วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์หนี้สิน

ภาระหนี้สินเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในสังคมปัจจุบัน หลังจากนโยบายรถกับบ้านที่มีโปรโมชั่นรัญจวนใจได้สิ้นสุดลงในปีที่แล้ว ปัญหาต่อไปที่ต้องเจอ คือ หนี้สินภาคครัวเรือน!!

เคยไ้ด้ยินคำพูดว่า "ยิ่งมีหนี้ ยิ่งมีเครดิต" แต่ถ้ามีหนี้มากๆแล้วชำระหนี้ไม่ได้เนี้ยซิจะไปหาเครดิตได้จากแห่งหนตำบลใดหละจ๊ะ ดังนั้น เราก็ต้องมารู้ก่อนว่าระดับหนี้ที่เหมาะสมของเราควรเป็นเท่าไหร่ เรามีความสามารถเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้หรือไม่ ภาระหนี้สินเป็นรอยรั่วทางการเงินที่สำคัญ ถ้าเราไม่รู้จักพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเองเพื่ออุดรอยรั่ว เราอาจจะทิ้งมรดกหนี้สินให้ลูกหลานไว้ดูต่างหน้าก็ได้

บทความนี้ต่อจากบทความ เรื่อง การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์สภาพคล่องส่วนบุคคล

ความเดิมตอนที่แล้ว........

อัตราส่วนทางการเงินส่วนบุคคล แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. การวิเคราะห์สภาพคล่อง ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_11.html)
2. การวิเคราะห์หนี้สิน (บทความชุดนี้)
3. การวิเคราะห์การออมและการลงทุน ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post.html

ตัวอย่างงบดุลและงบกระแสเงินสด



การวิเคราะห์หนี้สิน ทำให้เรารู้ว่า.....

==> ความสามารถในการก่อหนี้ มาดูกันว่าเราควรมีหนี้ิสินได้เท่าไหร่??

==> ความสามารถในการชำระหนี้สิน มาคำนวนว่ารายได้ของเราจะมาชำระหนี้ได้ไหมหนอ??

==> รู้นิสัยการใช้จ่ายของตนเองมากขึ้น 

การคำนวนอัตราส่วนและการวิเคราะห์หนี้สิน


1. ความสามารถในการชำระคืนหนี้ทั้งหมด (Solvency Ratio) เป็นอัตราส่วนที่วัดความสามารถในการชำระหนี้ในระยะยาว โดยที่อัตราส่วนนี้ต้องมีค่ามากกว่า 50% ซึ่งหมายว่าสินทรัพย์รวมนั้นมีสัดส่วนของความมั่งคั่งสุทธิมากกว่าหนี้สิน ในทางกลับกันถ้าน้อยกว่า 50% ซึ่งหมายความว่าสินทรัพย์ที่เรามีนั้นมาจากการก่อหนี้เป็นส่วนใหญ่

===> ดูได้จากงบดุล สินทรัพย์ = หนี้ิสิน + ความมั่งคั่ง

การคำนวณ ==> นำตัวเลขมาจากงบดุล


ผลลัพธ์ ==> (1,690,000/3,030,000 ) * 100 = 55.78%

ความหมาย ==> เมื่อนำความมั่งคั่งเปรียบเทียบกับสินทรัพย์รวมแล้ว เกินกว่ามาตรฐานคือ 50% นั้นแสดงว่าสินทรัพย์รวมนั้นมีความมั่งคั่งมากกว่าหนี้ิสินและมีความสามารถในการชำระหนี้สินระยะยาว 

2. หนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt to Asset Ratio) เป็นอัตราส่วนวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะปานกลางถึงยาว โดยที่อัตราส่วนนี้ต้องมีค่าน้อยกว่า 50% ซึ่งหมายความว่าเรามีสินทรัพย์รวมเพียงพอที่จะชำระหนี้ในระยะปานกลางถึงยาวได้ แต่ถ้ามีค่ามากกว่า 50% นั้นหมายความว่าสินทรัพย์รวมนั้นไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ในระยะปานกลางถึงยาวได้ แต่อัตราส่วนที่สูงนี้อาจจะไม่เป็นปัญหาสำหรับผู้ที่สามารถสร้างรายได้อย่างรวดเร็วเพื่อมาชำระหนี้ได้ทันเวลา

