วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์หนี้สิน

ภาระหนี้สินเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในสังคมปัจจุบัน หลังจากนโยบายรถกับบ้านที่มีโปรโมชั่นรัญจวนใจได้สิ้นสุดลงในปีที่แล้ว ปัญหาต่อไปที่ต้องเจอ คือ หนี้สินภาคครัวเรือน!!

เคยไ้ด้ยินคำพูดว่า "ยิ่งมีหนี้ ยิ่งมีเครดิต" แต่ถ้ามีหนี้มากๆแล้วชำระหนี้ไม่ได้เนี้ยซิจะไปหาเครดิตได้จากแห่งหนตำบลใดหละจ๊ะ ดังนั้น เราก็ต้องมารู้ก่อนว่าระดับหนี้ที่เหมาะสมของเราควรเป็นเท่าไหร่ เรามีความสามารถเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้หรือไม่ ภาระหนี้สินเป็นรอยรั่วทางการเงินที่สำคัญ ถ้าเราไม่รู้จักพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเองเพื่ออุดรอยรั่ว เราอาจจะทิ้งมรดกหนี้สินให้ลูกหลานไว้ดูต่างหน้าก็ได้

บทความนี้ต่อจากบทความ เรื่อง การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์สภาพคล่องส่วนบุคคล

ความเดิมตอนที่แล้ว........

อัตราส่วนทางการเงินส่วนบุคคล แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. การวิเคราะห์สภาพคล่อง ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_11.html)
2. การวิเคราะห์หนี้สิน (บทความชุดนี้)
3. การวิเคราะห์การออมและการลงทุน ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post.html

ตัวอย่างงบดุลและงบกระแสเงินสด



การวิเคราะห์หนี้สิน ทำให้เรารู้ว่า.....

==> ความสามารถในการก่อหนี้ มาดูกันว่าเราควรมีหนี้ิสินได้เท่าไหร่??

==> ความสามารถในการชำระหนี้สิน มาคำนวนว่ารายได้ของเราจะมาชำระหนี้ได้ไหมหนอ??

==> รู้นิสัยการใช้จ่ายของตนเองมากขึ้น 

การคำนวนอัตราส่วนและการวิเคราะห์หนี้สิน


1. ความสามารถในการชำระคืนหนี้ทั้งหมด (Solvency Ratio) เป็นอัตราส่วนที่วัดความสามารถในการชำระหนี้ในระยะยาว โดยที่อัตราส่วนนี้ต้องมีค่ามากกว่า 50% ซึ่งหมายว่าสินทรัพย์รวมนั้นมีสัดส่วนของความมั่งคั่งสุทธิมากกว่าหนี้สิน ในทางกลับกันถ้าน้อยกว่า 50% ซึ่งหมายความว่าสินทรัพย์ที่เรามีนั้นมาจากการก่อหนี้เป็นส่วนใหญ่

===> ดูได้จากงบดุล สินทรัพย์ = หนี้ิสิน + ความมั่งคั่ง

การคำนวณ ==> นำตัวเลขมาจากงบดุล


ผลลัพธ์ ==> (1,690,000/3,030,000 ) * 100 = 55.78%

ความหมาย ==> เมื่อนำความมั่งคั่งเปรียบเทียบกับสินทรัพย์รวมแล้ว เกินกว่ามาตรฐานคือ 50% นั้นแสดงว่าสินทรัพย์รวมนั้นมีความมั่งคั่งมากกว่าหนี้ิสินและมีความสามารถในการชำระหนี้สินระยะยาว 

2. หนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt to Asset Ratio) เป็นอัตราส่วนวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะปานกลางถึงยาว โดยที่อัตราส่วนนี้ต้องมีค่าน้อยกว่า 50% ซึ่งหมายความว่าเรามีสินทรัพย์รวมเพียงพอที่จะชำระหนี้ในระยะปานกลางถึงยาวได้ แต่ถ้ามีค่ามากกว่า 50% นั้นหมายความว่าสินทรัพย์รวมนั้นไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ในระยะปานกลางถึงยาวได้ แต่อัตราส่วนที่สูงนี้อาจจะไม่เป็นปัญหาสำหรับผู้ที่สามารถสร้างรายได้อย่างรวดเร็วเพื่อมาชำระหนี้ได้ทันเวลา

