หรือรู้สึกว่่าทำไมเพิ่งได้เงินมาแล้วมันถึงหมดไปเร็วจัง @_@!!
จากนั้นก็มองไปรอบๆตัวดูเหมือนว่าเรายังไม่ได้จ่ายอะไรนะ แต่ทำไมเงินมันหายไป
ต้องมีขโมยแน่ๆเลย ..... แล้วอะไรหละที่มาขโมยเงินของเราไปนะ อยากรู้จังเลย??
เรามาร่วมกันออกตามหาแหล่งใช้ไปของเงินกันเถอะค่ะ
วิธีการที่ทำได้ง่ายๆ ได้ยินมาก็เยอะ แต่ไม่ค่อยทำกันสักเท่าไหร่ เพราะแพ้ความขี้เกียจ เหอะๆ
แค่เราจดบันทึกรายรับ รายจ่ายทุกวันก็เท่านั้นเองค่ะ
บางคนเคยทำแล้วหละ แรกๆก็จด หลังๆก็ลืม จนต่อมากลายเป็นขี้เกียจ (เคยเป็นเหมือนกัน)
เราต้องทำจนเป็นนิสัยจนเกิดความเคยชิน เหมือนกับเราหิวแล้วต้องกินข้าวหนะค่ะ
ถ้าเราต้องการสร้างความมั่งคั่งในอนาคตเราก็ต้องเริ่มต้นจากการอุดรอยรั่วใกล้ตัวก่อน
ซึ่งบางคนคิดว่าไม่สำคัญ เพราะคิดว่าเรารู้แล้วว่าเรามีรายได้เท่าไหร่
เอาไปลงทุนซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อให้เงินงอกเลยเท่าไหร่
ซื้อของใช้ของกินเท่าไหร่คร่าวๆก็พอแล้ว ไม่เห็นจะต้องมาลงรายละเอียดเลยว่าใช้อะไรไปบ้าง
เรามาดูกันค่ะว่าการจดบันทึกมันให้อะไรมากกว่าที่คุณคิด
มาดูตัวอย่างการจดบันทึกกันนะค่ะ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
รายจ่ายประจำเดือน......
รายได้
เงินเดือน
รายได้จากการออมและการลงทุน
รวมรายได้
รายจ่าย
เงินออม
เงินลงทุน(LTF,RMF,...)
รายจ่ายคงที่
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าผ่อนรถ
ค่าผ่อนบ้าน
รายจ่ายผันแปร
ค่าอาหารและเครื่องใช้ในบ้าน
ค่าสาธารณูปโภค
ค่าโทรศัพท์
ค่าเดินทาง
ค่าการศึกษาบุตร
ค่าใช้จ่ายบุตรอื่นๆ
ค่าเสื้อผ้า เครื่องประดับ
ค่าใช้จ่ายเพื่อการพักผ่อน
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
รวมรายจ่าย
กระแสเงินสดสุทธิ (รายได้-รายจ่าย)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
เราเรียกตารางนี้ทางวิชาการว่า "งบกระแสเงินสด" แต่ปาจะเรียกว่างบรายรับ รายจ่ายละกันนะค่ะ
มันค่อนข้างตรงตัว และเข้าใจง่ายดีค่ะ เราก็พอมองออกแล้วว่าก็จะประกอบด้วยรายรับและรายจ่าย
ซึ่งรายรับก็เขียนให้หมดเลยค่ะว่าเรามีแหล่งรายได้มาจากแห่งหนตำบลใดบ้าง
แล้วก็บันทึกรายจ่าย ซึ่งจะเห็นว่าจะเป็นเงินออมขึ้นต้นเลย บางคนงงว่าเงินออมเป็นรายจ่ายได้ไง
ก็เราออมไว้ใช้นะไม่ใช้รายจ่าย นี่แหละค่ะเป็นที่มาของ "ออมก่อนใช้" ให้เราคิดซะว่าเป็นรายจ่าย
ชนิดนึ่งหนะค่ะ พอเงินเข้ากระเป๋าเราต้องเอาเงินไปออมสักที่นึง เช่น ฝากประจำกับธนาคาร
ซื้อกองทุนแบบเฉลี่ยซื้อทุกเดือน ฯลฯ ชนิดไม่ต้องเห็นเงินกันเลย เราจะได้ไม่เสียดายแล้วเผลอไปใช้
ถ้าถามว่าต้องออมเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม ไม่ควรต่ำว่า 10% ของรายได้ในแต่ละเดือน
จากนั้นเราค่อยใช้ส่วนที่เหลือ นอกจากรายจ่ายเรื่องการออมแล้วก็จะมีการแบ่งรายจ่ายเป็น 2 ชนิด
คือ รายจ่ายคงที่ และรายจ่ายผันแปร เรียกซะยากเชียว แล้วเราจะแบ่งกันยังไงหละมีรายจ่ายตั้งเยอะ
สำหรับรายจ่ายคงที่ก็ให้เรานึกถึงว่าเงินที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้ เช่น เบี้ยประกันชีวิต
เงินผ่อนบ้าน เงินผ่อนรถ ส่วนรายจ่ายผันแปร คือ รายจ่ายที่เราสามารถควบคุมได้นั่นเองค่ะ
ควบคุมในที่นี้คือ เราสามารถลดหรือเพิ่มได้ตลอดเวลาตามความจำเป็น