การคำนวณ ==> นำตัวเลขมาจากงบดุล


ผลลัพธ์ ==> (1,340,000/ 3,030,000) * 100 = 44.22%

ความหมาย ==> ผลลัพธ์ได้น้อยกว่า 50% บ่งบอกถึงสัดส่วนของหนี้สินเมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์นั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ ทำให้สามารถชำระหนี้ปานกลางถึงยาวได้ค่อนข้างดี มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ได้ค่อนข้างน้อย

3. การชำระคืนหนี้สินจากรายได้ ( Debt Service Ratio) เป็นอัตราส่วนวัดความสามารถในชำระหนี้ระยะสั้น โดยอัตราส่วนนี้ต้องน้อยกว่า 35-45% ซึ่งหมายความว่าความสามารถในการหารายได้ของเรานั้นเพียงพอที่จะจ่ายชำระหนี้ได้หรือไม่ (สมมติรายได้ 100 บาท ควรมีหนี้สินไม่เกิน 45 บาท)

  • ถ้าผลลัพธ์น้อยกว่า 35% แสดงว่าเรามีรายได้เพียงพอที่จะจ่ายชำระหนี้ ^_^ //
  • ถ้าผลลัพธ์มากกว่า 45% แสดงว่ารายได้ของเราไม่เพียงพอที่จะจ่ายชำระหนี้ มีความเสี่ยงที่ผิดนัดชำระหนี้ถ้าไม่แก้ปัญหาและปล่อยสะสมไปเรื่อยๆอาจจะเป็นคนล้มละลายก็ได ^_^!!

การคำนวณ ==> นำตัวเลขมาจากงบกระแสเงินสด


ผลลัพธ์ ==> (336,000/ 786,000) * 100 = 42.75%

ความหมาย ==> ผลลัพธ์ที่ได้อยู่ต่ำกว่า 45% แสดงว่ารายได้ของเรานั้นมีความสามารถในการจ่ายชำระหนี้ระยะสั้น

4. การชำระคืนหนี้ทีี่ไม่ใช่การจดจำนองจากรายได้ ( Non-mortgage Service Ratio ) เป็นอัตราส่วนที่วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น โดยไม่นำการจดจำนองมารวมด้วย ซึ่งเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่เราใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและเป็นตัววัดพฤติกรรมการใช้จ่ายได้ค่อนข้างดี โดยอัตราส่วนนี้ต้องน้อยกว่า 15-20% 
  • ถ้าผลลัพธ์น้อยกว่า 15% แสดงว่าเรามีความมั่นคงทางการเงิน มีการก่อหนี้จากการบริโภคในชีวิตประจำวันน้อย
  • ถ้าผลลัพธ์มากกว่า 20% แสดงว่าเรามีพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินที่เกินกว่ารายได้ที่เราจะหาได้ มีระดับการกู้ยืมเงินที่สูง ควรต้องรีบแก้ไข
การคำนวณ ==> นำตัวเลขมาจากงบกระแสเงินสด


ผลลัพธ์ ==> (336,000-240,000/ 786,000) * 100 = 12.21%


ความหมาย ==> ผลลัพธ์ที่ได้นั้นอยู่ต่ำกว่ามาตรฐาน แสดงว่ามีการก่อหนี้เพื่อนำมาใช้จ่ายในสินค้าอุปโภคบริโภคน้อย

ถ้าเราเทน้ำลงในโอ่งที่มีรอยรั่ว ถึงจะขยันตักน้ำมาเทเท่าไหร่ น้ำก็ไม่เต็มโอ่งสักที เพื่อทำให้น้ำเต็มโอ่งเราก็ต้องอุดรอยรั่วของโอ่งแล้วจึงค่อยเทน้ำลงไปน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ดังนั้นการรู้ตนเองจากอัตราส่วนทางการเงินในส่วนของภาระหนี้สินนั้นเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เราหารอยรั่วได้ง่ายที่สุด

