น
ล่าสุด "ครม. อนุมัติให้หักค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาช่วยประชาชนน้ำท่วมทั้งค่าซ่อมบ้าน
ได้ไม่เกิน1แสนซ่อมรถไม่เกิน3หมื่น"
โดยสาระสำคัญของร่างนี้ คือ
1. มาตรการให้หักค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นค่าใช้จ่ายซ่อมแซม ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่เป็น
อสังหาริมทรัพย์ ทั้งอาคารที่อยู่เขตอสังหาริมทรัพย์ ห้องชุด อาคารชุด และทรัพย์สิน ที่มีการประกอบ
ติดตั้งกับตัวอาคารที่เกิน 100,000 บาท โดยทรัพย์สินนั้นจะต้องได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก
อุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. – 31 ธ.ค. และอยู่ในท้องที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่ประสบ
อุทกภัย โดยได้รับเงินไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนกรณีบุคคลที่ยกเว้นการใช้สิทธิในการเสียภาษี ในปี
2554 – 2555 ให้ได้รับสิทธิยกเว้นทั้ง 2 ปี ไม่ให้รวมกันเกิน 100,000 บาท
2. เรื่องหักภาษีซ่อมแซมรถยนต์ โดยกำหนดให้หักค่าภาษีในการยกเว้นภาษีเงินได้ จ่ายเป็นค่าซ่อม
แซมรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมรถยนต์ ไม่เกิน 30,000บาท
โดยมีหลักเกณฑ์ในการสังเกตดังนี้ เกิดเหตุตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. – 31 ธ.ค. ผู้ที่ได้รับความเสียหายจะ
ต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิรถยนต์หรือผู้เช่า ซื้อที่ได้รับการซ่อมแซม อยู่ในท้องที่ที่ทางราชการประกาศ
ให้เป็นพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยและต้องอาศัย อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวด้วย หากถ้ามีรถยนต์เกินกว่า 1 คัน ให้
ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีตามจำนวนจ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท.
ที่มา: http://www.dailynews.co.th/businesss/6023
ถ้าเรามองข้ามสิ่งเหล่านี้ก็อาจจะทำให้เราเสียประโยชน์ได้นะค่ะ การลดหย่อยหรือการหักค่าใช้จ่าย
ต่างๆจะมีการเปลี่ยนแปลงไปทุกปี ต้องคอยติดตามทุกปี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐว่าต้อง
การส่งเสริมทางด้านใด แม้บางคนคิดว่าอาจจะเป็นจำนวนไม่มาก แต่ก็สามารถทำให้เราแบ่งเบารายจ่าย
ได้บ้างนะค่ะ
การเครดิตภาษีเงินปันผล
ถ้านักลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์และมีการจ่ายเงินปันผล นักลงทุนก็จะได้รับเงินนั้นไม่เต็มจำนวน
เพราะเงินนั้นได้ถูกจ่ายภาษี 2 ครั้ง คือ ภาษีนิติบุคคล กับภาษีหัก ณ ที่จ่าย มาแล้ว
ตัวอย่าง เราซื้อหุ้นบริษัท ABC ซึ่งมีกำไรสุทธิ 100 บาท โดยที่บริษัทเสียภาษีนิติบุคคล 30%
คือ 30 บาท เหลือเป็นเงินได้หลังจากเสียภาษีนิติบุคคล คือ 70 บาท แล้วมีการประกาศจ่ายเงินปันผล
นักลงทุนต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% จาก 70 บาท เหลือเป็นเงินปันผลถึงมือนักลงทุน 63 บาท
ซึ่งนักลงทุนจะเห็นตัวเลข 63 เท่านั้น โดยที่เราไม่รู้ฐานเงินจริงๆที่เราต้องเสียภาษีเท่าไหร่
และเสียภาษีไปแล้วเท่าไหร่
------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิธีการคิดเครดิตภาษี
เครดิตภาษีเงินปันผล = เงินปันผล x ค่าคงที่แปลงเครดิตภาษีเงินปันผล*
ค่าคงที่แปลงเครดิตภาษีเงินปันผล* คือ อัตราภาษี/100-อัตราภาษี
เช่น ภาษีนิติบุคคล คือ 30% ตัวคูณก็จะเป็น 30/100-30 จะเป็นตัวเลข 3/7
