วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์สภาพคล่องส่วนบุคคล


เคยสงสัยไหมว่าบางคนทำงานได้เงินเดือนตั้งมากมาย แต่ทำไมไม่มีเงินเหลือเก็บ??

เคยสงสัยไหมว่าบางคนเงินเดือนไม่ถึงหมื่น แต่ทำไมมีเงินเก็บเดือนละหลายพัน??

เคยสงสัยไหมว่าทำไมคนโชคดีถูกหวยรางวัลใหญ่ๆ ดูตัวเลขแล้วน่าจะสบายไปทั้งชาติ แต่ทำไมไม่มีเงินเหลือเก็บถึงวัยชรา??

ถ้าเราป่วยเข้าโรงพยาบาลก็ต้องมีประวัติของเราบันทึกไว้ที่โรงพยาบาลว่าแพ้ยาอะไร ป่วยเป็นอะไรบ้าง อาการเป็นอย่างไร หรือได้รับการรักษาอะไรมาบ้าง ฯลฯ ซึ่งแพทย์จะได้วินิจฉัยโรคจากประวัติสุขภาพของเราเพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง รวมทั้งดูแนวโน้มการเกิดโรคอื่นๆที่จะตามมาได้อีกด้วย 

นั่นซิ...ทำไมไม่นำหลักคิดเรื่องการจดประวัติคนไข้ที่โรงพยาบาลมาใช้กับการตรวจสุขภาพทางการเงินของเราบ้างหละ เราจะได้รู้ว่าตอนนี้เงินของเราป่วยเพราะขาดสภาพคล่องจากภาระหนี้หรือไม่ หรือว่ามีเงินสดล้นมือจนทำให้เงินของเราป่วยเพราะถูกเงินเฟ้อกัดกินจนไม่เหลือค่าหรือไม่ มันก็เป็นวิธีการที่ดีที่เราจะทำประวัติการเงินของเราเก็บไว้ ซึ่งประวัติเหล่านั้นก็จะมาในรูปของงบการเงินส่วนบุคคล(งบดุล งบกระแสเงินสด) 

เราควรจะต้องเริ่มในเรื่องงบดุลและงบกระแสเงินสดว่ามันคืออะไร จะได้ใส่ประเภทของเงินได้ถูกที่ค่ะ 

การจัดทำงบดุลหรืองบกระแสเงินสดส่วนบุคคลนั้นทำยากตรงที่เราไม่ค่อยใส่ใจกับการจดบันทึกสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะการจดสินทรัพย์และหนี้สินที่เราสร้างขึ้นมา การจดรายรับรายจ่ายในแต่ละวันว่ามีรับและจ่ายอะไรไปบ้าง หรือบางคนที่จดอยู่แล้วก็อาจจะเกิดความคิดว่าก็รู้แล้วว่ารายรับรายจ่ายของตนเองเท่าไหร่ แล้วมันจะมีประโยชน์อะไรต่อหละ??

ลองเปลี่ยนแนวคิดมาเป็นแบบนี้ดูไหมค่ะ.......

"จดแล้วรวย ยิ่งจดละเอียดเท่าไหร่ก็ยิ่งรวย" 

ถ้าจะเริ่มจดบันทึกจะต้องทำอย่างไร ตอนนี้สมุดจดรายรับรายจ่ายมีขายเกลื่อนเมือง โปรแกรมจดบันทึกทางอินเตอร์เน็ตก็มีให้โหลด APP ใน iTunes ก็มีให้โหลดฟรีและเสียเงิน ขึ้นอยู่กับว่าคุณสะดวกวิธีไหนก็เลือกได้ ก่อนจดก็ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าส่วนประกอบของงบดุล(งบที่บ่งบอกฐานะทางการเงินของเรา) และงบกระแสเงินสด(การใช้จ่ายเงินของเรา) นั้นคืออะไร จะได้ใส่ตัวเลขได้ถูกงบว่ารายได้ เงินสด ค่าผ่อนรถยนต์ ฯลฯ ควรใส่ในงบอะไร บังเอิญไปเจอ YouTube ที่อธิบายเรื่องนี้ได้แจ่มมาก ขอขอบคุณที่คุณจัดทำวีดีโอนี้ขึ้นและขออนุญาตผู้ที่จัดนำมาประกอบการอธิบายนะค่ะ ^_^ //

ขอขอบคุณ : Mr. Jakkapong Mespan

อัตราส่วนทางการเงินส่วนบุคคล เป็นการนำตัวเลขต่างๆ จากงบที่เราจัดทำขึ้นนั้นมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานว่าผลการคำนวนทางการเงินของเรานั้น มากกว่า น้อยกว่าหรือเท่ากับมาตรฐาน และแปลผลจากตัวเลขเป็นบทสรุปว่าสุขภาพการเงินของเราป่วยหรือไม่ ถ้าป่วยแล้วควรจะรักษาอย่างไร

อัตราส่วนการเงินส่วนบุคคลแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

1. การวิเคราะห์สภาพคล่อง
2. การวิเคราะห์หนี้สิน ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_28.html
3. การวิเคราะห์การออมและการลงทุน ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post.html

ในครั้งนี้จะเป็นการวิเคราะห์สภาพคล่อง ส่วนอีก 2 เรื่องที่เหลือจะทะยอยเขียนในครั้งต่อไปค่ะ ^_^ //

ตัวอย่างงบดุลและงบกระแสเงินสด



การวิเคราะห์สภาพคล่อง จะทำให้เรารู้ว่า.....