บรรทัดที่สำคัญที่สุดสำหรับงบนี้คือ กระแสเงินสดสุทธิ ถ้าออกมาเป็นบวกแสดงว่าเรามีรายได้
มากกว่ารายจ่าย แน่หละถ้าเป็นลบแสดงว่าเดือนนั้นเราช๊อตแล้วหละ
การแบ่งแยกรายจ่ายอย่างชัดเจนนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพราะเราจะได้รู้ว่าเราเสียเงินไปกับอะไร
มากที่สุดในแต่ละเดือน เช่น
- ค่าโทรศัพท์จ่าย 1-2 พันต่อเดือน เราน่าจะหาวิธีโทรแบบถูกๆได้ง่ายๆในยุค 3G อย่างการโทรทางเน็ตก็ได้เมาท์กันมันส์สนั่นเมืองและไม่เปลืองเงินค่าโทรอีกต่างหาก
- ค่าเสื้อผ้า เครื่องประดับ อันนี้ค่อนข้างลดลำบากสำหรับขาช้อป แต่ก่อนซื้อก็ต้องคิดว่าสิ่งต่างๆที่เราซื้อไปเมื่อเจอป้าย sales ครั้งสุดท้ายเราใส่ครบแล้วรึยัง เพื่อเป็นการป้องกันเงินในกระเป๋าเราก็น่าใช้วิธีการตั้งงบไว้ว่าใช้ได้เดือนละเท่าไหร่ ถ้าเดือนไหนซื้อครบแล้วก็ไม่ต้องซื้ออีก แต่เดือนไหนซื้อไม่ึถึงงบที่ตั้งไว้ก็ไม่ต้องตั้งใจซื้อให้ครบก็ได้ค่ะ เอาไว้เป็นเงินออม หรือเงินบริจาคก็ได้
- ค่าใช้จ่ายบุตรอื่นๆ ซึ่งแล้วแต่อายุของบุตรด้วย ของบางอย่างก็ต้องใช้ให้เหมาะกับวัยและความจำเป็น ไม่ใช่ว่าเห็นเพื่อนมีอะไรแล้วก็ต้องมีเหมือนกัน ทั้งนี้ต้องอธิบายให้บุตรเข้าใจด้วยว่าควรมีหรือไม่มีไว้ใช้ และเพราะอะไรถ้าไม่ได้ใช้เหมือนเพื่อน
- ภาษีเงินได้บุคคล การประหยัดภาษีจากการใช้หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆใช้ครบแล้วรึยัง เพราะถ้าเราประหยัดภาษีได้จะทำให้รายจ่ายของเราน้อยลง
ก็เป็นตัวอย่างคร่าวๆ ไม่สามารถทำได้เหมือนกันทุกคนเพราะขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของแต่ละคนค่ะ
เราจดไปสัก 3-4 เดือนก็จะเห็นภาพทุกอย่างชัดขึ้นว่าเงินในกระเป๋าของเราถูกอะไรขโมยไปบ้าง
พอจดบันทึกจนชินแล้วเราก็จะได้เปรียบเทียบได้ว่าปีนี้กับปีที่แล้วเป็นอย่างไรบ้าง จะได้ภาพที่ชัดเจนค่ะ
หนี้สินที่ควรมีวิธีคำนวณตามนี้ค่ะ http://pajareep.blogspot.com/2012/05/blog-post_21.html
หนี้สินที่ควรมีวิธีคำนวณตามนี้ค่ะ http://pajareep.blogspot.com/2012/05/blog-post_21.html
"ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเริ่มต้นนะค่ะ"
บทความน่าสนใจ
รู้อะไรไม่สู้ "รู้งี้" กับการวางแผนเกษียณ
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/06/blog-post.html
บทเรียนในความมืดกับการวางแผนการเงิน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post_24.html
การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์สภาพคล่องส่วนบุคคล
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_11.html
คนล้มละลาย เศรษฐกิจก็ล้มละลาย
==> http://pajareep.blogspot.com/2012/10/blog-post.html
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/06/blog-post.html
บทเรียนในความมืดกับการวางแผนการเงิน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post_24.html
การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์สภาพคล่องส่วนบุคคล
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_11.html
คนล้มละลาย เศรษฐกิจก็ล้มละลาย
==> http://pajareep.blogspot.com/2012/10/blog-post.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น