เราได้ความรู้ แต่จะรู้แบบไหนกันบ้างหละ
บางคนนำความรู้มาใช้ในทางด้านที่ดีก็เป็นประโยชน์แก่ตนเองและประเทศชาติ แต่บางคนก็นำความรู้แบบเดียวกันนั้นมาทำสิ่งที่เลวร้าย ตนเองก็รุ่งเรืองแต่ประเทศนั้นรุ่งริ่ง ความรู้ก็เหมือนดาบสองคมซึ่งมีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง ขึ้นอยู่กับคนที่นำมาใช้นั้นตีความว่าอย่างไร จากหลักการที่วางแผนมาดีแต่พอนำมาปฏิบัติแล้วก็ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้เพราะหลักการไม่ได้รวมปัจจัยผันแปรตัวสำคัญเข้าไปด้วย ซึ่งก็คือ อารมณ์ของมนุษย์
กำลังจะบอกว่า "ทฤษฎีกับปฏิบัติมันไม่เหมือนกัน"
ฟังหลักการใช้บัตรเครดิตก็ดีนะ สมมติเราซื้อสินค้าโดยใช้บัตรเครดิตวันนี้ก็ยังไม่ต้องจ่าย จะนำเงินมาชำระหลังจากนี้อีก 45 วัน(หรือแล้วแต่นโยบายของบัตรแต่่ละใบ) ระหว่าง 45 วันนั้นก็นำเงินไปสร้างดอกผลอย่างอื่น เช่น ฝากธนาคาร ไปลงทุน ให้เพื่อนยืมเงินฯลฯ พอถึงกำหนดเวลาก็นำมาจ่าย ได้ประโยชน์เพราะเราสามารถสร้างดอกผลจากเงินได้ถึง 45 วัน ฟังแล้วดูดีไปหมดเลยจริงๆ ขอถามหน่อยว่ามีใครทำตามหลักการที่คนขายบัตรเครดิตบอกบ้าง รบกวนเมล์มาบอกด้วยว่าคุณมีวิธีการลงทุนอย่างไรเืพื่อให้ผลตอบแทนภายใน 45 วัน ถ้าบอกว่าเอาไปลงทุนในหุ้นก็ได้ แต่คงยิ้มได้ตอนหุ้นขึ้นนะคะ ถ้าหุ้นลงหละก็เงินที่จะเอามาจ่ายก็หายไปไม่พอจ่ายเหมือกัน หลักการไม่ได้รวมอารมณ์ความฟุ้งเฟ้อของคนเข้าไปด้วย การจ่ายโดยใช้บัตรเครดิตเราไม่รู้ว่าจ่ายไปแล้วเท่าไหร่บ้างเพราะเงินสดไม่ได้ผ่านมือ กว่าจะมารู้ตัวอีกทีก็สิ้นเดือนตอนที่ใบเรียกเก็บหนี้มานั่นแหละ การใช้จ่ายโดยใช้เงินสดหรือบัตรเดบิตยังดีกว่าการใช้บัตรเีึครดิต เพราะมันจำกัดอยู่ในวงเงินที่เรามีอยู่ เราก็รู้หน้าตักตัวเองว่ามีเท่าไหร่
จากโปรโมชั่นบัตรเครดิตที่โหมโฆษณาจนแทบจำไม่ได้ละว่าโปรนี้ของบริษัทไหน โฆษณามากกว่าการรณรงค์ให้คนมาออมเงินซะอีก ไหนว่าอยากให้คนออมเงินมากขึ้นไงจ๊ะ ยิ่งรูดยิ่งได้แต้ม ยิ่งได้ของรางวัล เราเห็นแก่ส่วนลดหรือของขวัญก็ไม่ผิด แต่มันจะเริ่มหงุดหงิดกับยอดหนี้ที่เพิ่มขึ้น เราน่าจะเริ่มรู้สึกผิดได้แล้วว่าเราใช้จ่ายเกินความจำเป็นรึเปล่า มีเจ้าหน้าที่ธนาคารหนึ่งเคยบอกว่ารูดบัตรเครดิตเพื่อซื้อกองทุนเราจะได้แต้มสะสมเยอะๆ ฟังแล้วปวดใจจริงๆ หลักการ 45 วันเหมือนกข้างบนเป๊ะ ก็อยากจะถามเค้าเหมือนกันว่าตัวเองทำได้อย่างที่พูดรึเปล่า