รู้สึกดีใจนิดๆเมื่อรู้ว่าน้องที่ทำงานที่มีชีวิตลั้นลากับการรูดปรื๊ด ๆ นั้นเลิกการใช้บัตรเครดิตอย่างเด็ดขาด จากแต่ก่อนที่บอกว่าตนเองนั้นมีวินัยทางการเงิน ไม่เป็นหนี้บัตรเครดิตอย่างแน่นอน เราก็เตือนด้วยความหวังดีว่าใช้เท่าที่มี อย่าเอาเงินในอนาคตมาใช้ ถ้าเตือนแล้วไม่ฟังก็ต้องให้ประสบการณ์เป็นเครื่องนำทาง หลังจากเปิดใช้บัตรเครดิตได้ไม่กี่เดือนก็เห็นผล ใช้บัตรกันสนุกสนานสำราญใจ เมื่อใช้แรกๆก็มีวินัยจ่ายตรง ใช้รูดเล็กๆน้อยๆ แต่พอหลังๆเริ่มติดเป็นนิสัย จากเงินต้นก็มีดอกออกผลเรื่อยๆ ในระยะหลังๆมาเริ่มไม่ไหวกับสภาพหนี้ที่เป็นอยู่ โชคดีมากๆที่ทางบ้านสามารถช่วยเหลือได้ น้องเค้าก็เลยสามารถมาชำระหนี้ได้หมด แล้วยกเลิกบัตรเครดิตทันที
ถ้ามองอีกมุมหนึ่งในกรณีที่ทางบ้านไม่สามารถจ่ายหนี้ให้ได้สภาพจะเป็นอย่างไร คงไม่พ้นวิธีหยิบยืมเงินจากคนอื่น หรือไม่ก็เปิดบัตรเครดิตอีกสักสองสามใบ โดยการโอนหนี้จากบัตรเครดิตที่เก็บอัตราดอกเบี้ยสูงไปที่บัตรที่เก็บอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า แล้วรีบชำระหนี้ เป็นอย่างนี้วนไปเรื่อยๆไม่จบสักที จะจบรอบได้ก็ต่อเมื่อเราหยุดแล้วพอใจกับการใช้เท่าที่หาได้เท่านั้น
เปิดเจอเพลงนี้ฟังแล้วฮาดีเลยเอามาแชร์ มาดูว่าจะเหมือนเรารึเปล่า
ชื่อเพลง โอ้เจ้าหนี้
เปิดเจอเพลงนี้ฟังแล้วฮาดีเลยเอามาแชร์ มาดูว่าจะเหมือนเรารึเปล่า
ชื่อเพลง โอ้เจ้าหนี้
วิธีการเป็นเจ้านายบัตรเครดิต (อย่าเป็นทาสมันโดยการสร้างหนี้ที่ไม่จำเป็น)
- อย่าเห็นแก่แต้มสะสม
บางคนเคยไปเดินเลือกซื้อของบางครั้งได้รับคำแนะนำจากผู้ขายสินค้าว่า "ซื้อของเพิ่มอีกนิดก็ได้ของแถมแล้ว" เราก็คิดว่าอีกนิดคงไม่เป็นไรแล้วได้ของแถมอีกด้วย แล้วเราก็กลับบ้านมาด้วยสินค้าอีกอย่างนึงที่เกินความจำเป็นและไม่รู้ว่าซื้อมาเพราะอะไร รู้แต่ว่าได้ของแถมก็คุ้มแล้ว (จริงหรอ) โปรโมชั่นสะสมแต้มของบัครเครดิตก็ทำให้เราใช้ของเกินความจำเป็นเหมือนกัน รูดอีกนิดนึงก็จะได้แต้มแลกกล้องถ่ายรูปได้แล้ว ทั้งๆที่ไปซื้อกล้องถ่ายรูปเองราคาถูกกว่า
จากตัวอย่างคนใกล้ตัวที่ทั้งบ้านมีแต่ของสะสมแลกแต้มจากบัตรเครดิต ไม่ใช่เพราะตั้งใจจะแลกแต้มแต่เป็นเพราะซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิตมาขายโดยนำบัตรเครดิตมาเป็นเงินหมุน เช่น สมมติว่าระยะเวลาการจ่ายยอดหนี้คือ 45 วัน ดังนั้นสินค้าที่เค้าใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าต้องขายให้หมดภายใน 45 วันหรือก่อนครบกำหนดชำระ ถ้าทำได้ก็ไม่ต่างกับการจับเสือมือเปล่า เหมือนเป็นการยืมเงินมาซื้อก่อน พอเราเปลี่ยนสินค้าเป็นเงินแล้วก็นำไปคืน ที่เหลือเป็นกำไร เป็นการซื้อในปริมาณมากๆทำให้มีแต้มสะสมมาก แต่ก็มีความเสี่ยงถ้าไม่สามารถขายของได้ก่อนครบกำหนดชำระอาจจะมีผลต่อเงินที่ต้องไปชำระหนี้
แต่วิธีใช้บัตรเครดิตของคนทั่วไปนั้นนำมาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่า ไม่สามารถก่อให้เกิดรายได้ การซื้อของในปริมาณน้อยทำใ้ห้แต้มสะสมน้อย เลยใช้จ่ายเยอะๆเพื่อแลกแต้ม สุดท้ายก็บริโภคเกิดความสามารถในการหารายได้ ไม่พ้นภาวะการก่อนหนี้โดยไม่จำเป็น อย่าเห็นแก่แต้มสะสมเลยค่ะ บอกได้เลยว่ามันไม่คุ้ม
