นวัตกรรมทำให้เรารู้ว่ามนุษย์นั้นมีศักยภาพในการคิดและทำสิ่งต่างๆได้มากมายโดยไม่มีขีดจำกัด ปัญหาความต้องการไม่สิ้นสุดของมนุษย์ทำให้โลกใบนี้มีสิ่งประดิษฐ์เกิดขึ้นมากมาย บางความคิดที่เหมือนไร้สาระและเป็นไปไม่ได้นั้นก็พลิกอุตสาหกรรมได้อย่างไม่น่าเชื่อ ตัวอย่างเช่นอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว โดยขณะที่การแชทบนมือถือ BlackBerry ได้รับความนิยม ก็ไม่มีใครคาดคิดว่าจะถูก iPhone ที่เป็นระบบสัมผัสเข้ามาแทนที่และทำให้ BlackBerry ขาดทุนจนต้องขายกิจการ และใครเป็นคนทำเรื่องเหล่านี้ถ้าไม่ใช่ทรัพยากรมนุษย์
นวัตกรรมนั้นเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ มันจะเกิดขึ้นเองไม่ได้ถ้าเราไม่ช่วยกันสร้างปัญหาและช่วยกันคิดแก้ปัญหานั้นๆ จึงทำให้มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด แม้เราจะไม่ใช่คนที่สร้างนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนโลก แต่เราทุกคนก็มีคุณค่าในตัวเองที่ธรรมชาติได้เลือกแล้วว่าเราควรเกิดเป็นมนุษย์มากกว่าเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ดังนั้นโปรดอย่าทำให้ธรรมชาติเสียใจที่สร้างเราขึ้นมา
เราคิดว่าทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดควรมีมูลค่าเท่าไหร่ โดยที่คุณค่านั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกที่เป็นรูปร่างหน้าตาหรือฐานะการเงิน แต่อยู่ที่สิ่งที่มีอยู่ในตัวของเราทุกคนก็คือ ความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
ถ้าเป็นสิ่งของ เช่น ต้นไม้ พืชสมุนไพร วัตถุโบราณ ทองคำ เพชร ภาพวาดโบราณ ฯลฯ เราสามารถให้มูลค่าจากประโยชน์ของสิ่งเหล่านั้น ยิ่งเป็นสิ่งของหายาก เป็นที่ต้องการของตลาด ราคายิ่งแพง สมมติต้นไม้อายุ 5 ปีเท่ากัน เช่น ต้นมะพร้าว ต้นคูณ ต้นสัก ต้นพะยูง ต้นกฤษณา เราคิดว่าต้นไม้แต่ละชนิดราคาเป็นเท่าไหร่ หรือภาพวาดโบราณที่ไม่ค่อยมีมูลค่าในสมัยที่ผู้วาดนั้นมีชีวิตอยู่ แต่พอเวลาผ่านไปความนิยมในศิลปะแพร่หลายมากขึ้น จึงทำให้ภาพวาดโบราณนั้นมีมูลค่ามากขึ้น จนกระทั่งมากพอที่จะบ่งบอกรสนิยมและฐานะของผู้ครอบครอง
