วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เครียด...ช้อป....เป็นหนี้ (@_@)!!

เริ่มรู้สึกไหมค่ะว่าช่วงนี้มีแต่สินค้าลดราคา ยิ่ง 50-70% ก็ทำให้ต่อมอยากได้พุ่งปรี๊ดๆ

แน่นอนว่าสินค้าลดราคาเป็นช่วงที่ดีที่ทำให้เราได้ซื้อของราคาถูก แต่ก็ต้องตัดสินใจก่อนว่า

ราคาถูกและจำเป็นต่อเรามากแค่ไหน การที่เราตั้งใจไปซื้อกับไปเดินแก้เครียดนั้นส่วนของอารมณ์

ที่ใช้ในการซื้อของนั้นแตกต่างกันมาก ถ้าเราตั้งใจไปซื้อก็จะได้ของที่เราต้องการจริงๆกลับมา

แต่ถ้าเราไปเดินดูของถูกแก้เครียดแล้วจับจ่ายอย่างสนุกสนาน อารมณ์ดีตอนได้ซื้อ แต่คงต้องหงุดหงิด

กับรายจ่ายที่ตามมาแน่นอน สุดท้ายแล้วเราจะได้ของอะไรก็ไม่รู้กลับมา แบกถุงเต็มไม้เต็มมือไปหมด

บางอย่างก็คิดว่าเราซื้อมาทำไมกัน หรือว่าไม่คิดจะซื้อแค่ไปเดินขำๆ แต่ก็เสียเงินแบบไม่ขำ 

ทุกคนมีความอยากได้เหมือนกัน เพีียงแต่เราจะบำบัดยังไงเพื่อให้ต่อมนี้หยุดหลั่งสารเสียเงินออกมา 

ทางออกแบบกำปั้นทุบดินในยามที่เราเริ่มรู้ตัวว่าอยากจ่ายเงินแก้เครียดก็คือ อย่าไปเดินซื้อของ

ให้ไปหากิจกรรมอย่างอื่นทำ อยากจะยกเคสของคนรอบตัวมาเขียน เป็นตัวอย่างขำๆ 

ที่ตอนนี้ชักไม่ขำกับสภาพคล่องทางการเงินซะแ้ล้วซิ


ตัวอย่างที่ 1 จะให้ชื่อเรื่องว่า "อกหักซ้ำซาก"

เพื่อนคนนี้กำลังเลิกกับแฟนที่คบกันมาได้ 8 ปี ตอนนี้อยู่ในระยะทำใจ อยากจะให้เวลามันผ่านไปเร็วๆ

โดยการใช้เวลาทำกิจกรรมอะไรก็ได้ที่จะไม่ต้องคิดถึง วิธีการบำบัดคือ การไปเที่ยวตามที่ต่างๆ

ขับรถไปต่างจังหวัด(เสียต่างน้ำมันวิ่งต่างจังหวัดเป็นเกือบหมื่นบาท ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่ติดแก๊ส)

นัดสังสรรค์กับเืพื่อนบ้าง ซื้อของบ้าง น่าจะมีอีกเยอะแต่มันคงเล่าไม่หมด แต่ตัวอย่างกิจกรรม

เพื่อลืมเธอแต่ละอย่างล้วนทำให้เสียเงินโดยไม่จำเป็นจริงๆ เพราะนอกจากอกหักเสียสุขภาพจิต

แล้วยังต้องจ่ายเงินให้เสียสุขภาพการออมเงินอีกด้วย อย่างนี้ไม่เรียกว่าอกหักซ้ำซากก็ไม่ได้แล้วหละ

เพื่อนก็โทรมาถามว่าทำยังไงดี อยากจะลืมแต่ทำยังไงก็ไม่ลืม เราก็บอกว่าถ้าทำกิจกรรมเืพื่อตัวเอง

