สำหรับบางคนที่ทำงานมีรายได้บวกกับความชื่นชอบในตัวนักร้องก็มองว่าบัตรแถวหน้าราคานี้สามารถจ่ายได้แต่สำหรับเด็ก ม.3 ที่ขอเงินผู้ปกครองไปดูหละมันเหมาะสมหรือไม่??
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเราก็ไปซื้อของกินแถวที่ทำงานตามปกติ แต่วันนั้นพอมีเวลาก็เลยยืนคุยกับแม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยวลุยสวน พี่เค้าเป็นคนอารมณ์ดี คุยสนุก ตอนนั้นพี่เค้ากำลังเล่าวิธีสอนลูกให้รู้จักการเก็บเงินโดยการแบ่งเงินเป็นสี่ส่วนให้เพื่อนร้านข้างๆฟัง คือ
- ส่วนที่ 1 เงินที่ให้พ่อกับแม่
- ส่วนที่ 2 เงินออม
- ส่วนที่ 3 เงินค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทางไปโรงเรียน
- ส่วนที่ 4 เงินที่จะไปใช้จ่ายอื่นๆ เช่น สิ่งของที่อยากได้
พี่เค้าก็สอนลูกเรื่องเงินดีนะ สอนให้ลูกรู้จักใช้เงิน พอคุยกันไปสักพักเค้าก็เล่าเรื่องลูกสาววัย 15 ขอเงิน 7,000 บาทไปดูคอนเสริ์ตนักร้องเกาหลี คนเป็นแม่ก็อยากจะให้รางวัลแก่ลูกสาวก็อยากจะให้ไปดู เราเข้าใจว่าสำหรับบางคนที่ชื่นชอบและคลั่งไคล้ดารามีเท่าไหร่ก็จ่ายได้ เพราะเราก็เป็นเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นแก้วน้ำ ปลอกหมอน ของที่ระลึกก็มีเก็บไว้ แต่ถ้าเรามานั่งนึกถึงความเหมาะสมกับสถานะที่ยังต้องขอเงินผู้ปกครองเรียนหนังสือ เราคิดว่ามันเป็นรางวัลที่มากเกินไป
พี่เค้าบอกว่า "เราไม่มีลูกก็ไม่รู้หรอกว่าคนเป็นพ่อแม่เค้ารู้สึกยังไง เดี๋ยวลูกจะคุยกับเพื่อนไม่รู้เรื่อง เด็กสมัยนี้ทำอะไรก็ทำตามเพื่อน"
เราก็อยากจะบอกพี่เค้ากลับไปเหมือนกันแหละว่า "ถ้าเรามีลูกคงไม่สอนลูกแบบนี้" ควรฝึกให้เด็กลองหัดทำงานเพื่อจะได้รู้ว่ากว่าแม่ขายก๋วยเตี๋ยวลุยสวนแล้วได้เงินมาเนี้ยมันเหนื่อยขนาดไหน ไม่จำเป็นต้องทำตามเพื่อนไปซะทุกอย่างก็ได้และถ้าคุยกันด้วยเหตุผลลูกก็คงเข้าใจว่าทำไมถึงให้เงินไปดูคอนเสริ์ตไม่ได้ เช่น เงินนั้นเป็นค่าเทอมในภาคเรียนต่อไป เป็นค่าเรียนพิเศษ เป็นค่าใช้จ่ายภายในบ้าน เป็นต้น โดยอาจจะทำให้เด็กเข้าใจว่าถ้านำเงินนั้นไปดูคอนเสริ์ตแล้วก็อาจจะไม่มีเงินค่าเทอมเรียนต่อ ซึ่งเด็กอายุ 15 ก็น่าจะเข้าใจได้ถึงผลเสียที่ตามมา ถ้าเราไปสั่งห้ามดูเด็กก็อาจจะยิ่งต่อต้านแล้วดื้อรั้นร้องขอที่จะไปดูให้ได้เพราะไม่ทราบเหตุผลว่าทำไมถึงสั่งห้าม ซึ่งพ่อแม่ก็อาจจะใจอ่อนตามใจลูก การใช้เหตุผลเล่าถึงผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
การตามใจลูกทางด้านการเงินมากเกินไป นอกจากจะทำให้ผู้ปกครองขาดวินัยทางการเงินแล้วยังเป็นการปลูกฝั่งนิสัยการใช้เงินแบบผิดๆให้กับลูกอีกด้วย อย่าลืมว่าถ้าเด็กจดจำวิธีการได้เงินมาง่ายๆและใช้เงินแบบง่ายๆจนแก้ไขนิสัยไม่ได้ คนที่เหนื่อยก็จะเป็นผู้ปกครองนั่นเองที่จะต้องหาเงินให้มากขึ้นเพื่อให้ลูกใช้จ่าย
บทวิจัยชิ้นหนึ่งจำไม่ได้ว่าเป็นของสถาบันไหน เราได้ยินขณะนั่งรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นของ Voice TV เป็นเรื่องของผู้ปกครองต้องเหนื่อยกับการบังคับให้เด็กเล็กๆนั้นกินผักโดยการหาสาระพัดวิธีมาหลอกล่อ นักวิจัยสรุปว่าการบอกเหตุผลว่าทำไมต้องกินผัก กินไปเพื่ออะไรและกินแล้วดีอย่างไรเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ทำให้เด็กๆกินผักโดยที่ผู้ปกครองต้องบังคับให้เหนื่อย เพราะเด็กจะกินโดยไม่มีข้อแม้ว่ามันขมหรือไม่อร่อย
การที่ผู้ใหญ่ใช้เหตุผลบอกสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ เป็นวิธีการที่ดีกว่าการบังคับหรือสั่งห้ามโดยไม่รู้ที่มาที่ไปของคำสั่งว่าทำไปเพื่ออะไร อย่าคิดไปเองว่าอธิบายไปทำไมเด็กไม่รู้เรื่องหรอก เด็กสมัยนี้เก่งขึ้นมาก พูดแป๊บเดียวเข้าใจเร็วกว่าผู้ใหญ่ประสบการณ์สูงบางคนเสียอีก
บทความน่าสนใจ
บันไดขั้นแรกของความมั่งคั่ง
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/12/blog-post_26.html
จดบันทึกเพื่อให้เงินหมดช้าลง
==> http://pajareep.blogspot.com/2014/01/blog-post.html
เปลือกนอกที่หลอกตา
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/12/blog-post.html
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post_6.html
ความสามารถของเรามีมูลค่าเท่าไหร่??
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post.html
ประกันชีวิตหักลดหย่อนภาษี 200,000 บาท ตอนที่ 1/2
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/09/200000-12.html
อ่านหนังสือสร้างโลก
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/08/blog-post_20.html
แนะนำหนังสือ "SOROS" (โซรอส)
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/08/soros.html
แวะมาโหวตให้ใน TBA2013 และขอเป็นกำลังใจให้สร้างสรรค์บทความคุณภาพเช่นนี้ตลอดไป
ตอบลบhttp://www.thailandblogawards.com/entry/view/417
ขอบคุณค่ะ ^_^
ลบโดนใจ..โหวตครับ
ตอบลบขอบคุณค่ะ ^_^
ลบ+7 เป็นกำลังใจให้เสมอครับ สู้ๆน่ะครับ
ตอบลบขอบคุณมากๆค่ะ ^_^
ลบ