การคำนวนตัวเลขค่อนข้างที่จะยุ่งยากที่แปลงมูลค่าแหล่งของเงินหลังเกษียณเป็นมูลค่า ณ อายุที่เกษียณ เพื่อความง่ายจะไม่กล่าวถึงจุดนั้น ให้เราเข้าใจแนวคิดของการวางแผนเกษียณเป็นใช้ได้ นอกนั้นไปจ้างผู้เชี่ยวชาญวางแผนให้อีกทีนึงค่ะ ก่อนอื่นมาดูภาพรวมของการวางแผนเกษียณว่าเป็นอย่างไร เข้าในแนวคิดของการวางแผนเกษียณแล้วค่อยมาลงในรายละเอียด
อธิบาย "ภาพรวมของการวางแผนเกษียณ"
หมายเลข 1 เป็นจุดที่เรายืนอยู่ในปัจจุบัน ต้องดูว่าเรามีแหล่งของรายได้เพื่อเกษียณอะไรบ้าง และมีมูลค่าเป็นเท่าไหร่ ณ วันที่เราต้องการเกษียณ (หมายเลข 3) ซึ่งการออมเงินแต่ละรูปแบบก็จะมีวิธีการคิดแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข เช่น ถ้าเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ต้องมาดูว่าเราทำงานมากี่ปี มีการคงเงินในกองทุนหรือไม่ ถ้าไม่ถอนเงินออกจะได้เงินสมทบจากนายจ้างเท่าไหร่ หรืือ กบข.ก็ต้องมาดูว่าเป็นข้าราชการก่อนหรือหลัง 27 มีนาคม 2540 เพราะสูตรการคิดคำนวณก็แตกต่างกัน เป็นต้น การคำนวณนี้ต้องใช้เครื่องคิดเลขทางการเิงิน ถ้ามือถือใครโหลดแอพนี้ได้จะดีมากเลยค่ะ โหลดฟรีค่ะ ปุ่มที่เราจะใช้คือ สีเขียวกับสีเทาค่ะ
วิธีการกดเครื่องคิดเลข
ตัวอย่าง ตอนนี้นาย ก อายุ 30 ปี ถ้าเรามีเงินฝาก 1,000,000 บาท ได้รับดอกเบี้ย 3% และคาดว่าจะเกษียณอายุ 55 ปี เงินฝากจำนวนนี้จะมีมูลค่าเท่าไหร่ ณ วันเกษียณ
55-30 = 25 N ; 1,000,000 PV ; 3 I/Y ; CPT FV ==> 2,093,777 บาท
หมายความว่า เงินจำนวน 1,000,000 บาท ฝากธนาคารได้รับดอกเบี้ย 3% ในระยะเวลา 25 ปี เราจะได้เงิน ณ วันที่เราเกษียณ 2,093,777 บาท
หมายเลข 2 เมื่อเราเกษียณแล้วจะมีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพหลังเกษียณเท่าไหร่ การคำนวณเงินที่ต้องการเมื่่อเกษียณมีการคำนวน 2 วิธี ซึ่งในทางปฏิบัติวิธีที่ 1 เหมาะกับช่วงที่ยังอายุไม่มาก ส่วนวิธีที่ 2 เหมาะกับคนที่ใกล้จะเกษียณอายุ เนื่องจากสามารถประมาณการค่าใช้จ่ายในช่วงใกล้เกษียณได้ใกล้เคียงความจริงที่สุด วิธีคำนวณดังนี้ค่ะ
1. Income Method (Replacement Ratio Method) วิธีการนี้จะประมาณการว่าเราต้องการมีเงินได้เป็นสัดส่วนเท่าใดในปีแรกที่เกษียณ โดยเปรียบเทียบกับเงินได้ที่ไ้ด้ัรับก่อนเกษียณ เพื่อให้มีสภาพการดำรงชีพในปีแรกที่เกษียณตามที่ตั้งใจ โดยทั่วไปสัดส่วนของเงินได้ในปีแรกที่เกษียณจะอยู่ที่ 50-70% ของเงินได้ก่อนเกษียณ เป็นสัดส่วนที่ไม่ตายตัว ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางการเงินของเราเป็นหลัก แต่ถ้าหากว่าเราใช้สัดส่วนที่ต่ำเกินไปอาจจะต้องประสบปัญหาที่มีเงินไม่เพียงพอตลอดการเกษียณ วิธีการคำนวณนี้เป็นวิธีที่ง่ายเพราะมีข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ ใช้ END Mode