ประเด็นมันอยู่ที่การจดบัญชีรายรับรายจ่าย ยิ่งจดละเอียดเท่าไหร่ผลลัพธ์ของการคำนวณก็จะออกมาถูกต้องตรงกับความจริงมากเท่่านั้น เรามาเริ่มหารอยรั่วจากการจดบัญชีรายรับรายจ่ายกันนะค่ะ ^_^ //


บทความน่าสนใจ

บัตรเครดิตที่เราต้องรู้
 ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/07/blog-post.html


แหล่งเก็บเงินที่ปลอดภัยนั้นไม่มีจริง!!
==> http://pajareep.blogspot.com/2013_04_01_archive.html


แบ่งเงินออมมาเก็บดอลล่าร์กันดีกว่า
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/03/blog-post_25.html

การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์การออมและการลงทุน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post.html


วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์สภาพคล่องส่วนบุคคล


เคยสงสัยไหมว่าบางคนทำงานได้เงินเดือนตั้งมากมาย แต่ทำไมไม่มีเงินเหลือเก็บ??

เคยสงสัยไหมว่าบางคนเงินเดือนไม่ถึงหมื่น แต่ทำไมมีเงินเก็บเดือนละหลายพัน??

เคยสงสัยไหมว่าทำไมคนโชคดีถูกหวยรางวัลใหญ่ๆ ดูตัวเลขแล้วน่าจะสบายไปทั้งชาติ แต่ทำไมไม่มีเงินเหลือเก็บถึงวัยชรา??

ถ้าเราป่วยเข้าโรงพยาบาลก็ต้องมีประวัติของเราบันทึกไว้ที่โรงพยาบาลว่าแพ้ยาอะไร ป่วยเป็นอะไรบ้าง อาการเป็นอย่างไร หรือได้รับการรักษาอะไรมาบ้าง ฯลฯ ซึ่งแพทย์จะได้วินิจฉัยโรคจากประวัติสุขภาพของเราเพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง รวมทั้งดูแนวโน้มการเกิดโรคอื่นๆที่จะตามมาได้อีกด้วย 

นั่นซิ...ทำไมไม่นำหลักคิดเรื่องการจดประวัติคนไข้ที่โรงพยาบาลมาใช้กับการตรวจสุขภาพทางการเงินของเราบ้างหละ เราจะได้รู้ว่าตอนนี้เงินของเราป่วยเพราะขาดสภาพคล่องจากภาระหนี้หรือไม่ หรือว่ามีเงินสดล้นมือจนทำให้เงินของเราป่วยเพราะถูกเงินเฟ้อกัดกินจนไม่เหลือค่าหรือไม่ มันก็เป็นวิธีการที่ดีที่เราจะทำประวัติการเงินของเราเก็บไว้ ซึ่งประวัติเหล่านั้นก็จะมาในรูปของงบการเงินส่วนบุคคล(งบดุล งบกระแสเงินสด) 

เราควรจะต้องเริ่มในเรื่องงบดุลและงบกระแสเงินสดว่ามันคืออะไร จะได้ใส่ประเภทของเงินได้ถูกที่ค่ะ 

การจัดทำงบดุลหรืองบกระแสเงินสดส่วนบุคคลนั้นทำยากตรงที่เราไม่ค่อยใส่ใจกับการจดบันทึกสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะการจดสินทรัพย์และหนี้สินที่เราสร้างขึ้นมา การจดรายรับรายจ่ายในแต่ละวันว่ามีรับและจ่ายอะไรไปบ้าง หรือบางคนที่จดอยู่แล้วก็อาจจะเกิดความคิดว่าก็รู้แล้วว่ารายรับรายจ่ายของตนเองเท่าไหร่ แล้วมันจะมีประโยชน์อะไรต่อหละ??

