หรืออาจจะใช้คำว่า "เสียเงินอย่างมีสติ" ก็ได้ค่ะ โดยมีวิธีการคิดดังนี้
1. ใช้ของจนเบื่อแล้วค่อยขาย ได้กำไรถึงสองต่อ
การซื้อของใช้ส่วนตัวแต่ละอย่างก็เหมือนการลงทุน ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า
เครื่องประดับ ฯลฯ ลองมาดูซิว่าแต่ละสัปดาห์คุณซื้อของเหล่านี้บ่อยแค่ไหน บางคนเดินเล่นในตลาด
นัดแถวที่ทำงานขำๆ ไม่คิดจะซื้ออะไร แต่พอเดินผ่านเห็นป้ายลดราคาก็ซื้อสักหน่อย
ราคาก็ไม่ได้แพงด้วยซิ ก็เลยจัดสักนิดนึง ซื้อไปซื้อมาก็ได้สัปดาห์ละ 1-2 ชุดเหมือนกัน
บางครั้งซื้อเสร็จแล้วก็มาบ่นกับตัวเองว่า เราซื้อไปทำไมกันทั้งที่ยังไม่มีเงินจ่ายค่าบัตรเครดิต ^_^!!
พอซื้อแล้วก็นำมาใส่ 1-2 ครั้งก็เบื่อละ จากนั้นก็เก็บเข้ากรุรอการบริจาค
ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปรับรองเงินเดือนมิเหลือเป็นแน่แท้ (*_*)
ดังนั้นเราต้องปฏิวัติวิธีการซื้อของใช้กันสักหน่อยละ โดยการคิดว่าของที่เราตั้งใจจะซื้อนั้น
ขายเป็นสินค้ามือสองได้ราคาเท่าไหร่หรือถ้านำมาขายต่อแล้วขาดทุนน้อยที่สุด
เราต้องคิดล่วงหน้าก่อนที่จะซื้อของนั้นๆ ซึ่งอินเตอร์เน็ตช่วยคุณได้
เราสามารถติดตามราคาสินค้ามือสองว่าราคาเท่าไหร่ บางครั้งมือหนึ่งกับสองก็ต่างกันเล็กน้อย
เราอาจจะได้ประหยัดโดยการใช้ของมือสองแทน หรือของบางอย่างจะมีมูลค่ามากขึ้น
แม้ว่าจะเป็นของมือสองก็ตาม
2. แลกของกันใช้ ใช้ของให้หมด
เพื่อนที่ทำงานรักสวยรักงามกันมาก โดยเฉพาะยาทาเล็บซื้อกันเข้าไป ก็มีอยู่แค่ 20 นิ้ว
ขวดนึงใช้กันไม่ถึงครึ่งก็เลิกใช้ละ ถ้าเอายาทาเล็บมากองรวมกันน่าจะกินฟูจิอิ่มไปหลายมื้อแล้วหละ
เข้าทำนองว่า "ไม่มีกินไม่ว่าแต่ฉันขอสวยไว้ก่อน" มันก็เป็นความสุขส่วนตัวอะนะ จะว่ากันไม่ได้
เครื่องสำอางบางอย่างซื้อมาแล้วควรใช้ให้หมดทีละอย่าง ใช้หมดแล้วค่อยซื้อใหม่ จะได้ประหยัดเงิน
ถ้าอยากรู้ว่าคุณเสียเงินไปเท่าไหร่กับของใหม่ที่ใช้ไม่เคยหมดก็ลองเอามากองรวมกันแล้วบวก
ราคาของแต่ละชิ้นรวมกันก็จะรู้ว่า เงินออมเราหายไปอยู่กับของแบบนี้เท่าไหร่ ถ้าเราใช้หมดทีละอย่าง
ก็จะรู้ว่าเราประหยัดเงินไปได้เท่าไหร่ หรือของบางอย่างสามารถแลกกันใช้ได้ก็น่าจะดี เช่น กระเป๋า
รองเท้า เสื้อผ้า เครื่องประดับ ฯลฯ เคยไหมว่าไปงานแต่งงานแต่ละครั้งก็ต้องซื้อเครื่องแต่งตัวใหม่
แก้ปัญหาไม่ยากถ้าเรามีเพื่อนรูปร่างพอๆกันก็สามารถแลกเสื้อผ้ากันใส่ได้ หรืออาจจะใช้วิธีการเช่าุชุด
ตามหน้าเว็ปไซด์มีเสื้อผ้าใส่ออกงานให้เลือกมากมาย
3. ซื้อของตามรายการที่จดเท่านั้น
การสร้างวินัยการออมจากการวางแผนรายจ่ายและทำตามอย่างเคร่งครัดจะทำให้เราไม่
ไขว้เขวในขณะที่เราเดินเืลือกซื้อของ เช่น ถ้าเราต้องการซื้อชุดทำงานก็ต้องตั้งงบประมาณว่าเท่าไหร่
เมื่อไปถึงห้างสรรพสินค้าแล้วควรเดินไปเฉพาะส่วนที่เราจะซื้อทันที เมื่อซื้อของครบแล้วตามงบที่ตั้ง
ก็ให้รีบกลับบ้าน เพียงแค่นี้ป้ายลดราคารอบตัวก็ไม่สามารถทำอะไรคุณได้
4. อย่าตัดสินใจซื้อของในทันที
ในกรณีที่บางคนไม่สามารถระงับอารมณ์ในการซื้อของลดราคาได้นั้น ก็มีวิธีระงับความอยาก
โดยการเดินดูสินค้าหลายๆร้าน สมมติว่าคุณเห็นสินค้าลดราคา 50% ในครั้งแรกก็อาจจะเกิดเป็นแรง
ซื้อได้ทันที ลองเดินดูสักแป๊บแล้วเดินออก จากนั้นไปเดินดูร้านอื่นๆ ดูสินค้าอย่างอื่นไปเรื่อยๆ
ลองดูสักชั่วโมงนึงว่าคุณยังคิดถึงสินค้าลดราคานั้นๆอยู่หรือไม่ ถ้าคุณลืมมันไปแล้วแสดงว่า
คุณใช้อารมณ์ในการซื้อแล้วหละ และโชคดีมากที่คุณไม่ได้ซื้อเพราะถ้าซื้อแล้วอาจจะมานั่งเสียใจ
ทีหลัง แต่ถ้าคุณยังคิดถึงมันตลอดเวลาแล้วไตร่ตรองดีแล้วว่ามันคุ้มที่จะซื้อ คุณก็จงเดินกลับไปซื้อ
เพราะการซื้อของในครั้งนี้ได้ผ่านการคิดทบทวนมาอย่างดีแล้ว
" การทำูธุรกิจจะได้กำไรมากขึ้นก็ต้อง เพิ่มราคาสินค้าหรือลดต้นทุนการผลิต
ก็เหมือนกับความมั่งคั่งส่วนตัวเรา ถ้าจะมีเงินมากขึ้นก็จะต้องเพิ่มรายได้หรือลดรายจ่าย
ถ้าทำได้อนาคตจะสดใสในวัยเกษียณ "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น