ตัวอย่างวิธีคำนวณ
นาย ก อายุ 30 ปี มีเงินเดือนๆละ 45,000 บาทเป็นรายได้ปีละ 540,000 บาท โดยวางแผนเกษียณในอีก 25 ปีข้างหน้า อัตราการเพิ่มของรายได้เฉลี่ย 5% ต่อปี ดังนั้น รายได้ที่นาย ก จะได้รับในอีก 25 ปีข้างหน้ามีจำนวนเท่าใดและ replacement ratio = 70%
25 N ; 540,000 PV ; 5 I/Y ; CPT FV ==> 1,828,631
Replacement Ratio = 70% ==> 1,828,631 x 0.7 = 1,280,042
หมายความว่า นาย ก มีรายไ้ด้ที่จะได้รับในอีก 25 ปีข้างหน้าคือ1,828,631 และถ้านาย ก ต้องการมีรายได้ในปีแรกที่เกษียณเท่ากับ 70% ของรายได้ก่อนเกษียณ ดังนั้น เป้าหมายรายได้ของนาย ก ที่ต้องการนำไปใช้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตหลังเกษียณต่อปี คือ 1,280,042 บาทต่อปีหรือ 106,670 บาทต่อเดือน
2.Expense Method วิธีการนี้จะประมาณการค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีแรกที่เกษียณ โดยการนำรายการค่าใช้จ่ายต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบันมาคาดการณ์ว่ามีมูลค่าเท่าใดเมื่อเกษียณอายุ โดยเปรียบเทียบทีละรายการ ว่าค่าใช้จ่ายประเภทใดที่จะเพิ่มขึ้นหรือค่าใช้จ่ายใดที่จะลดลงเมื่อเกษียณอายุ ซึ่งต้องสอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงินและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เราต้องการด้วย ในการประมาณการค่าใช้จ่ายเมื่อเกษียณนั้นต้องปรับรายการค่าใช้จ่ายด้วยอัตราเงินเฟ้อ และต้องปรับเครื่องคิดเลขให้เป็น BGN Mode นะค่ะ เพราะรายจ่ายจะเกิดต้นงวด ทั้งนี้การตัดสินใจว่าค่าใช้จ่ายใดจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบการดำเนินชีวิตและพื้นฐานการดำเนินชีวิตของเราด้วย
* จดบันทึกรายรับรายจ่ายมีประโยชน์ตรงนี้เพราะเราจะมีข้อมูลในการคำนวนที่ถูกต้อง
อย่างไรก็ตามมีค่าใช้จ่ายหลายประเภท เช่น การท่องเที่ยว การพักผ่อนหย่อนใจอาจจะมีสัดส่วนที่สูงในช่วงแรกของการเกษียณ แต่จะเปลี่ยนแปลงลดลงในช่วงหลังๆ ส่วนค่ารักษาพยาบาลมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นโดยตลอด
หมายเหตุ * หารอยรั่วจากการจดบันทึก http://pajareep.blogspot.com/2012/05/blog-post_13.html
หมายเลข 3 นำหมายเลขที่ 1 (แหล่งของเงินเพื่อวัยเกษียณ) มาลบกับหมายเลข 2 (การคำนวนรายได้หรือรายจ่ายช่วงหลังเกษียณ) พูดง่ายๆคือว่า เงินเก็บที่เรามีอยู่เพียงพอกับการใช้จ่ายหลังเกษียณของเราหรือไม่