ลองเปลี่ยนแนวคิดมาเป็นแบบนี้ดูไหมค่ะ.......

"จดแล้วรวย ยิ่งจดละเอียดเท่าไหร่ก็ยิ่งรวย" 

ถ้าจะเริ่มจดบันทึกจะต้องทำอย่างไร ตอนนี้สมุดจดรายรับรายจ่ายมีขายเกลื่อนเมือง โปรแกรมจดบันทึกทางอินเตอร์เน็ตก็มีให้โหลด APP ใน iTunes ก็มีให้โหลดฟรีและเสียเงิน ขึ้นอยู่กับว่าคุณสะดวกวิธีไหนก็เลือกได้ ก่อนจดก็ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าส่วนประกอบของงบดุล(งบที่บ่งบอกฐานะทางการเงินของเรา) และงบกระแสเงินสด(การใช้จ่ายเงินของเรา) นั้นคืออะไร จะได้ใส่ตัวเลขได้ถูกงบว่ารายได้ เงินสด ค่าผ่อนรถยนต์ ฯลฯ ควรใส่ในงบอะไร บังเอิญไปเจอ YouTube ที่อธิบายเรื่องนี้ได้แจ่มมาก ขอขอบคุณที่คุณจัดทำวีดีโอนี้ขึ้นและขออนุญาตผู้ที่จัดนำมาประกอบการอธิบายนะค่ะ ^_^ //

ขอขอบคุณ : Mr. Jakkapong Mespan

อัตราส่วนทางการเงินส่วนบุคคล เป็นการนำตัวเลขต่างๆ จากงบที่เราจัดทำขึ้นนั้นมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานว่าผลการคำนวนทางการเงินของเรานั้น มากกว่า น้อยกว่าหรือเท่ากับมาตรฐาน และแปลผลจากตัวเลขเป็นบทสรุปว่าสุขภาพการเงินของเราป่วยหรือไม่ ถ้าป่วยแล้วควรจะรักษาอย่างไร

อัตราส่วนการเงินส่วนบุคคลแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

1. การวิเคราะห์สภาพคล่อง
2. การวิเคราะห์หนี้สิน ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_28.html
3. การวิเคราะห์การออมและการลงทุน ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post.html

ในครั้งนี้จะเป็นการวิเคราะห์สภาพคล่อง ส่วนอีก 2 เรื่องที่เหลือจะทะยอยเขียนในครั้งต่อไปค่ะ ^_^ //

ตัวอย่างงบดุลและงบกระแสเงินสด



การวิเคราะห์สภาพคล่อง จะทำให้เรารู้ว่า.....

==> ตนเองนั้นมีความสามารถที่จะนำเงินมาชำระหนี้ระยะสั้น(ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี) ได้หรือไม่

==> มีเงินไว้ใช้สำรองในยามฉุกเฉินหรือไม่(เช่น ตกงาน ป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล น้ำท่วมบ้าน ฯลฯ)

==> เมื่อเราต้องการใช้เงินนั้นเรามีสินทรัพย์ที่จะแปลงเป็นเงินสดได้รวดเร็วพอที่จะใช้จ่ายหรือไม่ (เช่น เงินสดที่มีจะเก็บในรูปแบบของที่ดินทั้งหมด พอป่วยเป็นโรคร้ายแรงที่ต้องได้รับการรักษาเร่งด่วนก็ไม่สามารถขายที่ดินแบบเร่งด่วนเพื่อนำเงินมาใช้ได้ ดังนั้นควรนำเงินส่วนหนึ่งกระจายไปอยู่ในสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว)

การคำนวนอัตราส่วนและการวิเคราะห์สภาพคล่อง



1. สภาพคล่อง (Liquidity Ratio) ทำให้เรารู้ว่าสินทรัพย์สภาพคล่อง(เช่น เงินสด เงินออมทรัพย์)ของเรานั้นมีพอที่จะชำระหนี้ระยะสั้น(ไม่เกิน  1 ปี) หรือไม่ ตัวเลขที่ได้ควรจะต้องมีค่ามากกว่า 1 เท่า

