วีดีโอแนะนำบทเรียนในความมืด
ความรู้สึกขณะที่อยู่ในห้องนั้น มันตื่นเต้นที่จะได้รู้ว่าข้างหน้ามันคืออะไร มองอะไรไม่เห็นจริงๆ มันมืดมาก โชคดีที่เราไม่กลัวความมืดมันเลยไม่เป็นอุปสรรค
สิ่งที่ทำได้ คือ ใช้มือขวาจับกำแพง ส่วนมือซ้ายจับไม้เท้าส่ายไปมาข้างหน้า เดินตามเสียงไกด์ที่เป็นคนตาบอด ตลอดการเดินทางก็จะเช็คจำนวนสมาชิกจากเสียงเรียกชื่อแต่ละคนว่ามากันครบรึยัง
เราเดินจับเสาไม้ไผ่ รั้วเหล็ก อันนี้พอตอบถูกเวลาไกด์ถามว่าอันนี้คืออะไร
แต่ถ้าเป็นใบไม้เริ่มยากละ ตอบไม่ถูกเลยสักต้นเดียว
ไกด์ถามว่านี่คืออะไรไปตลอดทาง เราจับรูปปั้นนานหลายนาทีก็ยังนึกไม่ออก ว่าเป็นรูปปั้นอะไร สรุปว่าเป็นรูปเด็กนั่งขัดสมาธิ
การเดินขึ้นและลงจากทางลาดชันจากการบอกของไกด์ว่า "ระวังนะครับเป็นทางลาดลง" "ต้องขึ้นบันไดหนึ่งขั้น" "เดินลงบันไดหนึ่งขั้น" เราเดินง่ายเพราะมีคนบอกอยู่ข้างหน้า แล้วถ้าเป็นคนตาบอดจริงๆเดินข้างนอกจะมีคนบอกเค้าแบบนี้ไหม??
ขอบคุณนิทรรศการดีๆแบบนี้ที่ทำให้คนตาดีเข้าใจคนพิการทางสายตามากขึ้น ขอบคุณน้องหนึ่งที่เป็นไกด์นำทางที่น่ารักมาก เรามาทราบภายหลังว่าน้องเค้าไม่ได้ตาบอดตั้งแต่กำเนิด มาตาบอดตอนอายุ 13 ปี เราคิดว่าน้องเค้าเก่งมากที่ผ่านช่วงนั้นมาได้ เพราะเด็กผู้ชายกำลังเล่นสนุกๆในวัยรุ่น อยู่ดีๆต้องมาเป็นแบบนี้มันคงที่สุดของชีวิตจริงๆ น้องเค้าบอกว่าก็ร้องไห้ แต่สุดท้ายก็ต้องทำใจ จนตอนนี้น้องเค้าเรียนจบปริญญาตรีเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่เค้าต้องการได้จากสังคมไม่ใช่การสงสารเค้า แต่ให้โอกาสเค้าในการเข้าทำงานเพื่อที่ว่าเค้าจะได้หาเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้เหมือนคนอื่นๆทั่วไป
สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น การไปสัมผัสด้วยตนเองจะทำให้เราเปิดโลกใบใหม่ ได้มุมมองใหม่ๆกลับมาอย่างแน่นอนค่ะ ต้องไปให้ได้นะคะ ^_^ //
บทเรียนในความมืดมาเกี่ยวอะไรกับการวางแผนการเงิน???
บทเรียนในความมืด มีไม้เท้าเป็นเครื่องช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา ทุกก้าวที่เดินต้องมีไม้เท้ายื่นส่ายไปมาข้างหน้า(แทนดวงตา)ดูว่าข้างหน้ามีอะไรกีดขวางหรือไม่ วัตถุที่อยู่ข้างหน้าเป็นอะไร ทางขึ้นสะพาน ทางลงสะพาน รั้วไม้ รั้วเหล็ก รั้วลวดหนาม พื้นถนน ทางลาดขึ้น ทางลาดลง สิ้นสุดมุมถนน ทางแยกไฟแดง หลุม ฯลฯ ไม้เท้าจะช่วยให้คนพิการทางสายตาเดินทางไปในที่ต่างๆปลอดภัยมากขึ้น
การวางแผนการเงิน เป็นเครื่องมือช่วยเหลือระบบการเงินของเรา ว่าหนทางข้างหน้าเราต้องประสบกับอะไรบ้าง เช่น เรามีเพื่อนคนนึง เค้าเบื่องานประจำก็คิดจะลาออก และคาดว่าจะนำเงินก้อนสุดท้ายมาลงทุนอนุพันธ์อย่างเดียว ได้ยินแค่นี้เราก็รู้อนาคตตั้งแต่ยังไม่เริ่มเล่นเลยด้วยซ้ำ ขนาดจะซื้อหุ้นที่ 1,000 จุดยังไม่กล้าซื้อ จะมาเล่นอนุพันธ์ตอน 1,500 จุด แล้วยังไม่มีเวลาเข้าฟังสัมมนา อ่านกราฟไม่คล่อง คิดแล้วเหนื่อยแทน อันนี้ก็เป็นความคิดด้านการลงทุนที่ค่อนข้างสุดโต่งเกินไป เราต้องมองภาพรวมของการวางแผนการเงินแต่ละด้านแล้วค่อยๆต่อจิ๊กซอร์ให้เป็นภาพของเราเอง เพื่อที่ว่าการวางแผนการเงิน(ไม้เท้าด้ามนี้)จะช่วยให้เราปลอดภัยตลอดการเดินทางจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต
ภาพรวมของการวางแผนการเงิน ดังนี้
1. อัตราส่วนทางการเงินส่วนบุคคล
- การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์สภาพคล่องส่วนบุคคล
- การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์หนี้สิน
- การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์การออมและการลงทุน
2. ความเสี่ยง คือ การปิดความเสี่ยงด้วยการทำประกันในด้านต่างๆ เช่น
- ความเสี่ยงด้านชีวิตก็ปิดความเสี่ยงด้วยการทำประกันชีวิต
- ความเสี่ยงด้านทรัพย์สินก็ปิดความเสี่ยงด้านการประกันวินาศภัย
- ความเสี่ยงด้านการศึกษา อาจจะเก็บสะสมเงินไว้ในรูปแบบของการทำประกันชีวิตโดยการทำทุนประกันไว้เท่ากับจำนวนเงินที่ต้องการเตรียมเพื่อการศึกษาให้บุตร ในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝันกับตัวเรา เงินส่วนนั้นก็จะเข้ามาทำหน้าที่ส่งบุตรของเราเรียนจบตามที่ตั้งใจไว้
http://www.tsi-thailand.org/index.php
4. การวางแผนภาษี คือ การใช้สิทธิประโยชน์จากการลดหย่อนเพื่อให้เราประหยัดภา๊ษีมากที่สุด ในเว็ปไซต์ของ TSI มีบทความน่าอ่านเยอะมาก มีบทความหนึ่งที่กล่าวเรื่อง เครดิตภาษีเงินปันผล....ผลประโยชน์ที่ถูกลืม http://www.tsi-thailand.org/images/stories/TSI2012_Investor/Articles/TSI-Article_Inv_EQ_109.pdf
5. การวางแผนเกษียณ คือ การรักษาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ในช่วงหลังเกษียณให้เหมือนกับช่วงก่อนการเกษียณ ทั้งนี้ต้องมีรายได้ในวัยเกษียณให้เพียงพอในการดำรงชีวิตเพื่อไม่เป็นภาระของลูกหลาน
ุ6. การวางแผนมรดก คือ การมอบทรัพย์สินเหล่านั้นไปให้แก่บุคคลที่เราต้องการ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่เราเสียชีวิตแล้ว ปัญหานี้เกิดขึ้นกับญาติของตนเอง(น้าชาย)ซึ่งถูกรถชนเสียชีวิตอย่างกระทันหัน เงินกองทุนที่ระบุชื่อผู้รับมอบเป็นชื่อของมารดา แทนที่มารดาจะได้รับเงินกองทุนส่วนนั้นเต็มจำนวนกลับถูกภรรยาฟ้องร้องขอส่วนแบ่งด้วย บ้านและรถยนต์ที่เป็นชื่อของน้าชายซึ่งซื้อมาก่อนการแต่งงานก็ถูกภรรยายึดไปซะงั้น สุดท้ายเรื่องก็จบลงที่ศาล คุ้มรึเปล่าไม่รู้ รู้แต่ว่าเสียความรู้สึกกับอดีตภรรยางกสมบัติคนนั้นจริงๆ
การเปรียบเทียบช่วงเวลาเริ่มเก็บเงินกับช่วงเวลาใช้เงิน
วิธีการดูโดยแบ่งไว้ด้วยสีฟ้าจะเป็นช่วงเริ่มการออม และสีเขียวจะเป็นช่วงเวลาหลังเกษียณ ปกติตัวเลขคาดการณ์ค่าเฉลี่ยอายุคนไทย พ.ศ.2563 - พ.ศ.2568 คือ เพศหญิงจะมีอายุเฉลี่ย 80.25 ปี เพศชายจะมีอายุเฉลี่ย 74.72 ปี แต่ในที่นี่คาดว่าการแพทย์เจริญก้าวหน้า คนอายุยืนขึ้นเลยให้เผื่ออายุออกไปเป็น 90 ปี เก็บเงินไว้เกินดีกว่าขาดนะค่ะ
- ถ้าเราออมเงินตั้งแต่อายุ 25 ปีจนถึงก่อนเกษียณที่ 60 ปี เราจะมีเวลาออมเงิน 35 ปี เพื่อไว้ใช้หลังเกษียณ 30 ปี สีฟ้าจะยาวกว่าสีเขียว จะเห็นได้ว่าเรามีเวลาเก็บเงินมากกว่าช่วงเวลาใช้เงิน
- ถ้าเราออมเงินตั้งแต่อายุ 40 ปี จนถึงก่อนเกษียณที่ 60 ปี เราจะมีเวลาออมเงิน 20 ปี เพื่อไว้ใช้หลังเกษียณ 30 ปี สีฟ้าสั้นกว่าสีเขียว จะเห็นได้ว่าเรามีเวลาเก็บเงินน้อยกว่าช่วงเวลาใช้เงิน ดังนั้นถ้ามาเริ่มช่วงนี้อาจจะต้องออมเงินต่อเดือนในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อจะได้เพียงพอหลังเกษียณ
บทความน่าสนใจ
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post_28.html
ลูกจะมีวินัยทางการเงินหรือไม่นั้นต้องเริ่มจากพ่อกับแม่
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/08/blog-post_4.html
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/06/blog-post.html
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/03/blog-post_25.html
ทิศทางการตลาดเพื่อดูแนวโน้มหุ้นแห่งอนาคต
==> http://pajareep.blogspot.com/2013_04_01_archive.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น