วิธีคำนวน
1. ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตหลังเกษียณต่อปี คือ 1,280,042 บาท (PMT) (มาจากหมายเลข 2)
2. สมมติให้ อายุเฉลี่ย 85 ปี ดังนั้น ช่วงอายุก่อนเสียชีวิต 30 ปี (N)
3. สมมติให้ อัตราผลตอบแทนคาดหวังจากการลงทุนหลังเกษียณหลังหักภา๊ษี 5%
4. สมมติให้ อัตราเงินเฟ้อ 3%
5. จากข้อ 3,4 คิดเป็นอัตราผลตอบแทนที่ปรับด้วยเงินเฟ้อ (I/Y)
5.1 นำเลข 1.05 / 1.03 = 1.0194
5.2 (1-1.0194) x 100 = 1.9417% ใช้ตัวเลขนี้ในการคำนวณ
6. การกดเครื่องคิดเลขให้ปรับเป็น BGN Mode
7. กดเครื่องคิดเลขดังนี้ 1,280,042 PMT ; 1.9417 I/Y ; 30 N ; CPT PV = 29,460,699 บาท
หมายความว่า จากการคำนวนโดยวิธี Income Method ค่าใช้จ่ายที่เราต้องการใช้หลังเกษียณต่อปีคือ 1,280,042 บาท ถ้าอายุเฉลี่ยที่ 85 ปี เรามีเวลาใช้เงิน 30 ปี ต้องใช้เงินเพื่อใช้จ่ายทั้งหมด 29,460,699 บาท ดังนั้นถ้าเรามีแต่เงินฝาก 1 ล้านบาทเพียงอย่างเดียว(หมายเลข 1) จะเป็นมูลค่า ณ อายุ 55 เท่ากับ 2,093,777 บาท ดังนั้นคุณต้องออมเงินเพิ่มอีก 29,460,699 - 2,093,777 = 27,366,922 บาท
จากตัวอย่างอาจจะดูโหดร้ายไปหน่อย ทั้งที่ในความจริงแล้วแหล่งของเงินในหมายเลข 1 เราก็ต้องมีเงินในส่วนอื่นอีก เช่น เงินประกันสังคม เงินประกันชีวิต กองทุนรวม กบข. หุ้นสามัญ เงินฝากประจำ RMF LTF ฯลฯ เราก็ต้องคำนวนทั้งหมดที่มีเป็นมูลค่าเงิน ณ ปีที่เกษียณ(เช่น อายุ 55 ปี) เพื่อมาดูว่าเงินที่จะใช้เป็นรายจ่ายในอนาคตเพียงพอหรือไม่ ก็ต้องมาคำนวณว่าก่อนเสียชีวิตเราต้องใช้เงินเท่าไหร่ตามหมายเลข 2 จากนั้นก็นำมาลบกัน
==> ถ้าหมายเลข 1 มากกว่าหมายเลข 2 แสดงว่าแหล่งของเงินออมนั้นมีมากกว่ารายจ่ายที่เราจะใช้หลังเกษียณ เรามีเงินเหลือและสามารถมีมรดกเหลือไว้ให้ลูกหลานด้วย
==> ถ้าหมายเลข 1 น้อยกว่าหมายเลข 2 แสดงว่าแหล่งของเงินออมนั้นมีน้อยกว่ารายจ่ายที่เราจะใช้หลังเกษียณ ดังนั้นต้องออมเงินเพิ่ม ควบคุมรายจ่ายให้ได้ ไม่อย่างนั้นตอนเกษียณไม่สนุกแน่ๆ
ในบางครั้งเราคิดว่าเงินเก็บที่มีและเงินสวัสดิการที่ได้คงใช้พอหลังเกษียณ มันไม่แน่เสมอไป ใครจะไปรู้ว่าพ่อแม่เกษียณต้องมาช่วยลูกผ่อนรถยนต์ มีรายจ่ายที่คาดไม่ถึงอีกมากมาย บางคนนำเงินจากอนาคตมาใช้ เช่น การใช้บัตรเครดิต ตอนนี้อายุ 30 ปีแต่อาจจะนำเงินตอนอายุ 33 ปีมาใช้แล้วก็ได้ การสร้างหนี้ก็มีประโยชน์ถ้าเงินที่สร้างหนี้นั้นเอาไปลงทุนในผลงอกเงย แต่ถ้าสร้างหนี้เพื่อมาบำเรอความสุขเพียงชั่วคราว