การคำนวณ ==> นำตัวเลขมาจากงบดุล


ผลลัพธ์ ==> 150,000 / 40,000 = 3.75 เท่า

ความหมาย ==> แสดงว่าเรามีสภาพคล่องเพียงพอที่จะชำระหนี้ระยะสั้นได้ดี และเกินมาตรฐาน คือ 1 เท่า การมีสภาพคล่องดีมากเกินไปอาจจะทำให้เงินนั้นเีสียโอกาสในการสร้างประโยชน์ในด้านอื่นๆ

2. สภาพคล่องพื้นฐาน (Basic Liquidity Ratio) เงินฉุกเฉินที่เราควรมีเก็บไว้ในกรณีที่เราเกิดตกงานกระทันหัน หรือขาดรายได้ในบางขณะ สินทรัพย์ที่เรากันสำรองไว้นั้นสามารถแปลงเป็นเงินสดและทำให้เรามีการใช้จ่ายอย่างปกติซึ่งมาตรฐาน คือ 3-6 เดือน

การคำนวณ ==> นำตัวเลขมาจากงบดุลและงบกระแสเงินสด



ผลลัพธ์ ==> นำกระแสเงินสดจ่ายรวม / 12 (เพื่อหาว่ารายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนเท่าไหร่)
              ==> 600,480/12 = 50,040 บาท
              ==> 150,000/50,040 = 2.9976 หรือประมาณ 3 เดือน

ความหมาย ==> เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เช่น ขาดรายได้จากการตกงาน ป่วยเข้าโรงพยาบาล น้ำท่วมกระทันหัน ฯลฯ เงินที่สำรองไว้นั้นสามารถทำใช้ดำรงชีวิต มีเงินใช้จ่ายในสภาวะปกติได้ 3 เดือนซึ่งเท่ากับมาตรฐาน

3. สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่อความมั่งคั่งสุทธิ (Liquidity asset to net worth Ratio) ในความมั่งคั่งสุทธิที่เรามีอยู่นั้นมีสินทรัพย์สภาพคล่องอยู่เท่าใด ซึ่งตามมาตรฐานต้องมีมากกว่าหรือเท่ากับ 15%

การคำนวณ ==> นำตัวเลขมาจากงบดุล


ผลลัพธ์ ==> (150,000 / 1,690,000)*100 = 8.88%

ความหมาย ==> ความมั่งคั่งของเรานั้นอยู่ในรูปแบบของสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำเป็นส่วนใหญ่ คำนวนได้ 8.88% ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะมากกว่า 15% มีแนวโน้มว่าเมื่อมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องรีบใช้เงินจะทำให้ไม่สามารถแปลงสินทรัพย์สภาพคล่องต่ำดังกล่าวมาเป็นเงินสดได้ไม่ทันเวลาที่ต้องการ

ตอนนี้ก็จบในส่วนของการวิเคราะห์สภาพคล่องแล้วนะคะ ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ก็คงจะเริ่มคุ้นๆว่าก็คล้ายกับการที่เราอ่านงบการเงินของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์นั่นแหละค่ะ นำวิธีการอ่านงบตรงนั้นมาดัดแปลงใช้ได้ ถ้ามีข้อมูลที่จะสอบถามเพิ่มเติมสามารถส่งผ่านทางอีเมล์ได้นะค่ะ

" เริ่มจดบันทึก(รายรับรายจ่าย) = เริ่มรวย "



บทความน่าสนใจ


รู้อะไรไม่สู้ "รู้งี้" กับการวางแผนเกษียณ
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/06/blog-post.html

ต้นทุนชีวิต - มีมูลค่าเท่าไหร่
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/05/blog-post.html

เงินฝากเขย่าโลก
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/04/blog-post_20.html

แหล่งเก็บเงินที่ปลอดภัยนั้นไม่มีจริง!!
==> http://pajareep.blogspot.com/2013_04_01_archive.html

แบ่งเงินออมมาเก็บดอลล่าร์กันดีกว่า
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/03/blog-post_25.html