ตัวอย่าง ถ้าได้ร้ับเงินปันผล 70,000 บาท ซึ่งบริษัทนั้นเสียภาษีนิติบุคคล 30% เครดิตภาษีเท่าไหร่
วิธีการคำนวณ
เครดิตภาษีเงินปันผล = 70,000 x 3/7
= 30,000 บาท
เงินจำนวน 30,000 บาทเป็นเงินภาษีที่เราจ่ายไปแล้วตั้งแต่ขั้นตอนเสียภาษีนิติบุคคล ถ้าเราลอง
นำมารวมกับรายได้พึงประเมินแล้วอาจจะได้คืนก็ได้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
กระบวนการเครดิตภาษีเงินปันผล
ตัวอย่าง นาย ก มีเงินได้จากเงินปันผลอย่างเดียวจำนวน 700,000 บาท และได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
10% คือ 70,000 บาท
หมายเหตุ ; มีการหักค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000 บาทเท่านั้น , ภาษีนิติบุคคล 30%
- นาย ก ได้เงินเครดิตภาษีเท่าไหร่
- นาย ก เสียภาษีเท่าไหร่
- นาย ก จะได้คืนภาษีหรือไม่
วิฺธีคิด
1. นาย ก ได้เงินเครดิตภาษีเท่าไหร่
นาย ก ได้เงินเครดิตภาษี = 700,000 x 3/7
จะได้เงินภาษีที่จ่ายไปแล้ว คือ 300,000 บาท
2. นาย ก เสียภาษีเท่าไหร่
เนื่องจากว่าภาษีเงินปันผลจัดอยู่เงินได้ประเภท 40(4) จึงต้องคำนวณภาษี 2 แบบ
- ยื่นแบบ ภงด. 90
จากข้อที่ 1 เงินภาษีที่นาย ก เสียไปแล้ว 300,000 บาท เมื่อนำมารวมกับเงินปันผล 700,000 บาท
ก็จะเป็นรานได้พึ่งประเมินที่แท้จริง 1,000,000 บาท ก็ใช้เงินจำนวนนี้แหละมายื่นแบบ ภงด 90
เมื่อเป็นเงินได้ 40(4) ก็ไม่มีหักค่าใช้จ่าย จากหมายเหตุบอกว่ามีแต่ค่าลดหย่อน 30,000 บาท
ดังนั้นเงินได้พึ่งประเมินสุทธิ คือ 1,000,000 - 30,000 = 970,000 บาท
ซึ่งจะเสียภาษีฐาน 20% คือ เสียภาษีทั้งสิ้น 129,000 บาท
2. คำนวนวิธีที่ 2 คือ เงินได้พึงประเมิน x อัตราร้อยละ 5%
เงินเสียภาษีตามวิธีที่ 2 คือ 1,000,000 x 0.5% =5,000 บาท
ผลลัพธ์ออกมาน้อยกว่าวิธีที่ 1 ดังนั้นจึงใช้ตัวเลขที่สูงกว่าคือ 129,000 บาท
*หมายเหตุ เงินได้ประเภท 40(2) - 40(8) ถ้ามีเงินไ้ด้พึงประเมินเกิน 60,000 บาทขึ้นไปต้อง
คำนวณวิธีที่ 2 ด้วย โดยจะใช้ตัวเลขที่มีการเสียภาษีสูงกว่ามาเสียภาษี
3. นาย ก จะได้คืนภาษีหรือไม่
จากคำตอบของข้อที่ 1 และข้อที่ 2 ก็จะบอกได้ว่าเงินปันผลของ นาย ก นั้นได้เสียภาษีนิติบุคคล
ของบริษัทที่นาย ก ไปลงทุนแล้ว 300,000 บาทและภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% คือ 70,000 บาท
สรุปว่านาย ก เสียภาษีไปแล้ว 370,000 บาท ซึ่งถ้านำเงินได้พึงประเมินที่แท้จริงมาคิดคือ
1,000,000 บาท นาย ก จะเสียภาษี 129,000 บาทเท่านั้น ซึ่งก็หมายความว่า นาย ก ได้เสียภาษี
มากเกินความเป็นจริง ดั้งนั้น นาย ก ได้เงินคืนจำนวน 370,000 - 129,000 = 241,000 บาท
มากเกินความเป็นจริง ดั้งนั้น นาย ก ได้เงินคืนจำนวน 370,000 - 129,000 = 241,000 บาท
ทั้งนี้เพื่อรองรับการเปิด AEC ก็มีการพิจารณาว่าอาจจะไม่ต้องเสียภาษีจากเงินปันผล 10%
แต่ก็ต้องรอประกาศอย่างเป็นทางการก่อนค่ะ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
เรื่องการลงทุน บางคนลงทุนในหุ้นได้รับเงินปันผลแล้วลืมเครดิตภาษีก็คิดว่าปล่อยมันไป
เพราะคิดว่าได้ไม่เท่าไหร่ ช้าก่อน...อย่าพึ่งคิดเช่นนั้น เราน่าจะลองสละเวลาเพียงเล็กน้อยนำมารวมกับ
รายได้ของเราและคำนวณภาษี ถ้าผลออกมาเสียภาษีเพิ่มก็ไม่ต้องยื่น แต่ในบางครั้งเอามารวมแล้วยัง
ได้ภาษีคืนก็มีนะค่ะ ถ้าใครลืมก็ยังสามารถนำมาคำนวณได้นะค่ะ ทางกรมสรรพากรเค้าให้ยื่นเพิ่มได้
ลองใช้วิธีนี้เป็นการเพิ่มเงินออมกันนะค่ะ
เรามาช่วยกันคิดวิธีการออมเงินกันเถอะค่ะ \\^_^//
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น