ถ้าเรารูดบัตรเครดิตซื้อกองทุนแล้วพอถึงกำหนดชำระแล้วมีเงินจ่ายก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าซื้อกองทุนไปแล้ว ได้แต้มมาแบบถล่มทะลาย แต่ไม่มีเงินจ่ายตอนเรียกเก็บหนี้ ทำให้เสียดอกเบี้ยเนี้ย "มันคุ้มไหมจ๊ะ" ก็คงตลกดีเนอะถ้านำเงินที่ประหยัดภาษีได้มาจ่ายดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่รูดมาจ่ายซื้อกองทุน
ฟังหลักการของการลงทุนในหุ้นก็ดี เพราะซื้อแล้วให้คิดว่าเราเป็นเจ้าของกิจการ ซื้อแล้วถือยาวเพื่อรอรับปันผล อย่างน้อยกว่ามากกว่าฝากประจำ เป็นการลงทุนทางเลือกที่ทำให้เงินงอกเงย เราดูปัจจัยพื้นฐาน งบการเงินโน้นนี่นั่นเต็มไปหมด ดูเทคนิคแนวรับแนวต้าน เพื่อเข้าใจจังหวะในการซื้อขาย นักลงทุนบางคนคิดว่าหุ้นตัวนี้พื้นฐานดีมากแต่ทำไมราคาถึงไม่ไปไหน ก็เลยขายทิ้งปันใจไปให้ัตัวอื่น แล้วหุ้นตัวนั้นก็วิ่งขึ้นทันตาเห็น ถ้าเป็นนักลงทุนในหุ้นอยู่แล้วก็จะรู้ว่าเป็นอย่างไรและวิธีการลงทุนในปัจจุบันมีอะไรบ้าง ไม่งั้นคำว่า "แมงเม่า" คงไม่เกิด ก็มองในมุมบวกว่าถ้าไม่มีการเก็งกำไรแล้วสภาพคล่องคงไม่เกิด ถึงแม้ว่าหลักการในการลงทุนจะดีแค่ไหนก็แพ้อารมณ์คนในตลาด อารมณ์ความโลภในการลงทุนนั้นก็เป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ และไม่สามารถตีมูลค่าได้(ถ้าความโลภสามารถตีมูลค่าได้เราคงเป็นเศรษฐีไปแล้วหละ) อารมณ์นี่แหละเป็นตัวขับเคลื่อนตลาดมากกว่าพื้นฐานบริษัท
จากการบอกเล่าของคนรู้จักที่ไปเรียนเทคนิคเกี่ยวกับการเล่นหุ้น คอร์ททีละเป็นหมื่่นๆ ได้ยินแล้วเสียดายเงินแทน ก็บอกเค้าไปว่าทุกอย่างสามารถอ่านหนังสือเองได้ อ่านรอบแรกอาจจะยังไม่เข้าใจก็อ่านหลายๆครั้ง ไม่มีใครเก่งตั้งแต่ศึกษาครั้งแรกหรอกค่ะ เราก็ต้องเข้าฟังสัมมนามากๆซึ่งมีการจัดฟรีที่ตลาดหลักทรัพย์บ่อยๆ บางที่มีบริการส่งหุ้นเด็ดทาง SMS เสียเงินเดือนละหลายพัน(นี่หรอการลงทุนไม่ต่างกับการพนันหวยที่บอกเลขเด็ดรายงวด) ก็ยินดีด้วยสำหรับคนที่ประสบความสำเร็จในวิธีการที่ทำให้ตนเองภาคภูมิใจในความร่ำรวยที่ได้จากความสูญเสียของคนอื่น โปรดอย่าโทษกรรมหรือคนที่ทำให้เราเสียเงิน เมื่อเราละความโลภให้ลดลงหรือทิ้งมันไปได้ก็จะทำให้จิตใจแจ่มใส และตาจะสว่างมากค่ะ
บทความน่าสนใจ
ทิศทางการตลาดเพื่อดูแนวโน้มหุ้นแห่งอนาคต
การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์หนี้สิน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_28.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น