ทำไมเราจึงไม่ควรมีรายได้ทางเดียว??
ครอบครัวนี้ก็เหมือนครอบครัวข้าราชการทั่วไป พ่อเป็นข้าราชการทหารรับบำนาญ แม่มีอาชีพค้าขาย ส่วนลูกก็ทำงานเป็นบุรุษพยาบาล รายรับของครอบครัวนี้ก็มาจาก......
- เงินบำนาญของพ่อที่เป็นข้าราชการ
- เงินที่ได้รับจากการค้าขายของแม่ที่มีบ้างแต่ไม่ค่อยสม่ำเสมอ
- เงินเดือนของลูกที่เป็นบุรุษพยาบาล
ปัจจุบันครอบครัวนี้ไม่ได้รับเงินบำนาญมาหลายปีแล้ว
เรื่องราวนี้บอกอะไรเราได้บ้าง.....
- ถ้าแม่เป็นแม่บ้าน ไม่มีอาชีพค้าขายครอบครัวนี้จะเป็นอย่างไร
- ถ้าสมมติลูกอยู่ในช่วงวัยเรียนจะเป็นอย่างไร
- ถ้าเราทำแต่งานจนไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพตนเอง จนตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรง จะนำเงินที่ไหนมารักษา
- ถ้าเกิดน้ำท่วมบ้านอีกหละจะเอาเงินที่ไหนซ่อมบ้าน
- และก็มีถ้า.... ถ้า..... ถ้า.....อีกเต็มไปหมด เพราะชีวิตมันคือความไม่แน่นอน มีสิ่งไม่คาดฝันทั้งดีและไม่ดีเกิดขึ้นมากมาย ดังนั้นเราควรเตรียมตัวให้พร้อมรับทุกสถานการณ์ ควรป้องกันมากกว่ารอให้เกิดขึ้นแล้วค่อยแก้ไขนะจ๊ะ
ถ้าคุณมีรายได้ทางเดียวสภาพการเงินหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร??
การลงทุน คือ คำตอบค่ะ
เข้าเรื่องเลยดีกว่า ความเดิมตอนที่แล้ว......
อัตราส่วนทางการเงินส่วนบุคคล แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. การวิเคราะห์สภาพคล่อง ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_11.html
2. การวิเคราะห์หนี้สิน ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_28.html
3. การวิเคราะห์การออมและการลงทุน (บทความชุดนี้)
ตัวอย่างงบดุลและงบกระแสเงินสด
การวิเคราะห์การออมและการลงทุน ทำให้เรารู้ว่า.....
==> ตรวจดูความมั่งคั่งในอนาคตว่าตอนเกษียณเราจะมีเงินพอใช้ไหม
โดยดูจากพฤติกรรมการออมเงินและการลงทุน
==> การจัดสรรเงินลงทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งในระยะสั้น กลางและยาว
การคำนวณอัตราส่วนกับการวิเคราะห์การออมและการลงทุน
1. อัตราส่วนการออม (Saving Ratio) เป็นอัตราส่วนที่ดูความสามารถในการออมเงินของเราจากรายได้ เพื่อไว้ใช้กับเป้าหมายทางการเงินในอนาคต เช่น ออมเงินเพื่อศึกษาต่อ ออมเงินเพื่อซื้อบ้าน ออมเงินเพื่อซื้อรถยนต์ ออมเงินเพื่อทำศัลยกรรม ออมเงินเพื่อเกษียณ ออมเงินเพื่อการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งอัตราส่วนนี้ต้องมีมากว่า 10% ซึ่่งในช่วงแรกของการทำงานก็อาจจะมีไม่ถึง 10% แต่เมื่อทำงานและได้เงินเดือนมากขึ้นก็จะมีความสามารถออมเงินได้มากขึ้น เพราะมีรายได้ที่มากขึ้น
การคำนวณ ==> นำตัวเลขมาจากงบกระแสเงินสด
ผลลัพธ์ ==> (36,000 / 786,000) * 100 = 4.58%
ความหมาย ==> การออมนั้นอยู่ต่ำกว่ามาตรฐานที่ 10% ควรมีการออมเงินเพิ่มขึ้น จากอัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio @ http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_11.html) ที่มีอยู่ 3.75 เท่า ซึ่งอยู่สูงกว่ามาตรฐานที่ 1 เท่า แสดงว่าสภาพคล่องล้นเหลือ สามารถนำเงินมาออมหรือมาลงทุนเพิ่มขึ้น สภาพคล่องที่มากเกินความจำเป็นนั้นจะทำให้เสียโอกาสในการลงทุน และจะส่งผลกระทบต่อเป้าหมายทางการเงิน
2. การลงทุน( Net investment asset to net worth Ratio) เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงความมั่งคั่งของแหล่งที่มาของรายได้ที่จะไว้ใช้ในวัยเกษียณอายุ ซึ่งอัตราส่วนนี้ต้องมีมากว่า 50% ลองคิดขำๆว่าถ้าเราเลิกทำงานแล้วอยู่ในวัยเกษียณ ไม่มีเงินเดือน ถ้าอาศัยสวัสดิการรัฐเพียงอย่างเดียวชีวิตเราคงจืดสนิทกันเลยทีเดียว ดังนั้นเราต้องศึกษาเรื่องการลงทุน ให้เงินแช่งแข็งที่ถูกอัตราเงินเฟ้อวิ่งแซงดอกเบี้ยเงินฝากในออมทรัพย์มาทำงานช่วยเราบ้าง การลงทุนก็เป็นแหล่งรายได้ทางหนึ่ง ซึ่งต้องกระจายความเสี่ยงในระดับที่นักลงทุนยอมรับได้
การคำนวณ ==> นำตัวเลขมาจากงบดุล
ผลลัพธ์ ==> (380,000 /1,690,000) * 100 = 22.49%
ความหมาย ==> การลงทุนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่ 50% ควรมีการจัดสรรเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น ควรดึงสภาพคล่องส่วนเกินนั้นมาใส่ในการลงทุนบ้างนะจ๊ะ
สรุปภาพรวมของอัตราส่วนการเงินบุคคล
การวิเคราะห์ภาพรวมสามารถสรุปได้ว่าบุคคลนี้มีช่องโหว่ทางด้านการออมและการลงทุน โดยมีสภาพคล่องส่วนเกินจากอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องต่อหนี้สิน (คำนวณได้ 3.75 เท่าซึ่งมากกว่า 1 เท่า) เป็นอัตราส่วนที่มากเกินไป ควรจัดสรรมาเพื่อการออม (คำนวณได้ 4.58% ซึ่งต่ำว่า 10% ) และการลงทุน (คำนวณได้ 22.49% ซึ่งควรมีมากกว่า 50%) มากขึ้น ให้เงินช่วยทำงานแล้วเราจะสบายตอนเกษียณนะจ๊ะ
บทความน่าสนใจ
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/07/blog-post.html
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/06/blog-post.html
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/04/blog-post_20.html
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/03/blog-post_25.html
ทิศทางการตลาดเพื่อดูแนวโน้มหุ้นแห่งอนาคต
ร่ำรวยจากสิ่งที่มี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น