==> ตนเองนั้นมีความสามารถที่จะนำเงินมาชำระหนี้ระยะสั้น(ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี) ได้หรือไม่

==> มีเงินไว้ใช้สำรองในยามฉุกเฉินหรือไม่(เช่น ตกงาน ป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล น้ำท่วมบ้าน ฯลฯ)

==> เมื่อเราต้องการใช้เงินนั้นเรามีสินทรัพย์ที่จะแปลงเป็นเงินสดได้รวดเร็วพอที่จะใช้จ่ายหรือไม่ (เช่น เงินสดที่มีจะเก็บในรูปแบบของที่ดินทั้งหมด พอป่วยเป็นโรคร้ายแรงที่ต้องได้รับการรักษาเร่งด่วนก็ไม่สามารถขายที่ดินแบบเร่งด่วนเพื่อนำเงินมาใช้ได้ ดังนั้นควรนำเงินส่วนหนึ่งกระจายไปอยู่ในสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว)

การคำนวนอัตราส่วนและการวิเคราะห์สภาพคล่อง



1. สภาพคล่อง (Liquidity Ratio) ทำให้เรารู้ว่าสินทรัพย์สภาพคล่อง(เช่น เงินสด เงินออมทรัพย์)ของเรานั้นมีพอที่จะชำระหนี้ระยะสั้น(ไม่เกิน  1 ปี) หรือไม่ ตัวเลขที่ได้ควรจะต้องมีค่ามากกว่า 1 เท่า

การคำนวณ ==> นำตัวเลขมาจากงบดุล


ผลลัพธ์ ==> 150,000 / 40,000 = 3.75 เท่า

ความหมาย ==> แสดงว่าเรามีสภาพคล่องเพียงพอที่จะชำระหนี้ระยะสั้นได้ดี และเกินมาตรฐาน คือ 1 เท่า การมีสภาพคล่องดีมากเกินไปอาจจะทำให้เงินนั้นเีสียโอกาสในการสร้างประโยชน์ในด้านอื่นๆ

2. สภาพคล่องพื้นฐาน (Basic Liquidity Ratio) เงินฉุกเฉินที่เราควรมีเก็บไว้ในกรณีที่เราเกิดตกงานกระทันหัน หรือขาดรายได้ในบางขณะ สินทรัพย์ที่เรากันสำรองไว้นั้นสามารถแปลงเป็นเงินสดและทำให้เรามีการใช้จ่ายอย่างปกติซึ่งมาตรฐาน คือ 3-6 เดือน

การคำนวณ ==> นำตัวเลขมาจากงบดุลและงบกระแสเงินสด



ผลลัพธ์ ==> นำกระแสเงินสดจ่ายรวม / 12 (เพื่อหาว่ารายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนเท่าไหร่)
              ==> 600,480/12 = 50,040 บาท
              ==> 150,000/50,040 = 2.9976 หรือประมาณ 3 เดือน

ความหมาย ==> เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เช่น ขาดรายได้จากการตกงาน ป่วยเข้าโรงพยาบาล น้ำท่วมกระทันหัน ฯลฯ เงินที่สำรองไว้นั้นสามารถทำใช้ดำรงชีวิต มีเงินใช้จ่ายในสภาวะปกติได้ 3 เดือนซึ่งเท่ากับมาตรฐาน

3. สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่อความมั่งคั่งสุทธิ (Liquidity asset to net worth Ratio) ในความมั่งคั่งสุทธิที่เรามีอยู่นั้นมีสินทรัพย์สภาพคล่องอยู่เท่าใด ซึ่งตามมาตรฐานต้องมีมากกว่าหรือเท่ากับ 15%

การคำนวณ ==> นำตัวเลขมาจากงบดุล


ผลลัพธ์ ==> (150,000 / 1,690,000)*100 = 8.88%

ความหมาย ==> ความมั่งคั่งของเรานั้นอยู่ในรูปแบบของสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำเป็นส่วนใหญ่ คำนวนได้ 8.88% ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะมากกว่า 15% มีแนวโน้มว่าเมื่อมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องรีบใช้เงินจะทำให้ไม่สามารถแปลงสินทรัพย์สภาพคล่องต่ำดังกล่าวมาเป็นเงินสดได้ไม่ทันเวลาที่ต้องการ

ตอนนี้ก็จบในส่วนของการวิเคราะห์สภาพคล่องแล้วนะคะ ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ก็คงจะเริ่มคุ้นๆว่าก็คล้ายกับการที่เราอ่านงบการเงินของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์นั่นแหละค่ะ นำวิธีการอ่านงบตรงนั้นมาดัดแปลงใช้ได้ ถ้ามีข้อมูลที่จะสอบถามเพิ่มเติมสามารถส่งผ่านทางอีเมล์ได้นะค่ะ

" เริ่มจดบันทึก(รายรับรายจ่าย) = เริ่มรวย "



บทความน่าสนใจ


รู้อะไรไม่สู้ "รู้งี้" กับการวางแผนเกษียณ
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/06/blog-post.html

ต้นทุนชีวิต - มีมูลค่าเท่าไหร่
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/05/blog-post.html

เงินฝากเขย่าโลก
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/04/blog-post_20.html

แหล่งเก็บเงินที่ปลอดภัยนั้นไม่มีจริง!!
==> http://pajareep.blogspot.com/2013_04_01_archive.html

แบ่งเงินออมมาเก็บดอลล่าร์กันดีกว่า
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/03/blog-post_25.html

ทิศทางการตลาดเพื่อดูแนวโน้มหุ้นแห่งอนาคต

บทเรียนในความมืดกับการวางแผนการเงิน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post_24.html

การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์หนี้สิน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_28.html

การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์การออมและการลงทุน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น