ทิศทางการตลาดเพื่อดูแนวโน้มหุ้นแห่งอนาคต

บทเรียนในความมืดกับการวางแผนการเงิน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post_24.html

การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์หนี้สิน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_28.html

การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์การออมและการลงทุน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post.html



วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

ซื้อผ่อนหรือเช่า อันไหนดีกว่ากัน

อันนี้ขอนอกเรื่องนิดนึงนะคะ ปกติแล้วไม่เคยติดรายการร้องเพลงอะไรเลยจนมาเจอ The voice เก่ง ธชย ทำให้เรารู้สึกว่า "ไร้ขีดจำกัด" มันคืออะไร ทำให้เรามีพลังและเชื่อในสิ่งที่เราทำ ชอบทุกการแสดงของเค้าจริงๆ ขอบอกว่า สุดยอดดดดดด



============================================================


ความต้องการใช้เงินมีไม่จำกัด แต่เงินของเรามีจำกัด ดังนั้นควรเลือกให้ดีว่าจะใช้เงินอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้คุ้มกับความเหนื่อยยากทีุ่อุตสาห์ไปหามา ดังนั้นการที่เราจะตัดสินใจซื้ออะไรแต่ละอย่างก็ต้องคิดให้ดีก่อนซื้อ ก็เลยเกิดเป็นคำถามในใจว่า จะเลือกอะไรดีระหว่างซื้อหรือเช่า?? ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความพร้อมทางการเงินของแต่ละคน

การซื้อ โดยเงินผ่อน(การกู้ยืม)จะทำให้เรากลายเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นๆ เรามีอำนาจที่จะทำอะไรกับสินทรัพย์นั้นๆก็ได้ ถ้าเป็นการกู้ยืมมาซื้อนั้นก็จะมีการวางเงินดาวน์ และมีการผ่อนจ่ายเป็นงวดๆ โดยที่เราจะต้องจ่ายค่าดูแล บำรุงรักษา ค่าประกันภัยเอง

การเช่า เราจะไม่มีความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์นั้นๆ ไม่ต้องวางเงินดาวน์ เราจ่ายแต่เพียงค่าเช่าซึ่งได้รวมค่าใช้จ่ายทางด้านต่างๆไว้หมดแล้ว

วิธีตัดสินใจเลือกระหว่าง ซื้อผ่อน หรือ เช่า(โดยแต่ละสถานการณ์ให้ปัจจัยอื่นๆคงที่)

1. อัตราเงินเฟ้อ ==> ควรซื้อผ่อน มากกว่า การเช่า

เงินเฟ้อทำให้เงินของเรามีค่าน้อยลง ถ้าคิดง่ายๆก็ดูที่ราคาก๋วยเตี๋ยวที่เรากินตอนนี้กับสมัยเมื่อ 10 ปีที่แล้วก็ได้ ราคาเปลี่ยนแปลงไปมากมาย จากชามละ 15 มาเป็นชามละ 40 บาท (#_#)!! ถ้ามองความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อแล้วเราควรจะซื้อมากกว่าการเช่า เพราะราคาสินทรัพย์นั้นปรับตามเงินเฟ้อ ยิ่งนานวันราคาสินทรัพย์ก็จะแพงขึ้นตามเงินเฟ้อ ถ้าเราเลือกวิธีเช่าก็จะทำให้เราจ่ายค่าเช่าที่สูงขึ้น ยิ่งเงินเฟ้อมากขึ้นเท่าไหร่ค่าเช่าก็จะสูงขึ้นเท่านั้น ดังนั้นควรตัดสินใจซื้อเพื่อเป็นการป้องกันเงินเฟ้อ มีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดถ้าใครเช่าหรือมีเพื่อนที่เช่าหอพัก พอราคาสินค้าในตลาดแพงขึ้น(เงินเฟ้อ) ก็มักจะปรับราคาค่าเช่าห้องพักให้สูงขึ้น เจ้าของหอพักก็จะได้รับค่าเช่าที่เติบโตตามเงินเ้ฟ้อ ส่วนคนเช่าก็ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น บางครั้งราคาเพิ่มเร็วกว่าเงินเฟ้อซะอีก 

2. อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ==> ควรเช่า มากกว่า การซื้อผ่อน

เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงก็จะทำให้คนที่ซื้อบ้านหรือรถยนต์มีต้นทุนในการกู้ยืมที่สูงขึ้น ทำให้มีภาระที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือนสูงขึ้นไปด้วย ควรรอให้อัตราดอกเบี้ยลดต่ำลงมาก่อนแล้วค่อยมาตัดสินใจซื้อเพราะจะทำให้มีภาระการผ่อนชำระลดลง ระหว่างที่รอก็เช่าสินทรัพย์แทนการซื้อเพื่อรอดอกเบี้ยปรับตัวลง

3. อัตราดอกเบี้ยต่ำ ==> ควรซื้อผ่อน มากกว่า การเช่า

เมื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินของผู้กู้นั้นต่ำลงไปด้วย ควรตัดสินใจซื้อแทนการเช่า เพราะจะทำให้เรามีภาระการผ่อนชำระต่อเดือนต่ำ

4. ราคามูลค่าซากสูง ==> ควรซื้อผ่อน มากกว่า การเช่า

ถ้าราคาสินทรัพย์ที่เรามีนั้นมีราคาขายต่อในราคาที่สูงก็ควรซื้อมากกว่าการเช่า (มูลค่าซาก คือ จำนวนเงินที่เราคาดว่าจะได้รับเมื่อสินทรัพย์นั้นหมดอายุการใช้งาน) เพราะการซื้อและการเช่ามันแตกต่างที่ความเป็นเจ้าของ ถ้าเราเป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่มีมูลค่าขายต่อที่สูงย่อมดีกว่าการเช่า 

5. การจ่ายค่าปรับเมื่อมีการชำรุดเสียหาย ==> ควรซื้อผ่อน มากกว่า การเช่า

การซื้อทำให้เราเป็นเจ้าของจะมีแต่ค่าซ่อมบำรุงไม่มีค่าปรับในกรณีที่สินทรัพย์เกิดความเสียหาย แต่ถ้าเป็นการเช่านั้นแม้ว่าจะจ่ายค่าเช่าที่รวมค่าใช้จ่ายโดยอ้อมไว้ทั้งหมดแล้ว บางครั้งอาจจะต้องเสียค่าปรับเพิ่มในกรณีที่สินทรัพย์เกิดความเสียหายอีกด้วย

การพิจารณาว่าควรซื้อผ่อนหรือเช่านั้นไม่สามารถฟันธงได้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ข้อใดข้อหนึ่งก็ควรใช้วิธีตามนั้น ต้องดูให้เหมาะกับแต่ละบุคคลด้วย เช่น บางคนได้รับหน้าที่ไปทำงานต่างจังหวัด 1-2 เดือน แล้วก็ต้องย้ายไปทำจังหวัดอื่นๆต่อไป การเลือกที่อยู่อาศัยนั้นสำคัญ แม้ว่าตอนนั้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดจะต่ำ(ตามหลักแล้วควรซื้อผ่อนมากกว่าการเช่า)  ถ้าถูกย้ายให้ไปทำงานสัก 5 จังหวัด แล้วซื้อบ้านไปทุกจังหวัดก็คงไม่ไหว ดังนั้น ควรเลือกวิธีการเช่าบ้านมากกว่าการซื้อผ่อนเพราะลักษณะงานจะต้องเดินทางบ่อยๆ 


"รู้วิธีหาเงิน ก็ควรรู้วิธีใช้เงิน"



บทความน่าสนใจ 

บัตรเครดิตที่เราต้องรู้
 ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/07/blog-post.html


แหล่งเก็บเงินที่ปลอดภัยนั้นไม่มีจริง!!
==> http://pajareep.blogspot.com/2013_04_01_archive.html

การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์หนี้สิน