เพื่อประกาศให้คนอื่นรู้ว่าตนเองร่ำรวยทั้งที่ความจริงแล้วกลวง มันน่าหัวเราะมากกว่า เมื่อหลายปีก่อนมีโจรขึ้นมาขโมยทรัพย์สินของเพื่อนบ้าน เจ้าของบ้านกลับมาถึงก็ตรงเข้าไปรื้อกองผ้าขี้ริ้วใหญ่เลยเพื่อหาอะไรบางอย่าง หลังจากตรวจสอบแล้วพบว่าทรัพย์สินมีค่าหายไปรวมกันแล้วไม่กี่หมื่นบาทส่วนทองคำที่ถูกห่อด้วยผ้าขี้ริ้วหลายสิบบาทโจรไม่ได้ขโมยไป พึ่งเข้าใจคำว่าผ้าขี้ริ้วห่อทองก็วันนี้เอง
"ความสุขหลังเกษียณมีได้ง่ายๆแค่วางแผนตั้งแต่ตอนนี้"
บทความน่าสนใจ
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/09/6209.html
ลูกจะมีวินัยทางการเงินหรือไม่นั้นต้องเริ่มจากพ่อกับแม่
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/08/blog-post_4.html
บัตรเครดิตที่เราต้องรู้
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/07/blog-post.html
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/06/blog-post.html
ต้นทุนชีวิต - มีมูลค่าเท่าไหร่
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/05/blog-post.html
เงินฝากเขย่าโลก
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/04/blog-post_20.html
==> http://pajareep.blogspot.com/2013_04_01_archive.html
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/03/blog-post_25.html
ทิศทางการตลาดเพื่อดูแนวโน้มหุ้นแห่งอนาคต
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post_24.html
ร่ำรวยจากสิ่งที่มี
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post.html
==============================================================
เกษียณก่อน.. ลำบากก่อน..
โดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 23 พ.ย. 2555
ผมได้อ่านบทความเรื่อง “The Benefits of Retiring later” ซึ่งแปลตามความได้ว่า “ประโยชน์ของ..การเกษียณช้า” ซึ่งผมคิดว่ามีประโยชน์มาก
จึงอยากนำมาให้คุณผู้อ่านได้อ่าน อย่างไรก็ตาม เนื้อหาดังกล่าวค่อนข้างจะไม่เข้ากับสังคมไทยเอาเสียเลย ดังนั้น ผมจึงขอยกกรณีศึกษาของคนที่ผมรู้จักซัก 2 เรื่อง โดยจะใช้นามสมมุติ ดังนี้ครับ
เรื่องที่หนึ่ง “ศักดิ์ชัย” ตั้งบริษัทของตนเองขึ้นมา และทำงานในบริษัทตนมานานถึง 30 ปี เขาเกษียณอายุเมื่ออายุได้ 60 ปี พร้อมกับเงินเก็บ 7.5 ล้านบาท ศักดิ์ชัยใช้จ่ายเงินเพื่อตนเองและครอบครัวปีละ 750,000 บาท แต่เขาก็สามารถทำให้เงินของเขางอกเงยขึ้นได้บ้าง ภายหลังพบว่า ศักดิ์ชัยได้ถอนเงินออกมาทุกปี พอครบ 14 ปี เงินของศักดิ์ชัย 7.5 ล้านบาท ก็..หมดลง ทุกวันนี้ชีวิตของศักดิ์ชัยต้องพึ่งโครงการ “30 บาท รักษาทุกโรค” เงินเก็บส่วนตัวไม่มีเหลือเลย จึงต้องขอเงินจากลูกหลานและญาติมิตร ลูกหลานญาติมิตรเริ่มทำตัวออกห่างมากขึ้นเรื่อยๆ มีเพียงภรรยาที่ไม่มีเงินเหมือนกันเป็นเพื่อน แต่ชีวิตก็..ลำบาก..และเครียด