แล้วลืมไม่ได้ก็ลองหันมาทำกิจกรรมเพื่อคนอื่นดูบ้าง เปลี่ยนช่วงเวลาความเสียใจ

เป็นการช่วยเหลือคนอื่น ก็อาจจะทำให้ช่วงเวลานั้นเป็นความทรงจำดีๆขึ้นมาได้

และสุดท้ายไม่กระทบเงินออมของเราอีกด้วย เช่น 
  • ไปนั่งวิปัสสนา ไม่ต้องไปที่เคร่งครัดมากก็ได้เพราะจะทำให้เครียดไปกันใหญ่ อาจจะเริ่มจากวัดที่เราคุ้นเคยก็ได้ เพื่อไปสงบจิตใจ บางครั้งอาจจะเห็นทางสว่าง บวชไม่สึกเลยก็ได
  • ไปสถานสงเคราะห์ บ้านคนชรา เด็กพิการ บ้านคนตาบอด ฯลฯ ลองใช้เวลาดับจิตใจที่ฟุ้งซ่านไปทำจิตอาสาอาจจะไปอ่านหนังสือให้ฟัง ป้อนข้าวป้อนน้ำ กิจกรรมมีทำเยอะมากมาย ทำไปทำมาเราอาจจะคิดได้ว่าทำไมเวลามันผ่านไปเร็วจัง แล้วเราจะรู้ว่าเวลาไร้ค่าของเรามีค่ากับคนด้อยโอกาสมาแค่ไหน
  • ทำกิจกรรมระดมเงินบริจาคเพื่อผู้ยากไร้ หรือสัตว์ที่ถูกทำร้าย

"วิธีการบำบัดความเสียใจของแต่ละคนแตกต่างกัน 

แต่อย่าให้ผลของการแก้ปัญหานั้นสร้างปัญหาใหม่

เพราะปัญหาใหม่มักจะใหญ่กว่าเดิม"


ตัวอย่างที่ 2 จะให้ชื่อเรื่องว่า "ตักเตือนไปก็เท่านั้น มีประสบการณ์มันส์กว่าเยอะ"

เราชอบบอกคนรอบข้างว่า "เก็บเงินไว้บ้างนะ เงินเดือนออกอย่าใช้หมด ออมเงินก่อนค่อยเอามาใช้

ซื้อของใช้เท่าที่ทำเป็น ถ้าใครมีนิสัยฟุ่มเฟือยควรใช้เงินสดซื้อของดีกว่าบัตรเครดิตเพราะจะได้รู้ว่า

เราใช้จ่ายเงินไปเท่าไหร่แล้ว เพิ่งเริ่มงานก็ควรเริ่มเก็บเงินไว้ตอนเกษียณได้แล้ว ......." 

บางครั้งความหวังดีของเราก็กลายเป็นการสร้างความรำคาญให้คนอื่นได้เหมือนกัน ( * _* )!!

ดังนั้น เราควรเป็นคนหวังดีแต่พอดี พูดกล่าวตักเตือนแค่ 2 ครั้งก็น่าจะเพียงพอแล้ว ทำไมต้อง 2 ครั้ง

ครั้งแรกเป็นการบอกกล่าวว่าสิ่งที่ทำมันจะส่งผลเสียอย่างไร คนฟังก็อาจจะรับฟังแต่จะทำตามหรือไม่

ก็เป็นอีกเรื่องนึง แต่ถ้าทำเหมือนเดิมซ้ำอีกครั้งก็อาจจะเตือนครั้งที่สองเืพื่อเตือนความทรงจำ

เพราะอาจจะแค่ลืมไปเท่านั้น พฤติกรรมของมนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ว่าควรแก้ปัญหาอย่างไร

และถ้าบังเอิญการเีรียนรู้ไม่บังเกิดก็อาจจะทำพฤติกรรมเดิมๆซ้ำอีกครั้งก็จงปล่อยให้เค้าเผชิญ

ชะตากรรมจากผลของการกระทำนั้นเพื่อให้ประสบการณ์เป็นตัวสร้างควาำมจำให้ดีกว่า

เราอาจจะเตือนคนๆนึงให้ระวังเรื่องการใ้ช้เงินว่าอย่าซื้อของไม่จำเป็นมากเกินไปเพราะมันเกิน