การคำนวณ ==> นำตัวเลขมาจากงบดุล


ผลลัพธ์ ==> (1,340,000/ 3,030,000) * 100 = 44.22%

ความหมาย ==> ผลลัพธ์ได้น้อยกว่า 50% บ่งบอกถึงสัดส่วนของหนี้สินเมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์นั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ ทำให้สามารถชำระหนี้ปานกลางถึงยาวได้ค่อนข้างดี มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ได้ค่อนข้างน้อย

3. การชำระคืนหนี้สินจากรายได้ ( Debt Service Ratio) เป็นอัตราส่วนวัดความสามารถในชำระหนี้ระยะสั้น โดยอัตราส่วนนี้ต้องน้อยกว่า 35-45% ซึ่งหมายความว่าความสามารถในการหารายได้ของเรานั้นเพียงพอที่จะจ่ายชำระหนี้ได้หรือไม่ (สมมติรายได้ 100 บาท ควรมีหนี้สินไม่เกิน 45 บาท)

  • ถ้าผลลัพธ์น้อยกว่า 35% แสดงว่าเรามีรายได้เพียงพอที่จะจ่ายชำระหนี้ ^_^ //
  • ถ้าผลลัพธ์มากกว่า 45% แสดงว่ารายได้ของเราไม่เพียงพอที่จะจ่ายชำระหนี้ มีความเสี่ยงที่ผิดนัดชำระหนี้ถ้าไม่แก้ปัญหาและปล่อยสะสมไปเรื่อยๆอาจจะเป็นคนล้มละลายก็ได ^_^!!

การคำนวณ ==> นำตัวเลขมาจากงบกระแสเงินสด


ผลลัพธ์ ==> (336,000/ 786,000) * 100 = 42.75%

ความหมาย ==> ผลลัพธ์ที่ได้อยู่ต่ำกว่า 45% แสดงว่ารายได้ของเรานั้นมีความสามารถในการจ่ายชำระหนี้ระยะสั้น

4. การชำระคืนหนี้ทีี่ไม่ใช่การจดจำนองจากรายได้ ( Non-mortgage Service Ratio ) เป็นอัตราส่วนที่วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น โดยไม่นำการจดจำนองมารวมด้วย ซึ่งเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่เราใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและเป็นตัววัดพฤติกรรมการใช้จ่ายได้ค่อนข้างดี โดยอัตราส่วนนี้ต้องน้อยกว่า 15-20% 
  • ถ้าผลลัพธ์น้อยกว่า 15% แสดงว่าเรามีความมั่นคงทางการเงิน มีการก่อหนี้จากการบริโภคในชีวิตประจำวันน้อย
  • ถ้าผลลัพธ์มากกว่า 20% แสดงว่าเรามีพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินที่เกินกว่ารายได้ที่เราจะหาได้ มีระดับการกู้ยืมเงินที่สูง ควรต้องรีบแก้ไข
การคำนวณ ==> นำตัวเลขมาจากงบกระแสเงินสด


ผลลัพธ์ ==> (336,000-240,000/ 786,000) * 100 = 12.21%


ความหมาย ==> ผลลัพธ์ที่ได้นั้นอยู่ต่ำกว่ามาตรฐาน แสดงว่ามีการก่อหนี้เพื่อนำมาใช้จ่ายในสินค้าอุปโภคบริโภคน้อย

ถ้าเราเทน้ำลงในโอ่งที่มีรอยรั่ว ถึงจะขยันตักน้ำมาเทเท่าไหร่ น้ำก็ไม่เต็มโอ่งสักที เพื่อทำให้น้ำเต็มโอ่งเราก็ต้องอุดรอยรั่วของโอ่งแล้วจึงค่อยเทน้ำลงไปน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ดังนั้นการรู้ตนเองจากอัตราส่วนทางการเงินในส่วนของภาระหนี้สินนั้นเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เราหารอยรั่วได้ง่ายที่สุด

ประเด็นมันอยู่ที่การจดบัญชีรายรับรายจ่าย ยิ่งจดละเอียดเท่าไหร่ผลลัพธ์ของการคำนวณก็จะออกมาถูกต้องตรงกับความจริงมากเท่่านั้น เรามาเริ่มหารอยรั่วจากการจดบัญชีรายรับรายจ่ายกันนะค่ะ ^_^ //


บทความน่าสนใจ

บัตรเครดิตที่เราต้องรู้
 ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/07/blog-post.html


แหล่งเก็บเงินที่ปลอดภัยนั้นไม่มีจริง!!
==> http://pajareep.blogspot.com/2013_04_01_archive.html


แบ่งเงินออมมาเก็บดอลล่าร์กันดีกว่า
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/03/blog-post_25.html

การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์การออมและการลงทุน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น