-อย่าใช้บัตรเครดิตซื้อสินทรัพย์เพื่อการลงทุน
บัตรเครดิตก็คือการกู้ยืมเงินในอนาคตมาใช้ แล้วทำไมเราต้องเอาเงินกู้ยืมมาลงทุนด้วยหละ มันจะคุ้มไหมกับการนำอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนมาชำระหนี้บัตรเครดิต เพราะการก่อหนี้จากบัตรเครดิตเป็นหนี้ระยะสั้น แต่สินทรัพย์เพื่อการลงทุนเป็นการลงทุนเพื่อความมั่งคั่่งระยะยาว มันไม่ค่อยสมเหตุผลเท่าไหร่ที่จะนำหนี้ระยะสั้นมาลงทุนสร้างผลตอบแทนระยะยาว ลองพิจารณาง่ายๆว่าหนี้ที่ต้องถึงกำหนดชำระอีกไม่กี่วันข้างหน้าแต่ผลตอบแทนจากการลงทุน(เช่น หุ้น กองทุนรวม ทองคำ ฯลฯ) ยังไม่บังเกิดเป็นดอกผลกันเลย แล้วจะนำเงินที่ใดเล่ามาชำระหนี้เจ้า่ค่ะ ควรเลือกเครืื่่องมือให้เหมาะสมกับการลงทุน สมมติว่าคุณอยู่กรุงเทพฯแล้วต้องการเิดินทางไปเที่ยวปาย คุณจะเลือกวิธีการเดินทางแบบใด นั่งเครื่องบิน ขับรถยนต์ เช่ารถ นั่งรถไฟ ขี่มอเตอร์ไซด์ ขี่จักรยาน ฯลฯ วิธีการเดินทางแต่ละแบบก็มีความเสี่ยงแตกต่างกัน ถ้าคุณใช้บัตรเครดิตซื้้อสินทรัพย์เพื่อการลงทุนก็เหมือนกันการขี่มอเตอร์ไซด์ไปเที่ยวปายนั่นเอง ความเสี่ยงจะเกิดขึ้นตลอดการเดินทางแน่นอน
กลยุทธ์ทางการตลาดโดยใช้โปรโมชั่นบัตรเครดิตชำระค่าซื้อกองทุนรวม แล้วได้แต้มสะสมเพื่อแลกของรางวัล บางครั้งอาจจะลดหย่อนภาษี ก็เป็นตัวอย่างของการนำเงินระยะสั้นมาลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาว ไม่ใช่กองทุนรวมทุกกองที่ซื้อโดยใช้บัตรเครดิต บางที่อาจจะเสนอพ่วงกับกองทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนต่ำกว่าก็มี เก็บค่าธรรมเนียมยิบย่อย นักลงทุนต้องพิจารณาเพราะผลตอบแทนของกองทุนรวมแต่ละกองให้อัตราผลตอบแทน ค่าธรรมเนียมแตกต่างกัน
ถ้าคุณคิดทางเลือกระหว่างลงทุนเองจากกองทุนที่เราศึกษามาอย่างดีกับเลือกซื้อกองทุนที่มีโปรโมชั่นเสริมต่างๆ วิธีการตัดสินใจให้คิดผลลัพธ์ทุกทางเลือกทั้งหมดออกมาเป็นตัวเลข ว่าแต่ละทางเลือกคุณได้อะไร เท่าไหร่และเสียอะไร เท่าไหร่ ไม่มีทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด มีแต่ทางเลือกที่เหมาะสมกับเป้าหมายการลงทุนของคุณมากที่สุดเท่านั้น สุดท้ายแล้วอย่าลืมถามตัวเองด้วยว่าคุณต้องการลงทุนเพราะอะไร เพื่อความมั่งคั่งหรือเพื่อโปรโมชั่น
- ต้องรู้จักตนเอง
บางคนเห็นคนอื่นภาพลักษณ์ดี ใช้ของมีราคา อันนั้นไม่ได้ว่าอะไรถ้าเค้ามีฐานะจริงๆ เพราะเค้าคงไม่เดือดร้อนที่จะจับจ่ายใช้สอย แต่บางคนไม่มีแต่อยากดูดีเนี้ยซิอาจจะเหนื่อยสักหน่อยที่ต้องการสร้างภาพให้ตัวเองดูดี ทั้งที่ข้างในกลวง การให้คนอื่นยอมรับเราที่จิตใจมันยั่งยืนกว่ามองที่เปลือกที่ห่อหุ้มตัวเรา ถ้าคุณคบคนโดยใช้เปลือก สิ่งที่คุณจะได้กลับมาก็เป็นเปลือกเช่นกัน
เราจะต้องรู้ตนเองอยู่เสมอว่าความสามารถก่อหนี้ต่อรายได้เป็นเท่าไหร่ ต้องละเอียดรอบคอบมากขึ้นโดยการจดบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายอยู่เสมอเพื่อตรวจสอบสภาพคล่องของตนเองว่าเพียงพอต่อการก่อหนี้เพิ่มได้หรือไม่ ทุกครั้งที่คุณใช้บัตรก็ต้องเก็บใบเสร็จไว้ตรวจสอบ ต้องจดวันจ่ายและวันชำระหนี้ให้ดีๆ ถ้าจะให้ละเอียดไปกว่านั้นควรจดไว้ด้วยว่าอัตราดอกเบี้ยของแต่ละบัตรเป็นเท่าไหร่ เอาไว้ดูว่าถ้าผิดชำระแล้วจะถูกปรับเท่าไหร่ อย่าบอกว่าทำงานทุกวันไม่ค่อยมีเวลาแล้วคงไม่สามารถจดรายละเอียดขนาดนี้ได้ทุกครั้ง ถ้าคิดจะเป็นหนี้แล้วต้องฝึกจดบันทึกรายจ่ายให้เป็นนิสัยค่ะ มิฉะนั้นแล้วก็ควรหยุดก่อหนี้ที่ไม่จำเป็นมันน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่านะค่ะ