ความสามารถในการหารายได้ของเรา และอย่าใช้บัตรเครดิตเพราะเราจะควบคุมการใช้จ่ายไม่ได้

จะมารู้ตัวอีกทีเราใช้เงินเดือนล่วงหน้ามาแล้ว 3 เดือน คำเตือนก็เหมือนลมผ่านหูก็ต้องให้เค้าฝันดีถึง

ยอดหนี้บัตรเครดิตแทนละกัน ถ้าสติกลับมาเร็วก็อาจจะรู้ตัวว่าต้องยกเลิกบัตร แล้วหาทางชำระหนี้

ให้เร็วที่สุดเพื่อที่ดอกเบี้ยไม่วิ่งทะลุเงินต้นไปซะก่อน เราเป็นหนี้ก็สามารถออมได้เหมือนกัน

ก็ต้องฝึกนิสัยข่มความฟุ่มเฟือยของตัวเอง อาจจะคิดวิธีส่วนตัวขึ้นมา เช่น ถ้าเป็นหนี้........บาท

ก็ต้องเก็บเงินออมไว้ 50% ของยอดหนี้ ซึ่งอาจจะเก็บไว้อีกส่วนหนึ่งกันไว้ว่าบางครั้งเราอาจจะประสบ

ปัญหาทางการเงินไม่สามารถชำระหนี้ได้ก็นำเงินส่วนที่กันไว้ก็มาชำระแทนได้ จะได้ไม่ผิดชำระหนี้

เครดิตของเราจะได้ไม่เสีย เพราะคำว่า "เครดิต"ในทางการเงินมีความสำคัญมากเป็นความน่าเชื่อถือ

ในการทำธุรกรรมต่างๆ ถ้าเกิดคุณทำงานใหม่ๆแล้วมีหนี้สินจนติดแบ็คลิสต์ ช่วงอายุที่เหลือของคุณ

จะทำอย่างไร ถ้าคุณต้องการกู้เงินมาทำธุรกิจส่วนตัว กู้เงินมาซื้อบ้าน กู้เงินมาซื้อรถ ฯลฯ

การกู้เงินต่างๆก็จะยากขึ้น เพราะคุณมีประวัติทางด้านความน่าเชื่อถือ เจ้าหนี้ก็ต้องคิดดอกเบี้ยแพง

เพราะกลัวคุณผิดนัดชำระ หรือถ้าทำธุรกิจส่วนตัวก็อาจจะทำให้ลูกค้าสงสัยในตัวเจ้าของกิจการ

ในทางกลับกันถ้าคุณมีเครดิตดีชำระหนี้ตรงเวลาไม่เคยผิดนัดชำระเจ้าหนี้ก็อาจจะให้กู้เงินมากกว่าเดิม

กิจการของคุณก็อาจจะสร้างหนี้เพื่อก่อให้เกิดรายได้มากขึ้น 


จากเรื่องสามก๊กตอนที่ขงเบ้งตีดพินเพื่อลวงกองทัพสุมาอี้ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของเรื่องเครดิต

แน่หละถ้าต่อสู้ด้วยทหารที่มีอยู่ในเมืองตอนนั้น ต้านทานกองทัพสุมาอี้ไม่ได้แน่นอน 

สู้ทำตัวชิวๆดีดพิณเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็ทำให้กองทัพสุมาอี้กลัวว่าเป็นอุบายก็ยกทัพกลับ

เพราะแบรนด์ชื่อขงเบ้งนั้นเก่งเรื่องอุบาย สุดท้ายก็ไม่เสียไพร่พลเลย ถ้าเครดิตไม่ดีก็ทำไม่ได้



หมายเหตุ : ก่อนจะจ่ายเงินซื้ออะไรก็ต้องมาดูก่อนว่าเราควรมีหนี้ส่วนตัวเท่าไหร่ เพื่อที่ว่าจะได้

ซื้อของอย่างสบายใจ คำนวณตามลิ้งค์นี้ค่ะ http://pajareep.blogspot.com/2012/05/blog-post_21.html










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น