เรื่องที่สอง “อัจฉรา” เป็นอาจารย์และเป็นโสด แม้ว่าเธอได้เกษียณตอนอายุ 60 ปีไปแล้ว แต่เธอก็ยังคงทำงานด้านการศึกษาต่อไป อัจฉราทำงานจนถึงอายุ 75 ปี เธอจึงยอม..เกษียณอย่างแท้จริง และพบว่าในวันที่ตัวเธอเกษียณอายุ ตัวเองมีเงินเก็บ 4.5 ล้านบาท อัจฉราก็นำเงินไปลงทุนและฝากเงินเช่นเดียวกับศักดิ์ชัย เธอมักจะถอนเงินออกมาเพื่อใช้จ่ายส่วนตัวและสุขภาพปีละ 200,000 บาท ด้วยความประหยัด มัธยัสถ์ และอดออม ทุกวันนี้อัจฉราก็ยังคงใช้ชีวิตเรียบง่ายโดยไม่ได้โดดเดี่ยวเดียวดาย อัจฉรามีเพื่อนฝูงที่เป็นโสดจนเกษียณมากมาย อัจฉราเป็นคนชอบให้ของขวัญลูกหลาน อัจฉราเป็นคนชอบทำบุญ จึงไม่ต้องเป็นห่วงว่า ชีวิตของอัจฉราจะไม่มีคนไปมาหาสู่เธอเลย ชีวิตคนโสดจนเกษียณของ “อัจฉรา” จึงดูเหมือนว่า..จะมีความสุขมากกว่าชีวิตของ “ศักดิ์ชัย”
หลังจากอ่านชีวิตของทั้งสองคนไปแล้ว หากเราลองคิดดูว่า อะไรที่ทำให้ชีวิตของ “ศักดิ์ชัย” และ “อัจฉรา” แทบจะแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน ผมเองมีข้อสังเกต 2 ประการ ดังนี้ครับ
หนึ่ง ปัจจุบัน..คนมีอายุมากขึ้น
ด้วยพัฒนาการทางด้านอาหารและเวชภัณฑ์ ก็ทำให้ผู้คนมีอายุมากขึ้นโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และทำให้โลกใบนี้มีคนแก่มากขึ้น..และมากขึ้น ตัวเลขจาก Wikipedia พบว่า เมื่อประมาณหนึ่งร้อยปีก่อน อายุเฉลี่ยของคนทั่วโลกอยู่ที่ 31 ปี แต่ทุกวันนี้อายุเฉลี่ยของคนทั่วโลกอยู่ที่ 67.2 ปี นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่า “คนแก่” กำลังจะ..ล้นโลก ในขณะที่ “คนหนุ่มสาว” ในวัยทำงานกำลังจะ..ลดลง ภาระอันหนักหน่วงจึงไปตกอยู่กับคนหนุ่มสาวในปัจจุบัน ที่คงจะต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปเป็นสวัสดิการสังคมให้กับคนแก่ อย่างไรก็ตาม สวัสดิการสังคมดังกล่าวคงไม่พอเพียงกับจำนวนประชากรของ “คนแก่” ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน
ปัจจุบันนี้ จึงพบว่า “คนแก่” มักจะต้องกระเสือกกระสนดิ้นรนหาเลี้ยงชีพให้แก่ตนเองเท่าที่จะทำได้ ก่อนที่จะถูกสังคมและลูกหลานค่อยๆ...ทิ้งไป
สอง วางแผนการเงิน