แล้วทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆนั้นควรมีมูลค่าเท่าไหร่ รบกวนผู้อ่านอย่าเข้าใจผิดคิดว่าเรานำความเป็นมนุษย์มาตีราคาว่ามีค่าเท่าไหร่ เพราะความเป็นมนุษย์นั้นตีมูลค่าไม่ได้ แต่เรากำลังจะอธิบายมูลค่าทางเศรษฐกิจของมนุษย์ (มูลค่าความสามารถของมนุษย์ในการสร้างรายได้ในปัจจุบันจนกระทั่งเกษียณอายุ อธิบายวิธีการคำนวณข้างล่าง) ซึ่งทุกคนเกิดมาปฏิบัติหน้าที่ของตนในระยะเวลาที่แตกต่างกัน เราลองทำภาพรวมของอายุว่าช่วงการทำงาน เกษียณแล้วก็ถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ตั้งแต่อายุ 22 - 90 ปี เพื่อจะบอกว่าเราควรแบ่งเงินบางส่วนเป็นเงินออมเพื่ออะไร
ภาพเวลาชีวิต
ภาพนี้ข้างบนเป็นอายุของเราตั้งแต่เริ่มทำงานจนกระทั่งโค้งสุดท้ายของชีวิต ลูกศรสีเขียวนั้นเป็นช่วงที่เราเริ่มทำงาน(อายุ 22 ปี) ลูกศรสีฟ้าเป็นช่วงเวลาที่เราเกษียณ(อายุ 60 ปี) และลูกศรสีแดงเป็นช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต(อายุ 90 ปี) แต่ถ้าวิทยาการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้ามากขึ้นซึ่งเราอาจจะมีอายุถึง 100 ปี จากภาพจะเห็นว่าเราหาเงินมาครึ่งชีวิต(ลูกศรสีเขียวถึงลูกศรสีฟ้า)เพื่อนำไปใช้อีกครึ่งชีวิตที่เหลือ(ลูกศรสีฟ้าถึงลูกศรสีแดงหรือเกินกว่านั้น)
การสร้างรายได้นั้นเกิดจากการทำงานซึ่งมี 2 วิธี คือ
คำถาม : ถ้าเราไม่เริ่มวางแผนการการออมเงินตั้งแต่ช่วงเวลาที่เรามีกำลังมากที่สุดในการหาเงินตอนนี้แล้วจะไปเริ่มตอนไหน??
คำตอบที่เรามักจะได้ยินกันจนชินเกี่ยวกับการไม่ออมเงิน
คำถาม : ความสามารถสร้างรายได้ของเรามีมูลค่าเท่าไหร่??
สำหรับวิธีการคำนวณจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ วิธีที่คิดขึ้นเองกับวิธีตามหลักการในทฤษฎี
การสร้างรายได้นั้นเกิดจากการทำงานซึ่งมี 2 วิธี คือ
- การใช้แรงงาน คือ การใช้แรงของเราทำงานเพื่อได้รับผลตอบแทน ถ้าเราสุขภาพแข็งแรง มีเรี่ยวแรงในการทำงานมากก็จะได้รับผลตอบแทนมาก ซึ่งเรียวแรงในการทำงานจะลดลงในขณะที่อายุของเราเพิ่มขึ้น โดยจะมีข้อได้เปรียบในการทำงานแตกต่างกัน เช่น คนอายุ 25 กับ 65
- คนอายุ 25 จะมีแรงทำงานมากกว่าคนอายุ 55 แต่ยังไม่มีประสบการณ์
- คนอายุ 55 จะมีแรงทำงานน้อยกว่าคน 25 แต่มีประสบการณ์มากกว่า
- การให้เงินทำงานแทนเรา คือ รายได้ที่เราสะสมไว้ในรูปแบบต่างๆ โดยที่เงินนั้นสามารถสร้างผลตอบแทนให้เราได้ขณะที่เราทำงานและเกษียณจากการทำงานแล้ว ซึ่งจะมาในรูปแบบของดอกเบี้ย เงินปันผล รายรับจากค่าเช่า ฯลฯ
คำถาม : ถ้าเราไม่เริ่มวางแผนการการออมเงินตั้งแต่ช่วงเวลาที่เรามีกำลังมากที่สุดในการหาเงินตอนนี้แล้วจะไปเริ่มตอนไหน??