บทความน่าสนใจ
วิธีค้นหาตัวตนจากการเขียนคำไว้อาลัย
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/11/blog-post_22.html
บัตรเครดิตที่เราต้องรู้
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/07/blog-post.html
รู้อะไรไม่สู้ "รู้งี้" กับการวางแผนเกษียณ
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/06/blog-post.html
แบ่งเงินออมมาเก็บดอลล่าร์กันดีกว่า
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/03/blog-post_25.html
บทเรียนในความมืดกับการวางแผนการเงิน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post_24.html
การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์สภาพคล่องส่วนบุคคล
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_11.html
ซื้อผ่อนหรือเช่า อันไหนดีกว่ากัน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post.html
หารอยรั่วของเงินจากการจดบันทึก
เราจะต้องรู้ตนเองอยู่เสมอว่าความสามารถก่อหนี้ต่อรายได้เป็นเท่าไหร่ ต้องละเอียดรอบคอบมากขึ้นโดยการจดบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายอยู่เสมอเพื่อตรวจสอบสภาพคล่องของตนเองว่าเพียงพอต่อการก่อหนี้เพิ่มได้หรือไม่ ทุกครั้งที่คุณใช้บัตรก็ต้องเก็บใบเสร็จไว้ตรวจสอบ ต้องจดวันจ่ายและวันชำระหนี้ให้ดีๆ ถ้าจะให้ละเอียดไปกว่านั้นควรจดไว้ด้วยว่าอัตราดอกเบี้ยของแต่ละบัตรเป็นเท่าไหร่ เอาไว้ดูว่าถ้าผิดชำระแล้วจะถูกปรับเท่าไหร่ อย่าบอกว่าทำงานทุกวันไม่ค่อยมีเวลาแล้วคงไม่สามารถจดรายละเอียดขนาดนี้ได้ทุกครั้ง ถ้าคิดจะเป็นหนี้แล้วต้องฝึกจดบันทึกรายจ่ายให้เป็นนิสัยค่ะ มิฉะนั้นแล้วก็ควรหยุดก่อหนี้ที่ไม่จำเป็นมันน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่านะค่ะ
บทความน่าสนใจ
วิธีค้นหาตัวตนจากการเขียนคำไว้อาลัย
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/11/blog-post_22.html
บัตรเครดิตที่เราต้องรู้
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/07/blog-post.html
รู้อะไรไม่สู้ "รู้งี้" กับการวางแผนเกษียณ
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/06/blog-post.html
แบ่งเงินออมมาเก็บดอลล่าร์กันดีกว่า
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/03/blog-post_25.html
ทิศทางการตลาดเพื่อดูแนวโน้มหุ้นแห่งอนาคต
บทเรียนในความมืดกับการวางแผนการเงิน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post_24.html
ร่ำรวยจากสิ่งที่มี
การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์สภาพคล่องส่วนบุคคล
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_11.html
ซื้อผ่อนหรือเช่า อันไหนดีกว่ากัน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post.html
หารอยรั่วของเงินจากการจดบันทึก