จากการประมาณการเบื้องต้นพบว่า หากศักดิ์ชัยทำงานต่ออีก 5 ปี ไม่คิดที่จะ “เกษียณก่อน.. ลำบากก่อน..” แล้ว คุณภาพชีวิตของศักดิ์ชัยก็จะดีขึ้น เพราะเงินเหลือเก็บก็จะมีมากขึ้น เนื่องจากศักดิ์ชัยไม่ต้องผ่อนบ้าน ..ไม่ต้องผ่อนรถ ..และไม่ต้องผ่อน “ค่าลูก” ซึ่งคาดว่าเงินเหลือเก็บก็จะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ทำงานเพิ่ม หากศักดิ์ชัยทำงานเพิ่มขึ้น 5 ปี จึงมีเงินเหลือเก็บเพิ่มขึ้นอีก 5 ปี ดังนั้น ศักดิ์ชัยจะมีเงินเหลือเก็บ 14+5+5 = 24 ปี ศักดิ์ชัยก็อาจจะใช้เงินหมดเมื่ออายุ 60+24 = 84 ปี ศักดิ์ชัยจึงมีแนวโน้มที่จะใช้ชีวิตที่ดีขึ้น แต่หากศักดิ์ชัยเลือกเกษียณอายุเพิ่มขึ้นอีก จะเป็นดังนี้ เกษียณที่ 70 ปี..จะมีเงินใช้ = 60+14+10+10 = 94 ปี และเกษียณที่ 75 ปี..จะมีเงินใช้ = 60+14+15+15 = 104 ปี ตามลำดับ คุณภาพชีวิตของ “ศักดิ์ชัย” ก็จะยิ่งดีขึ้นไหมครับ?
ผมเคยเขียนบทความที่ชื่อ “8 วิธีที่จะทำให้รวยก่อนเกษียณ” (อ่านได้ที่ http://www.doctorwe.com/variety/20120805/2976) โดยพูดถึงวิธีที่ว่า “ชีวิตนี้..ไม่มีวันเกษียณ” ไว้ว่า ในชีวิตของคนเรานั้น เราต้องพยายามที่จะ “กำหนดชีวิต” ของเราเองให้ได้ นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ และรัฐบุรุษแห่งสิงคโปร์ นายลี กวนยู ก้าวลงจากตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2544 ในเวลานั้น เขามีอายุถึง 87 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เขาสามารถ “กำหนดเวลาเกษียณ” ของเราเองได้
คุณหมอประสพ รัตนากร ผู้ริเริ่มงานด้านสุขภาพผู้สูงอายุและชมรมผู้สูงอายุทั่วประเทศ และก่อตั้งสมาคมวิชาชีพทางสุขภาพจิต ประสาทวิทยา จิตเวชศาสตร์ และสังคมวิทยา คุณหมอจัดรายการ “ใจเขาใจเรา” ทางวิทยุและโทรทัศน์มากว่า 50 ปี คุณหมอทำงานต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 92 ปี และเพิ่งจะจากพวกเราไปในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทั้งหมดก็แสดงให้เห็นว่า คุณหมอก็สามารถ “กำหนดวันเกษียณของตัวเอง” ได้
ทำให้นึกถึง เซอร์ พอล แมคคาร์ทนี (Sir Paul McCartney) หนึ่งในนักดนตรีวงเดอะบีทเทิลส์ที่เคยสร้างผลงานไว้อย่างโด่งดังไปทั่วโลก เขากล่าวถึง..ชีวิตเกษียณ ไว้ว่า “Why would I retire? Sit at home and watch TV? No thanks. I'd rather be out playing.” แปลตามความได้ว่า “ทำไมผมต้องเกษียณด้วยล่ะ? ให้นั่งอยู่บ้านและดูทีวีไปเรื่อยๆ..ผมไม่เอาหรอก ผมเลือกที่จะออกไปเล่นดนตรีเสียดีกว่า” แล้วคุณผู้อ่านล่ะครับ..จะรีบเกษียณตัวเองไปทำไม?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น