คำตอบที่เรามักจะได้ยินกันจนชินเกี่ยวกับการไม่ออมเงิน
- ตอนนี้มีภาระเยอะ เพราะต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถยนต์ ผ่อนบัตรเครดิต ค่าเทอมลูกเรียนหนังสือ ถ้ามัวแต่นำเงินไปออมแล้วจะมีเงินตรงไหนมาชำระค่าใช้จ่ายเหล่านี้หละ
- เป็นช่วงกอบโกย ธุรกิจกำลังรุ่งเรืองเพราะมีคนมาจ้างให้ทำงานเยอะ รายได้ไหลมาไม่หยุด ไม่อยากเสียเวลาไปวางแผนการออมหรอก นำเงินมาหมุนในธุรกิจได้ผลตอบแทนดีกว่าเยอะ
- ไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่นเลยนอกจากงานประจำท่วมหัว ตอนนี้เงินเดือนขึ้น ทำให้เราได้งานเพิ่มขึ้น ทำงานเยอะๆจะได้ประเมินออกมาดีและปลายปีจะได้โบนัสเยอะๆ ไม่มีเวลาศึกษาเรื่องการออมเงิน
- ทำงานมีเงินเดือนแล้วก็ต้องให้รางวัลกับชีวิตบ้างซิ แค่ทำงานก็เครียดมากแล้ว ขอมีความสุขกับการใช้เงินหน่อยละกัน ซื้อทุกอย่างที่อยากได้ ใช้เงินซื้อความสุขดีกว่าเอาเงินไปเก็บไว้เฉยๆ ส่วนเรื่องออมเงินเอาไว้ทีหลังก็ได้เพราะเป็นคนทำงานเก่ง แข็งแรง หาเงินได้เยอะ
คำถาม : วันนี้เป็นอดีตของพรุ่งนี้ และวันนี้ก็เป็นอนาคตของเมื่อวาน ถ้าไม่มีวันนี้แล้วอนาคตจะเป็นอย่างไร??
- ถ้าไม่มีวันนี้แล้วอนาคตภาระผ่านบ้าน ผ่อนรถยนต์ ผ่อนบัตรเครดิต ค่าเทอมลูกเรียนหนังสือใครจะรับผิดชอบ??
- ถ้าไม่มีวันนี้แล้วอนาคตใครจะวางแผนกลยุทธ์ให้ธุรกิจเจริญเติบโตต่อไป ธุรกิจจะหยุดชะงักหรือไม่??
- ถ้าไม่มีวันนี้บริษัทก็หาคนอื่นมาทำงานแทนได้รึเปล่า??
- ถ้าไม่มีวันนี้แล้วความสุขนั้นเกิดจากเงินหรือภาวนาให้รอดพ้นจากโรคร้าย??
คำถาม : ความสามารถสร้างรายได้ของเรามีมูลค่าเท่าไหร่??
สำหรับวิธีการคำนวณจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ วิธีที่คิดขึ้นเองกับวิธีตามหลักการในทฤษฎี
- วิธีที่ 1 คือ เราคิดขึ้นเองเพื่อที่จะให้ผู้อ่านเข้าใจแนวคิดของความสามารถในการหารายได้ของเรา โดยคำนวณอย่างง่าย เป็นตัวเลขโดยประมาณและมีความคลาดเคลื่อนสูงเพราะใช้ปัจจัยเงินเดือนคงที่เพียงอย่างเดียว(ซึ่งในความจริงต้องมีปัจจัยเกี่ยวข้องมากกว่านี้)
- สมมติให้เงินเดือนคงที่ตั้งแต่เริ่มทำงานจนเกษียณอายุปีละ 300,000 บาท
- ทำงาน 38 ปีจะเป็นรายได้ทั้งสิ้น 300,000 x 38 = 11,400,000 บาท
- ถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝันทำงานได้เพียง 20 ปีแล้วเสียชีวิต เราจะมีรายได้ทั้งสิ้น 300,000 x 20 = 6,000,000 บาท ซึ่งเงินรายได้เราหายไป 11,400,000 - 6,000,000 = 5,400,000 บาท
- วิธีที่ 2 คือ การคำนวณตามหลักการในทฤษฎีของหลักสูตรนักวางแผนการเงิน(การวางแผนประกันภัย) เรื่องมูลค่าทางเศรษฐกิจของบุคคล ซึ่งจะเป็นตัวเลขประมาณการณ์ใกล้เคียงความเป็นจริง ซึ่งวิธีการนี้เรานำมาจากเอกสารที่ฝึกอบรมเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน
แนวคิด
==> บุคคลแต่ละบุคคลมีมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจซึ่งสามารถคำนวณได้จากความสามารถในการหารายได้ของบุคคลนั้น
==> จำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตควรจะเพิ่มขึ้นตามความสามารถในการหารายได้ที่เพิ่มขึ้นของแต่ละบุคคล
ปัจจัยที่สำคัญที่ต้องพิจารณาในการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันมี 5 ปัจจัย คือ
- รายได้จากการทำงานสุทธิ ณ ปีปัจจุบันต่อปีหลังหักภาษี (c)
- อัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการทำงานสุทธิต่อปีปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ(g)
- จำนวนปีการทำงานในปัจจุบันจนถึงปีที่คาดว่าจะเกษียณ (n)
- อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนหลังหักภาษีปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ (r)
- อัตราคิดลดหลังหักภาษี ( i )
- การคำนวณอัตราคิดลด ( i ) = (r-g) / (1+g)
ความสามารถในการหารายได้ของนายเอจากอายุ 35 ถึง 60 ปี คือ 10,434,185.95 บาท กรณีที่นายเอจะซื้อประกันคุ้มครองความสามารถก็ควรทำที่ทุนประกัน 10,434,185.95 บาท ถ้านายเอเกิดเหตุไม่คาดฝันก่อนที่จะถึงอายุ 60 ปีทางครอบครัวก็จะได้รับเงินตามทุนประกันที่ทำไว้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของแผนประกันชีวิตและความสามารถในการชำระเบี้ยประกัน ไม่จำเป็นต้องทำทีเดียวด้วยทุนประกันที่สูง ควรเริ่มจากทุนประกันน้อยๆก่อน แล้วจึงมากขึ้นตามความสามารถของเราในอนาคต
ตัวเลข 10,434,185.95 มาจากการคำนวณของเครื่องคิดเลขทางการเงิน โดยใช้การคำนวณแบบสิ้นงวด ( Ending Mode) เพราะรายได้เราได้รับตอนสิ้นงวด วิธีการกดเครื่องคิดเลขตามลำดับ ดังนี้ (ถ้าไม่ถนัดกดเครื่องคิดเลขก็สามารถใช้ Excel คำนวณได้เหมือนกัน)
ข้อจำกัดของวิธีนี้ คือ
- เงินชดเชยจากแหล่งรายได้อื่นไม่ถูกนำมาคำนวณด้วย เช่น สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม
- สมมติฐานการเติบโตของรายได้ในแต่ละปี (g) และปัจจัยอื่นๆนั้นคงที่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ง่ายแต่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
- ไม่ได้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายของครอบครัวที่อาจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เช่น การมีบุตร การเสียชีวิต การเจ็บป่วย ผลกระทบจากน้ำท่วม
- ผู้ที่จะซื้อประกันตามทุนประกันที่คำนวณได้นั้นอาจจะประสบปัญหาการจ่ายเบี้ยประกันอันเนื่องมาจากไม่มีกำลังทรัพย์ที่เพียงพอ
- พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชน เหมาะสำหรับผู้ออมที่ต้องการได้รับดอกเบี้ยที่แน่นอน อ้ัตราผลตอบแทนต่ำ เน้นความปลอดภัยของเงินต้นเป็นหลัก(ขึ้นอยู่กับอันดับเครดิตของผู้ออกตราสารหนี้นั้นๆ)
- การออมในหุ้น เหมาะสำหรับผู้ออมที่ต้องการได้ผลตอบแทนสูง ซึ่งความเสี่ยงก็จะสูงตามไปด้วยโดยขึ้นอยู่กับลักษณะการลงทุนเป็นหลัก เช่น นักลงทุนแนวซื้อแล้วถือเพื่อรอปันผลโดยเน้นพื้นฐานเป็นหลักก็จะไม่ค่อยกังวลในขณะที่หุ้นตกหนักๆเหมือนกับนักลงทุนประเภทเก็งกำไร
- การออมในกองทุนรวม เหมาะสำหรับผู้ออมที่ไม่มีเวลาติดตามข่าวสาร ต้องการหาผู้ดูแลพอร์ตการลงทุนแทนตนเอง หรือเพื่อเป้าหมายการประหยัดภาษี
- การออมในรูปแบบสลากออมสินหรือสลาก ธกส. เหมาะสำหรับผู้ออมที่รักการเสี่ยงโชคลุ้นเลข โดยที่เงินต้นอยู่ครบและเมื่อครบกำหนดยังได้รับดอกเบี้ย
- การออมในรูปแบบเงินสดไว้ในธนาคาร เหมาะสำหรับผู้ออมที่ต้องการสภาพคล่องของเงินสด พอต้องการใช้ก็สามารถถอนได้อย่างทันใจ แต่ถ้าเก็บไว้มากๆก็จะกลายเป็นเงินขี้เกียจเพราะผลตอบแทนแพ้เงินเฟ้อ
- การออมสะสมทรัพย์ในรูปแบบประกันชีวิต เหมาะสำหรับผู้ออมเงินที่ต้องการเก็บเงินและได้รับความคุ้มครองชีวิตไปพร้อมๆกัน (หรือเพื่อเป้าหมายประหยัดภาษี) ซึ่งแต่ละรูปแบบการประกันชีวิตก็จะมีตัวเลือกว่าจะคุ้มครองเฉพาะชีวิต อุบัติเหตุ คุ้มครองโรคร้ายแรง ฯลฯ ชีวิตเราคงไม่สนุกอีกต่อไปถ้าเงินที่เราลำบากหามานั้นต้องมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลหรือถ้าเราป่วยจนกระทั่งทำงานไม่ได้ก็จะเป็นภาระรายจ่ายให้กับครอบครัว(ลูกศรสีส้ม) แม้ว่าเงินชดเชยจากการประกันชีวิตที่ได้รับไม่อาจจะครอบคลุมภาระทางการเงินของคนในครอบครัวเราได้ทุกด้าน แต่มันสามารถบรรเทาความความเสียหายให้เบาบางลงได้
คำถามสั้นๆก่อนจบบทความ
- คุณซื้อประกันรถยนต์ด้วยทุนประกันเท่าไหร่ ===> ???
- แล้วความสามารถของเราหละ ควรมีทุนประกันที่เท่าไหร่ ==> ???
อย่าให้ความคุ้มครองตัวเราน้อยกว่ามูลค่ารถยนต์นะจ๊ะ มันคงแปลกๆที่สิ่งของมีมูลค่ามากกว่าตัวเราก่อนที่จะเข้าใจผิดคิดว่าบทความนี้ขายประกัน ผู้เขียนเพียงนำบางส่วนของหัวข้อที่เรียนมาขยายโดยใส่ตัวอย่างให้เห็นชัดเจนมากขึ้น ซึ่งสรุปภาพรวมของการวางแผนการเงินซึ่งประกอบด้วย 5 ด้าน ( http://pajareep.blogspot.com/2013/10/5.html) ด้วยกัน คือ
- สภาพคล่องและหนี้สิน
- ความเสี่ยงของบุคคล(ประักันชีวิต)
- การลงทุน
- การเกษียณ
- ภาษีและมรดก
บทความที่น่าสนใจ
บทเรียนจากแบบฝึกหัดเขียน
อ่านจนจบแล้วตกใจ นึกว่ากำลังอ่านบทความขายประกัน :)
ตอบลบขอบคุณนะคะที่ติดตามอ่าน ไอเดียในการเขียนนี้มาจากการออมเงินเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่เราตั้งไว้ คำตอบจะอยู่ที่บทสรุปข้างล่างหนะค่ะ ^_^
ลบ